Page 62 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 62
เป็นเรื่องของการหมุนเวียนของประชากรมากกว่า และปฏิเสธไม่ได้ว่าแรงงานพม่าได้หลั่งไหลมายังประเทศ
เรามากมาย ไม่ว่าจะลงทะเบียนหรือไม่ลงทะเบียนก็ตาม เราควรเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ เป็นเรื่องการลี้ภัย
ทางเศรษฐกิจ มาหางานทำา กฎหมายที่เรามีอยู่ในปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมพอ ผมเคยเชิญศาสตราจารย์
ชาวเยอรมันมาคนหนึ่ง (Prof. Dr. Dieter Umbach) มาให้ความรู้เรื่องเขตแดนของสหภาพยุโรป เขาชี้ให้
เห็นว่า ในประเทศเยอรมัน ผู้ที่ลี้ภัยมาถึงเยอรมันได้ จะนับได้ว่าเป็นคนของประเทศเขาเลย มีสิทธิต่างๆ
เท่ากับคนเยอรมัน”
“เมื่อปีที่แล้วผมไปที่ จ.ตาก คุยกับปลัดอำาเภอ เขาก็พูดเหมือนกันว่า จะทำาอย่างไรจึงจะส่งผู้ลี้ภัย
กลับไปแล้วเขาจะไม่หวนกลับมาอีก ทำาอย่างไรเขาจะอยู่ในพม่าได้อย่างปลอดภัย เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่อง
หน้าตาประเทศ แต่เป็นเรื่องของความเป็นมนุษย์ด้วยกัน การพิจารณาว่าจะส่งผู้ลี้ภัยกลับหรือไม่ เราควร
จะฟังเสียงใคร การประเมินการส่งกลับจะฟังแต่รัฐบาลทหารพม่าอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีข้อมูลที่รอบด้าน
มิติต่างๆ ซับซ้อนขึ้น มีมิติทางเศรษฐกิจด้วย ผมคิดว่าถ้าไม่ได้ผลักดันให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา
ว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย เราจะเปิดพื้นที่ให้ชัดเจนได้อย่างไร เพราะต่อไปผู้คนและพื้นที่ชายแดนจะเปลี่ยน
จากเรื่องความขัดแย้ง การสู้รบ เป็นเรื่องของความร่วมมือทางเศรษฐกิจมากขึ้น ทหารไม่จำาเป็นต้องออก
หน้ารับแบกรับปัญหาแต่เพียงคนเดียวต่อไปอีกแล้ว ผู้ลี้ภัยไม่ใช่ศัตรูของความมั่นคง การจัดการตรงนี้จะ
เป็นการมองอย่างรอบด้าน และคำานึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนเป็นสำาคัญ ”
ความคิดเห็นของหน่วยงานของรัฐและองค์กรภาคประชาสังคมต่อผลการวิจัย
จากเวทีสัมมนาเพื่อนำาเสนอผลการวิจัยต่อผู้แทนหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง องค์กรพัฒนาเอกชน
และองค์กรระหว่างประเทศด้านผู้ลี้ภัย เมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ณ ห้อง ๗๐๙ สำานักงาน
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อาคารศูนย์ราชการฯ ผู้แทนของหน่วยงานดังกล่าวได้แสดงความ
คิดเห็นต่อผลการวิจัย ดังนี้
ผู้แทน สมช. กล่าวว่า
แม้ว่าประเทศไทยไม่ได้เข้าเป็นประเทศภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ ก็ตาม
แต่ประเทศไทยมีนโยบายต่อผู้ลี้ภัยหลบหนีเข้าเมือง โดยพยายามแยกแยะวัตถุประสงค์ของผู้ที่เดินทางเข้าสู่
ประเทศไทยว่าเป็นอย่างไร สำาหรับบุคคลสัญชาติพม่าที่มีฐานะเป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย ทางการ
ไทยผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวตามหลักมนุษยธรรม โดยให้อาศัยอยู่ในพื้นที่พักพิง
ชั่วคราว ๙ พื้นที่ ๔ จังหวัด คือ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี และราชบุรี แต่ต้องเดินทางกลับสู่มาตุภูมิ
เมื่อสถานการณ์เอื้ออำานวย ซึ่งประเทศไทยรับภาระนี้มาตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๒๗ ปัจจุบันมีผู้ลี้ภัยประมาณ
๑๐๐,๐๐๐ กว่าคน
สำาหรับผลการศึกษาตามข้อเสนอแนะต่อประเทศไทยทั้งหมด ๑๒ ข้อ ที่อยู่ในรายงานการวิจัยนี้
สมช. ได้ดำาเนินการตามข้อเสนอแนะแล้ว ๗ ข้อ ได้แก่ ข้อ ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๙, และ ๑๑ มีข้อสังเกตจาก
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒