Page 64 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 64

ข้อเสนอแนะอื่นๆ ในรายงานการวิจัย  ทางกระทรวงการต่างประเทศเห็นว่า อาจจะต้องมา
                  พิจารณาร่วมกับหน่วยงานหรือหุ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง เพราะบางอย่างอาจต้องใช้เวลา ซึ่งมีความเกี่ยวข้อง

                  กับกฎหมาย และจะต้องผ่านขั้นตอนกระบวนการต่างๆ อีก


                         ผู้แทนสำานักงานตรวจคนเข้าเมือง  กล่าวว่า

                         ข้อเสนอแนะข้อที่ ๒ “เห็นควรแก้ไข พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒” นั้น อยากขอให้แบ่ง

                  ประเภทก่อน  จากมุมมองในฐานะมิติของผู้รักษากฎหมาย การปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒
                  จะดำาเนินการกับผู้ที่กระทำาผิดกฎหมาย ในกรณีผู้ลี้ภัยจะถือตามกรอบของ สมช. ที่กำาหนดบทบาทหน้าที่

                  กรณีการผลักดันส่งกลับผู้กระทำาผิดกฎหมาย  กฎหมายให้อำานาจเจ้าหน้าที่ ตม. ในการผลักดันกลับก็จริง
                  แต่ก็ไม่ได้ละเลยเรื่องสิทธิมนุษยชนที่ให้คำานึงถึงความปลอดภัยของผู้ถูกส่งกลับด้วย  แต่ผู้ลี้ภัยเป็นเรื่อง

                  ละเอียดอ่อน  พ.ร.บ. คนเข้าเมืองแทบจะไม่ได้นำามาใช้ ซึ่งจะเป็นเรื่องของนโยบายล้วนๆ ที่บูรณาการการ
                  ทำางานร่วมกัน


                         ผู้แทนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)  กล่าวว่า

                         โดยภารกิจ พม. ไม่ได้เข้าไปช่วยเหลือผู้ลี้ภัยที่อยู่ในศูนย์  แต่จะเกี่ยวข้องในลักษณะแรงงาน

                  ต่างด้าว หรือคนที่อพยพเข้ามาแล้วหลุดรอดไปอยู่ในตลาดแรงงาน  พม. จะเข้าไปเกี่ยวข้องในกลุ่มนี้
                  มากกว่า  ส่วนผู้ลี้ภัยจากสงครามไม่ได้เข้าร่วมดำาเนินการด้วย

                         สำาหรับข้อเสนอแนะ ๑๒ ข้อจากงานวิจัย ก็คิดว่าไม่ใช่หน้าที่ภารกิจโดยตรงของ พม. แต่เท่าที่
                  ทราบ ภารกิจของกระทรวง คือ ถ้าเป็นกลุ่มที่อยู่นอกศูนย์พักพิงจะมีหน่วยงานที่อยู่ในระดับภูมิภาค คือ

                  สำานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด หรือ พมจ. จะให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น แต่ถ้าให้
                  ความช่วยเหลือครอบคลุมทั้งหมด คงจะกระทำาไม่ได้



                         ผู้แทนข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยองค์การสหประชาชาติ (UNHCR)  กล่าวว่า
                         บทบาทหลัก คือ สนับสนุนรัฐบาลไทยในการคุ้มครอง และหาทางแก้ไขปัญหาถาวรสำาหรับผู้ลี้ภัย
                  ในประเทศไทย ได้ดำาเนินงานร่วมกับรัฐบาลไทยมาตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๙๙ โดยมีหลักการ Non- refoulement

                  เป็นหลักการเบื้องต้นของหน่วยงานอยู่แล้ว

                         ข้อสังเกตต่องานวิจัย คือ ครั้งแรกที่ตั้งโจทย์จากการได้รับเรื่องร้องเรียน อาจจะเป็นเพราะมาจาก
                  คนกลุ่มหนึ่ง  แต่จริงๆ แล้ว พอทีมวิจัยได้ทำางานก็จะพบอีกหลายๆ ปมที่เป็นปัญหา และมีความเกี่ยวพัน
                  กันอยู่ ซึ่งก็คิดว่าไม่ใช่งานที่ง่าย  ดังนั้น พอมีหลายกลุ่ม วิธีการดำาเนินการ กรอบกฎหมายของหน่วยงาน

                  ต่างๆ ที่เข้าไปทำางานก็จะมีความแตกต่างกันไปด้วย เช่น สิทธิพื้นฐาน กฎหมาย ฯลฯ ทำาให้ข้อจำากัด

                  หลายๆ เรื่องก็แตกต่างกันไป ซึ่งทำาให้การทำางานเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย  นอกจากหลายๆ กลุ่มที่มาเกี่ยวพันแล้ว
                  อาจจะมีช่วงสถานการณ์ที่ต่างกันออกไป ก็จะเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ต้องมีวิธีการดำาเนินการอีกอย่างหนึ่ง
                  รวมถึงการเตรียมพร้อมเมื่อสถานการณ์เรียบร้อยแล้วจะทำาอย่างไร  ก็อยากให้เห็นความสลับซับซ้อนของ

                  ประเด็น และเข้าใจว่าทุกๆ ฝ่ายก็อ้างอิงหลักการ มาตรฐานสากลระหว่างประเทศ ก็น่าจะดำาเนินการให้ได้


        


        ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69