Page 68 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 68

อีกประเด็นที่จะฝากไว้ คือ สิ่งที่เราคิดว่าเราทำาดีแล้ว แต่คนที่ได้รับการดูแลเขายังคิดไม่เหมือนกัน
                  กับเรา  ทำาให้เกิดปัญหาต่อเนื่อง เช่น กัมพูชาที่อยู่กับเราเกือบ ๒๐ ปี  พอเขากลับไปเราก็รู้สึกว่าเขาน่าจะ

                  รู้สึกดีกับเรา แต่จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศกัมพูชาหลายๆ ครั้งเราก็พบว่า เขายังมีอะไรที่คาใจอยู่

                  เหมือนกัน และพอมีประเด็นอะไรเกิดขึ้นก็สามารถเป็นปัญหาที่รุกลามใหญ่โตขึ้นไปได้  ในกรณีผู้หนีภัย
                  จากการสู้รบจากพม่า  เราก็เห็นว่าเขากำาลังจะกลับไป ถ้าหากว่าเขารู้สึกอย่างไรกับเรา ความรู้สึกนั้นมันจะ
                  ถูกเก็บไปอยู่กับตัวเขา และถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานด้วยต่อไปในอนาคต  ตรงนี้คิดว่าจะเป็นนโยบายความ

                  มั่นคงของประเทศไทย และส่วนของภูมิภาคที่สำาคัญ

                         ประเด็นสุดท้าย เรื่องกรอบนโยบายและกรอบกฎหมาย ก็เห็นว่า กฎหมายเกี่ยวกับเรื่องผู้ลี้ภัย
                  เราไม่มี  เพราะเราใช้นโยบายซึ่งก็เป็นประเด็นที่น่าสนใจ เพราะว่าประเทศไทยเป็นประเทศนิติรัฐ เราคง
                  ต้องใช้กฎหมายในการบริหารจัดการเรื่องต่างๆ ซึ่งถ้าเราใช้แต่เรื่องนโยบายอย่างเดียว แม้ว่ามีความคล่องตัว

                  แต่ว่ามันไม่เป็นระบบ


                         นายสุริยันต์  ทองหนูเอียด  อนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  กล่าวว่า
                         โดยรวมแล้ว  แม้ว่าประเทศไทยยังไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑

                  อย่างที่เราอยากให้ดำาเนินการ  แต่ว่ารัฐบาลไทยก็น่าจะเป็นมืออาชีพเรื่องการรองรับผู้ลี้ภัย อย่างแม่สอด
                  ที่เราลงพื้นที่เรื่องกลไกการทำางานร่วมกันระหว่างราชการ ภาคเอกชน UN NGOs ไทยหรือพม่า  อันนี้ไม่มี

                  กลไกที่ชัดเจน  ซึ่งถ้ามีตรงนี้ก็จะช่วยสร้างหลักประกันบางเรื่อง  เช่น  การประเมินสถานการณ์ที่แตกต่างกัน
                  รัฐอาจจะมองว่าปลอดภัยแล้วและก็ส่งกลับได้  แต่ภาคเอกชนมองว่ายังไม่ปลอดภัย  ความปลอดภัยของรัฐ

                  กับความปลอดภัยของภาคเอกชนไม่เหมือนกัน ซึ่งน่าจะมีเครื่องมือ โดยใส่เป็นข้อเสนอแนะในรายงาน


                         นายบุญแทน  ตันสุเทพวีรวงษ์  อนุกรรมกาด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  กล่าวสรุป
                  ๓ ประเด็น คือ

                         ประเด็นแรก  การใช้คำาไม่ว่าจะเป็น “ผู้ลี้ภัย” หรือ “ผู้หนีภัย” จากการสู้รบ ก็ไม่สำาคัญเท่ากับ
                             นโยบายของรัฐว่าดูแลเขาในฐานะที่เป็นมนุษย์หรือเปล่า

                         ประเด็นที่สอง  แม้ว่าประเทศไทยยังไม่ได้ให้สัตยาบันในเรื่องอนุสัญญาผู้ลี้ภัย แต่ประเทศไทยก็ให้
                             สัตยาบัน มีพันธกรณีกับอนุสัญญาระหว่างประเทศ ๔ ฉบับสำาคัญ (ไม่รวมผู้หญิง และเด็ก)

                             คือ
                             ๑)  กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง

                             ๒)  กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
                             ๓)  อนุสัญญาว่าด้วยขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ

                             ๔)  อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน
                         ซึ่งทั้ง ๔ ฉบับนี้มีประเด็นที่สัมพันธ์และสอดคล้องกัน คิดว่าในฐานะที่รัฐบาลไทยมีพันธกรณีอย่าง

                  น้อย ๔ ฉบับ ตรงนี้ก็ต้องเอาประเด็นต่างๆ มาบูรณาการให้ไปด้วยกัน  ถ้ารัฐบาลมุ่งมั่นปฏิบัติตามพันธกรณี
                  นำามากำาหนดเป็นนโยบาย รวมทั้งเรื่องข้อปฏิบัติซึ่งไปไกลกว่าสิ่งที่ระบุไว้ในสัญญาผู้ลี้ภัย



        


        ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73