Page 66 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 66
เข้าใจว่า กฎหมายเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยมีหลายหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งข้อเสนอแนะที่ให้แต่ละ
หน่วยงานปรับ โดยเฉพาะเรื่องกฎหมายอาจจะเป็นเรื่องยาก แต่เรื่องนโยบายแก้ง่ายกว่า เพราะสามารถ
ออกได้เลย ดังนั้น ควรเริ่มที่นโยบายก่อนค่อยแก้กฎหมาย แต่ถ้าบัญญัติไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญจะ
สามารถกำาหนดบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่ดำาเนินการให้การคุ้มครองเรื่องสิทธิในประเทศไทยได้ดีกว่า
โดยให้มีอำานาจหน้าที่ดำาเนินการได้ตามกฎหมายนั้นๆ ควรบัญญัติเป็นตัวกลางไว้ คือ หน่วยงานของรัฐ
ทุกหน่วยงานสามารถใช้ดุลยพินิจทางบวกได้ โดยทุกคนยอมรับ ซึ่งอาจต้องไปศึกษาและทำานิยามเรื่อง
“ดุลยพินิจในทางบวกเรื่องการคุ้มครองสิทธิ” ให้ชัดเจนขึ้น
ผู้แทนสำานักงานตรวจคนเข้าเมือง กล่าวว่า
สตม. ไม่ได้มีอำานาจในการกำาหนดนโยบายใดๆ ทั้งสิ้น เรื่องแรงงานต่างด้าวมีคณะกรรมการบริหาร
แรงงานต่างด้าว โดยนายกรัฐมนตรีมอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็นประธาน มีอยู่ ๘ คณะ
อนุกรรมการ ตามมติของ ครม. เมื่อพ.ศ. ๒๕๔๓ คือ ผ่อนผันการดำาเนินคดีแก่คนต่างด้าว และผู้หลบหนี
เข้าเมือง โดยให้ผลักดันส่งกลับ
สำาหรับข้อเสนอแนะของงานวิจัยนี้ เป็นหลักที่ดี แต่ว่าต้องแยกกลุ่มประเภทให้ชัดเจนก่อน เช่น
กลุ่มผู้ลี้ภัย เจตนาบริสุทธิ์ คือ ต้องดำาเนินการกับเขาด้วยวิธีการที่ดีที่สุด แต่โดยพื้นฐานแล้ว มนุษย์ย่อม
ต้องการดิ้นรนหรือแสวงหาสิ่งที่ดีกว่า เขาจะเล็ดรอดออกมาเพื่อลักลอบเข้ามาทำางาน อันนี้จะเป็นปัญหา
คือ เมื่อออกมาทำางาน ในมิติของผู้รักษากฎหมายก็ต้องดำาเนินคดีตามกฎหมาย และผลักดันกลับตาม
พ.ร.บ. คนเข้าเมือง อันนี้เป็นแนวทางปฏิบัติว่าถ้าพบผู้หลบหนีเข้าเมือง เช่น ค้าแรงงาน หน่วยงานที่
รับผิดชอบก็ต้องปฏิบัติตามหน้าที่
ผู้แทน Asia Pacific Refugee Rights Network (APRRN) กล่าวว่า
ข้อเสนอแนะของงานวิจัย ในฐานะที่เป็นองค์กรของผู้ลี้ภัยในประเทศก็เห็นด้วย เนื่องจากถ้าดู
ตามหลักแล้วจะเห็นหลักใหญ่ๆ คือ หลักการไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตราย (Non-refoulement) มีความ
สำาคัญมาก ประเทศไทยเคารพเรื่องสิทธิมนุษยชนมาตลอด จะดีไปกว่านี้ ถ้าเราจะไม่ผลักดันคนเหล่านี้
กลับไปสู่อันตราย และถ้าเป็นไปได้เราต้องดูประเทศต้นทาง หรือพม่าให้ชัดก่อนว่า เมื่อคนเหล่านี้กลับไป
แล้วไม่มีอันตรายแน่นอน ซึ่งทุกคนก็ทราบดีว่าขณะนี้พม่ามีการเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาไปในทางที่ดี
ก็จริง แต่ว่าเมื่อมองเข้าไปลึกๆ ยังมีรัฐย่อยๆ ที่แยกกันอยู่และเห็นด้วยกับ IOM ที่เสนอเรื่องการจัดการ
ผู้ลี้ภัย เป็นสิ่งที่สำาคัญมาก และให้ประโยชน์กับทางภาครัฐของไทยด้วย ถ้าเราสามารถที่จะลงทะเบียน
คนเหล่านี้ทั้งหมด ก็จะช่วยเอื้อประโยชน์กับตัวบุคคลและภาครัฐด้วย ที่สำาคัญที่สุดจะเป็นเรื่องของสิทธิ
มนุษยชนขั้นพื้นฐาน ก็ขอให้ประเทศไทยทำาเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ
ผู้แทน องค์การSave the Children กล่าวว่า
ได้ร่วมทำางานกับองค์กรชุมชนในพื้นที่ และแพทย์หญิง ซินเธีย หม่อง พบว่า จำานวนเด็กที่ไม่ได้รับ
การดูแล โดยเฉพาะเด็กกำาพร้า พลัดพรากจากพ่อแม เดินทางมาด้วยตนเองโดยลำาพัง ซึ่งอาจจะมีมากกว่า
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒