Page 65 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 65
เป็นไปตามนั้น แต่รายละเอียดเรื่องของการดำาเนินการ ข้อจำากัด กฎหมายก็แตกต่างกันไป อาจจะต้องมาดู
เป็นกลุ่มๆ ย่อยๆ หรือไม่
สำาหรับข้อเสนอแนะจากงานวิจัยนี้ ควรนำาไปสู่การปฏิบัติ โดยให้ขั้นตอนมีความชัดเจน เพื่อสร้าง
ความสบายใจให้กับผู้ปฏิบัติด้วย เพราะหลายๆ เรื่องนโยบายมีความชัดเจน แต่พอตกไปถึงระดับปฏิบัติ
จริงๆ อาจจะเกิดความไม่แน่ใจ อาจเป็นเรื่องเล็ก แต่เป็นปัญหาที่ใหญ่มาก จะทำาให้ไม่สามารถดำาเนินการ
ขับเคลื่อนได้เท่าที่ควร
ผู้แทน International Organization for Migration (IOM) กล่าวว่า
อยากจะให้มีการบริหารจัดการประชากรข้ามชาติแบบองค์รวมไปพร้อมๆ กันหลายๆ กลุ่ม และควร
จะมีการจดทะเบียนคนที่อยู่ในประเทศไทยทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกค่ายพักพิง โดยทำาให้เป็นระบบ
เพื่อให้รู้ว่าใครเป็นใคร เพื่อให้สามารถจัดการเรื่องปัญหาการเข้าเมืองผิดกฎหมาย และให้ความคุ้มครองสิทธิ
ในหลายๆ กลุ่มได้
ผู้แทนสภาทนายความ กล่าวว่า
เมื่อดูรายงานการวิจัย หน้าที่ มีคำาพิพากษาฎีกา ที่ ๘๗๓/๒๕๒๓ ในคดีนี้ ผู้ร้องเป็นสามีนางแบ๋
เหวี่ยนถี่ นางแบ๋เป็นผู้มีเชื้อสายญวน สัญชาติญวน ไม่ปรากฏใบต่างด้าวหรือใบสำาคัญแสดงถิ่นที่อยู่
ถูกฟ้องในข้อหาฆ่ากระบือโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้ววินิจฉัยว่า ผิดจริง ศาลพิพากษา
ปรับฐานฆ่ากระบือโดยไม่ได้รับอนุญาต และนางแบ๋ได้ชำาระค่าปรับแล้ว แต่พนักงานตรวจคนเข้าเมือง
ได้รับตัวนางแบ๋ไปควบคุมต่อเพื่อรอส่งกลับไปนอกราชอาณาจักรตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย
ศาลได้กล่าวถึงความเป็นต่างด้าวที่อยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตของนางแบ๋ ซึ่งตาม
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๔๙๓ มาตรา ๓๓, ๓๘ ได้บัญญัติให้อำานาจพนักงานเจ้าหน้าที่ใน
การฝากกักนางแบ๋ ซึ่งเป็นต่างด้าวเข้าซึ่งอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตไว้ที่สถานีตำารวจได้
ส่วนกฎหมายระหว่างประเทศ อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิลี้ภัยชายแดน
ที่ผู้ร้องอ้าง หากมีจริงก็หามีข้อบังคับยกเว้นกฎหมายของประเทศไทยไม่”
หมายความว่า กฎหมายระหว่างประเทศไม่สามารถบังคับใช้ในศาลไทย เข้าใจว่า ณ วันนี้
คำาพิพากษาของศาลยังคงแนวทางเดิมอยู่ คือ ไม่เปลี่ยนแปลง ตรงนี้ก็มาโยงกับข้อเสนอแนะในรายงาน
การวิจัย ข้อที่ ๑๒ ถ้าสำานักงานตรวจคนเข้าเมืองยังส่งคดีฟ้องต่อศาล คำาพิพากษาก็ออกมาเหมือนเดิม
ดังนั้น แนวทางการแก้ไขในมิติทางกฎหมาย คือ เจ้าหน้าที่ตำารวจ อัยการ และศาล
ในการส่งฟ้องคดีต่อศาล ถ้าเราจะแก้การส่งฟ้องต่อศาล หรือต่อสำานักงานตรวจคนเข้าเมือง
น่าจะเพิ่มเติมเสนอประเด็นนี้ต่อสำานักงานอัยการสูงสุดด้วย เพราะว่าเป็นกระบวนการลำาดับที่ ๒ ถ้าสอง
องค์กรนี้ไม่ใช้ดุลพินิจในทางบวกที่ไม่ส่งฟ้องคดีต่อศาลข้อหาที่เกี่ยวข้องกับหลบหนีเข้าเมือง ตัวผู้ต้องหา
หรือจำาเลยที่เป็นผู้ลี้ภัยก็ใช้ดุลพินิจในทางบวกที่ไม่ส่งฟ้องคดีต่อศาล หากแก้ในเชิงของศาลอาจจะ
แก้ยาก แต่ถ้าเราแก้ในเชิงของกระบวนการแรก คือ ตำารวจ กระบวนการที่ ๒ คือ สำานักงานอัยการสูงสุด
ก็เป็นเรื่องที่น่าจะง่ายกว่า
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒