Page 77 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 77
ฝ่ายค้าน ทั้งสมาชิกกลุ่มนักศึกษา “๘๘ เจนเนอเรชั่น” สมาชิกพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย
(NLD) นักกฎหมาย นักหนังสือพิมพ์ และพล.อ.ขิ่น ยุนต์ อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ถูกกักบริเวณในบ้านพัก
กรุงย่างกุ้ง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๗
การทำาให้สมาชิกพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) และนางออง ซาน ซูจี ตัดสินใจ
กลับคืนสู่การเมืองตามกติกาของระบอบประชาธิปไตย โดยส่งสมาชิกรวมทั้งนางออง ซาน ซูจี ลงสมัคร
รับเลือกตั้งซ่อม ส.ส. และ ส.ว. ในวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๕
การบรรลุข้อตกลงหยุดยิง สงบศึกกับกบฏชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ ในประเทศ เช่น กะเหรี่ยง ฉาน
กะฉิ่น ว้า โกก้าง และล่าสุด คือ มอญ โดยกลุ่มพรรครัฐมอญใหม่ (NMSP) ตอนนี้ยังเหลืออีกจำานวนหนึ่ง
แต่รัฐบาลทหารพม่ามีความเชื่อมั่นว่าจะสามารถเจรจาหยุดยิงกับชนกลุ่มน้อยทั้งหมดได้ในที่สุด
สำาหรับประเด็นเรื่องผู้ลี้ภัยการสู้รบนั้น รัฐบาทหารพม่าได้เปลี่ยนแปลงท่าทีเรื่องนี้อย่างมาก
ในอดีต รัฐบาลทหารพม่าได้ยืนกรานที่ปฏิเสธคนกลุ่มนี้ โดยมองว่าเป็นผู้กระทำาผิดและหลบหนีเจ้าหน้าที่
ของบ้านเมือง เป็นผู้ออกนอกประเทศอย่างผิดกฎหมาย เป็นกองโจร และเป็นสมาชิกครอบครัวบรรดา
ผู้ต่อต้านรัฐบาลทั้งหลาย ผู้ที่ให้ยอมรับและให้ความคุ้มครองกับบุคลเหล่านี้ก็จะเป็นการไม่ยุติธรรมต่อ
ประเทศพม่า (Kyemon, December 15, 2000)
แต่ในปัจจุบัน รัฐบาลพม่าแสดงให้เห็นความตั้งใจในการร่วมมือกับนานาชาติเพื่อให้การช่วยเหลือ
ด้านมนุษยธรรมผู้ได้รับผลกระทบจากการสู้รบ และรับรู้ถึงการมีตัวตนของผู้พลัดถิ่น นอกจากนี้ ยังได้เชิญ
องค์การสหประชาชาติทำาหน้าที่ช่วยเหลือผู้พลัดถิ่นในดินแดนของรัฐคะฉิ่น ในด้านการทำางานร่วมกับ
สำานักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาตินั้น รัฐบาลได้ให้ความร่วมมือโดยระบุกลุ่มคนไร้รัฐ
ชาวจีนและฮินดู และมีการให้สัญชาติแก่บางกลุ่มด้วย (Lynn Yoshikawa and Kristen Cordell.
“Refugees survive continued displacement with Burma/Myanmar transition”)
การเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๙ ในพ.ศ. ๒๕๔๙ ที่เกาะบาหลี ผู้นำาอาเซียนได้แสดงเจตนา
ก่อตั้งประชาคมอาเซียนขึ้น ประกอบด้วย ประชาคมในสามเสาหลัก ซึ่งในส่วนของประชาสังคมและ
วัฒนธรรมอาเซียนมีเป้าหมายจะเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง สังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน
ส่งเสริมให้ประชากรมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ส่งเสริม
การใช้ทรัพยากรธรรมชาติทียั่งยืน และส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียน เป้าหมายเหล่านั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย
หากประเทศสมาชิกไม่ให้ความสำาคัญและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน ปรับปรุง และยกระดับมาตรฐาน
การคุ้มครองให้ทัดเทียมกัน และด้วยปัจจัยสำาคัญที่ได้กล่าวมา คือ สถานการณ์ในประเทศพม่า ซึ่งเป็น
ประเทศต้นทางของผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่ในประเทศมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น
การเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในพ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้ประเทศสมาชิก
ตื่นตัวเรื่องสิทธิมนุษยชนมากขึ้น หน่วยงานด้านความมั่นคง ซึ่งเป็นผู้วางแผนและปฏิบัติการตามนโยบาย
ด้านความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย มีหน้าที่ดูแลผู้ลี้ภัยในพื้นที่ ก็ควรปรับบทบาทให้ทันต่อบริบทของ
สังคมที่เปลี่ยนไป
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒