Page 63 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 63
รายงานการศึกษาวิจัย ทำาให้สามารถแบ่งผู้ลี้ภัยออกได้เป็น ๔ ประเภท คือ
๑) หนีภัยจากการสู้รบตั้งแต่เก่าอยู่ในศูนย์/นอกศูนย์
๒) หนีภัยเป็นครั้งคราว
๓) หนีภัยเข้ามาทำางาน
๔) หนีภัยอยู่กับญาติ
ผู้แทนกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า
โดยหลักการกระทรวงกลาโหมทำาหน้าที่เป็นหน่วยสนับสนุนมากกว่ารับผิดชอบโดยตรง ซึ่งมี
กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลัก ถ้ามีผู้อพยพเข้ามาแล้ว ทหารปฏิบัติตามนโยบาย ในวิธีคิดของ
ผู้ปฏิบัติก็จะคิดเรื่องของสิทธิมนุษยชนเป็นหลักอยู่แล้ว โดยให้การดูแลอย่างต่อเนื่อง กระทรวงกลามโหม
พร้อมที่จะปฏิบัติตามนโยบายจาก สมช. หรือที่รัฐบาลมอบให้ สำาหรับข้อเสนอแนะในงานวิจัยก็เป็น
ข้อเสนอแนะที่ดี ซึ่งก็พร้อมที่จะปฏิบัติตามนโยบาย
ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า
ได้รับมอบกรอบการปฏิบัติงานจาก สมช. และก็คำานึงถึงผู้ลี้ภัยที่เข้ามาตามหลักการ และเกณฑ์
ให้มาอยู่ในพื้นที่พักพิงทั้ง ๙ แห่ง ปัจจุบันมีการผ่อนปรนมากในทุกๆ ด้าน โดยคำานึงถึงสิทธิมนุษยชนเป็น
หลัก เช่น การออกไปทำางานนอกพื้นที่พักพิง คิดว่าในอนาคตก็ให้ความช่วยเหลือในทุกด้านอยู่แล้ว เพราะ
อยู่ด้วยกันมา ๒๐ - ๓๐ ปี เหมือนกับเป็นญาติพี่น้องกัน และเห็นด้วยต่อข้อเสนอแนะของรายงานวิจัย
แทบทุกข้อ
ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า
มิติของประชาคมระหว่างประเทศตระหนักดีถึงภาระของรัฐบาลไทยที่แบกภาระมานานมากว่า
๓๐ ปี ที่ต้องดูแลผู้หนีภัยจากการสู้รบ แม้ว่าจะไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ.
๑๙๕๑ ก็ตาม
ตอนนี้ พม่ามีพัฒนาการทางการเมืองที่ดีขึ้นมาก และสหภาพยุโรปกำาลังพิจารณาท่าทีใหม่ต่อ
พม่า ที่สำาคัญ คือ ความช่วยเหลือจากต่างประเทศต่อผู้หนีภัยจากการสู้รบก็ยังคงอยู่เช่นเดิม เพราะนานา
ประเทศเห็นความสำาคัญ ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและงบประมาณ เพื่อช่วยดูแลผู้ลี้ภัย สำาหรับ
ข้อเสนอแนะข้อที่ ๖ ไม่ใช่ข้อเสนอใหม่ เพราะกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งให้ประชาคมระหว่าง
ประเทศทราบว่า เราพร้อมที่จะพัฒนาศักยภาพของผู้หนีภัยจากการสู้รบ เนื่องจากผู้หนีภัยจาการสู้รบ
เหล่านี้ จะเป็นทรัพยากรสำาคัญของพม่าในการกลับไปสร้างเศรษฐกิจของประเทศเขาเอง
ดังนั้น ทางกระทรวงการต่างประเทศผลักดันตลอดมาในการที่จะเตรียมความพร้อม เพิ่มขีดความ
สามารถของพวกเขา แม้ไม่รู้ว่าพวกเขาจะเดินทางกลับเมื่อไร แต่ก็ได้วางแผนไว้แล้วว่า อย่างไรก็ต้องเตรียม
ความพร้อมสำาหรับพวกเขา
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒