Page 70 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 70
ด้วยงานวิจัยที่จะเป็นตัวนำาร่องไปสู่การกำาหนดนโยบาย และการบริหารจัดการประชากรอย่างถูกต้อง
และชัดเจน
นายแพทย์นิรันดร์ฯ ได้กล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่สำาคัญ
๒ อย่าง คือ
๑. นโยบายของรัฐบาลต้องอยู่บนพื้นฐานของสิ่งที่เรียกว่าสอดคล้องต่อเรื่องประโยชน์ของ
ประชาชน และเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในเชิงกำาหนดนโยบาย ปัญหา คือ
้
มติ ครม. ก้าวไปช้ามาก ก็เลยทำาให้ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่เกิดความรู้สึกว่าต้องทำางานซำาซาก
และเกิดปัญหาในทางปฏิบัติ ภาคองค์กรเอกชนก็รู้สึกว่าต้องเข้ามาดูแลในสิ่งที่ไม่จำาเป็น
ต้องทำาให้เกิดเป็นเรื่องการดูแลเฉพาะหน้า ตรงนี้เราจะทำาให้เกิดนโยบายที่มองภาพรวม
ทั้งหมด และทำาให้เกิดการมีส่วนร่วมได้อย่างไร ก็คิดว่างานวิจัยชิ้นนี้จะต้องตอบโจทย์นี้ให้ได้
๒. เรื่องกฎหมาย ปัญหาคือ กฎหมายรัฐธรรมนูญไม่สามารถใช้ได้หมด เพราะว่าบางหน่วยงาน
ก็ไม่ยอมรับ โดยให้เหตุผลว่า “ผมมีกฎหมายของผม” หรือบางครั้ง มติ ครม. ก็ไม่ยอมรับ
เช่นกัน อันนี้เป็นปัญหาของบ้านเรา คือ การทำาให้การบังคับใช้กฎหมายอื่นๆ ที่รองรับ
ความพยายามที่เราอยากจะผลักดัน ถ้าเรายังไม่ยอมรับในอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพ
ผู้ลี้ภัย อย่างน้อยๆ กฎหมายที่เอามารองรับการดูแลคนเหล่านี้ น่าจะมีหลักการเรื่องสิทธิ
มนุษยชนให้ชัดเจนเข้าไปแทรกอยู่ในกฎหมายต่างๆ ไม่ใช่แต่เพียงในกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ซึ่งในขณะนี้ก็มีคนพยายามจะแก้ นี่คือประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องกฎหมาย เราบอกว่า
“สังคมเราปกครองด้วยกฎหมาย” แต่บางครั้งกฎหมายก็ยังไม่สามารถให้ความเป็นธรรมได้
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒