Page 67 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 67
๖,๐๐๐ – ๘,๐๐๐ คน นั้น มีความกังวลว่าจะทำาอย่างไรกันต่อไปสำาหรับอนาคตของเด็กกลุ่มนี้ เรื่องของ
สถานะบุคคลจะมีกระบวนการอะไรที่จะให้โอกาสให้การอยู่อาศัย หรือการผลักดันกลับ มีความเป็นไปได้
หรือไม่ที่เขาจะกลับไปสู่ครอบครัว
แนวทางที่อยากนำาเสนอ คือ อยากให้มีข้อเสนอเกี่ยวกับเรื่องของเด็กด้วย นอกจากมีการอ้างถึง
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแล้ว ก็ยังมี พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ อาจจะเพิ่มไปไว้ในรายงานการวิจัย
เพราะเป็นการให้สิทธิ โอกาส และสวัสดิภาพแก่เด็กทุกคนที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย
เรื่องการดูแลเด็กทางเลือก พอจะมีแนวทางหรือไม่ ที่จะทำาให้แรงงานหรือผู้อพยพเข้าไปเป็นพ่อแม่
บุญธรรม หรือสามารถจดทะเบียนกับทางองค์กรไทยเหมือนกับที่ทำากับกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อยกระดับ
มาตรฐานของเด็ก โดยเฉพาะที่ อ.สังขละบุรี ต่างกับ อ.แม่สอด มาก คือ มีองค์กรที่ตั้งตัวเองเป็นอาสาสมัคร
ต่างประเทศเพื่อดูแลเด็กผู้ลี้ภัย ซึ่งการดูแลไม่ได้มาตรฐานเลย ทำาให้เด็กมีโอกาสที่จะถูกละเมิดทางเพศได้
เพราะไม่มีใครเข้าไปดูแลตรงนี้ ก็อาจจะเป็นบทบาทหนึ่งของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ
มนุษย์ ซึ่งทางเราก็เริ่มแล้ว โดยติดต่อกับองค์กรภาคีและพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
เพื่อเข้าไปตรวจสอบดูมาตรฐานการดูแลเด็กในองค์กรต่างๆ เหล่านี้ให้มีความเหมาะสมมากขึ้น และต้องได้
รับการรับรองจากทางภาครัฐด้วย
ที่บ้านแม่สามแลบจะมีรูปแบบเรื่องการจดทะเบียนของกลุ่มแรงงานและคนไร้สัญชาติ ซึ่งเป็น
รูปแบบค่อนข้างจะดีมาก คือ ประชาคมจะช่วยกันทำางานร่วมกับอำาเภอ และจะช่วยกันดูว่าคนที่ข้ามเข้ามา
เป็นกลุ่มคนที่เข้ามาใหม่ หรือว่าเป็นคนที่อยู่อาศัยมานานแล้วมีสิทธิที่จะได้รับสถานะบุคคลทางกฎหมาย
ตรงนี้ก็รวมถึงเด็กๆ ด้วย ถ้าพ่อแม่เขาได้สิทธิ สัญชาติ หรือสถานะบุคคลต่างๆ เด็กก็จะได้สิทธิตามไปด้วย
ค่อนข้างก้าวหน้ามากที่ทางภาคประชาสังคม หน่วยงาน องค์กรพัฒนาเอกชนได้ร่วมกับทางภาครัฐ
คิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
นายวีรวิชญ์ เธียรชัยนันท์ ผู้อำานวยการบริหารมูลนิธิไทยเพื่อคนมีปัญหาสิทธิและสถานะ
บุคคล กล่าวว่า
เรื่องคำานิยาม “ผู้ลี้ภัย” หรือ “ผู้หนีภัย” จากการสู้รบ มีข้อสังเกตที่ว่า “ถ้าหากเราไม่ได้เป็นภาคี
อนุสัญญาระหว่างประเทศ หรือกฎหมายระหว่างประเทศฉบับไหน แล้วเราไม่สามารถใช้คำาศัพท์คำานั้นได้”
มันจะจำากัดคำาพูดของเรา หรือว่าคำาที่เราจะใช้ได้ในประเทศไทยเยอะมาก
จากงานวิจัยพบว่า รัฐมีนโยบายที่ดีในเรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชน และเรื่องของการไม่ผลักดัน
กลับ แต่ปัญหาคือ ทางภาคปฏิบัติ เช่น ไม่ผลักดันกลับแต่พอปลอดภัยแล้วผลักดันกลับได้ ก็พบว่า
มีหลายๆ กรณีที่เป็นเหตุการณ์จริงเกิดขึ้นว่าถูกผลักดันกลับไป เดินยังไม่ถึงฝั่งนู้นยิงกันอีกก็ต้องข้าม
กลับมา ตรงนี้มันมีนัยยะอยู่ซึ่งในหลักการระหว่างประเทศก็บอกว่า “ต้องมีระยะเวลาที่เหมาะสม” คิดว่า
ทางฝั่งของรัฐบาลไทยตระหนักถึงเรื่องนี้ดี เพราะอย่างตอนที่กัมพูชากับไทยมีปัญหากัน เราก็จัดการ
ประเมินสถานการณ์ได้อย่างดี ชาวบ้านไม่ต้องกลับไปเสี่ยงตายกับลูกระเบิดที่ลงมา ก็คิดว่าเราสามารถ
ทำาได้
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒