Page 72 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 72
ประเทศ ใน พ.ศ. ๒๕๕๑ รัฐบาลญี่ปุ่นได้ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายคนเข้าเมืองให้สอดคล้องกับพันธกรณีตาม
่
อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ยำายีศักดิ์ศรี
และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลมิให้ถูกบังคับสูญหาย โดยกำาหนดในมาตรา ๕๓
ของ Immigration Control and Refugee Recognition Act ไม่ให้ส่งบุคคลกลับไปยังประเทศซึ่งชีวิต
และอิสรภาพของผู้ลี้ภัยจะมีอันตราย เสี่ยงที่จะถูกทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย
ไร้มนุษยธรรม โดยญี่ปุ่นจะไม่ส่งบุคคลซึ่งอยู่ระหว่างการขอพิจารณาสถานะผู้ลี้ภัยกลับประเทศ และแม้ว่า
บุคคลนั้นๆ จะถูกปฏิเสธสถานะผู้ลี้ภัย หรืออยู่ในระหว่างดำาเนินคดีในศาลในประเด็นดังกล่าว ประเทศญี่ปุ่น
จะพิจารณาในประเด็นเกี่ยวกับการส่งกลับอย่างระมัดระวัง เช่น เลือกเวลาที่เหมาะสมในการส่งกลับของ
ผู้ลี้ภัยแต่ละคน (The Government of Japan. (March, 2011) “Mid-term progress report by
Japan on its implementation of recommendation made in May 2008)
ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตราย ประเทศไทยสามารถปฏิบัติ
ดังต่อไปนี้
การประเมินสถานการณ์ในประเทศต้นทางก่อนการตัดสินใจส่งกลับ
ก่อนมีการส่งผู้ลี้ภัยกลับประเทศ ประเทศไทยควรประเมินว่า การส่งกลับดังกล่าวจะทำาให้ผู้ลี้ภัย
มีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตราย ถูกทรมาน หรือปฏิบัติหรือถูกลงโทษอย่างโหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือไม่
โดยการประเมินของรัฐต้องเป็นไปอย่างจริงจัง รอบด้าน ตั้งอยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริงของแต่ละกรณี และ
เปิดโอกาสให้ผู้ลี้ภัยที่จะถูกส่งตัวกลับได้แสดงความเห็น และข้อเท็จจริงประกอบด้วย
จากการลงพื้นที่สำารวจของคณะผู้วิจัย ในพื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตาก เมื่อวันที่ ๑๓ – ๑๔ พฤศจิกายน
๒๕๕๔ พบว่า ปลายปี ๒๕๕๓ เมื่อฝ่ายทหารไทยได้รับข่าวว่าการสู้รบในฝั่งพม่าสงบลงแล้ว ได้ส่งผู้อพยพ
กลับทันที แต่การสู้รบมิได้ยุติลงจริง ทำาให้ผู้อพยพต้องกลับเข้ายังฝั่งประเทศไทยอีก ๓ - ๔ ครั้ง
การลงพื้นที่สำารวจที่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ในวันที่ ๒๗ – ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ พบว่า
ช่วงปลายปี ๒๕๕๓ ซึ่งเกิดการปะทะกันระหว่างกองกำาลังทหารพม่ากับกองกำาลังทหารกะเหรี่ยงในพื้นที่
อ.พยาตองซู จ.ตันบูซายัด ตรงข้ามกับด่านพระเจดีย์สามองค์ ทำาให้มีผู้อพยพลี้ภัยการสู้รบข้ามชายแดน
ประเทศไทย ในวันที่สามของการเข้ามาลี้ภัย ทหารก็ได้สั่งให้ผู้อพยพไปรวมกันที่วัดและให้เดินกลับพม่า
หลังจากที่ได้รับแจ้งว่า การสู้รบสงบลงแล้ว แม้ในความเป็นจริงยังมีเสียงปืนยังดังไม่ขาดสาย แสดงให้
เห็นว่า ประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะส่งผู้ลี้ภัยกลับพม่าทันที เมื่อได้รับสัญญาณจากทางฝั่งพม่าว่าการสู้รบ
เข้าสู่สภาวะปกติ โดยไม่มีการกลั่นกรองตรวจสอบความปลอดภัยของผู้ลี้ภัย และสถานการณ์การสู้รบใน
ประเทศต้นทางอย่างแท้จริง
ประเทศไทยควรกำาหนดให้มีการตรวจสอบว่า การส่งผู้ลี้ภัยกลับประเทศจะทำาให้ผู้ลี้ภัยมีความ
เสี่ยงที่จะได้รับอันตายในสิทธิและเสรีภาพหรือไม่ และหากการส่งกลับจะทำาให้ผู้ลี้ภัยมีความเสี่ยงดังกล่าว
ประเทศไทยต้องไม่ผลักดันผู้ลี้ภัยกลับประเทศ ระหว่างรอให้สถานการณ์การสู้รบในประเทศต้นทางยุติ
ประเทศไทยควรจัดให้ความคุ้มครองชั่วคราว (temporary protection) โดยร่วมมือกับองค์กร
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒