Page 61 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 61

จากประเทศพม่าอยู่  อัตราการรับเข้าเป็นผู้ลี้ภัยตามอนุสัญญาฯ นั้น น้อยกว่าร้อยละ ๑๐  หมายความว่า
                     ถ้าเปรียบเทียบระหว่างผู้ลี้ภัย  ถ้ายิงกัน หนีออกมา ๑๐,๐๐๐ คน ตามเกณฑ์ของเราๆ รับหมดทั้ง

                     ๑๐,๐๐๐ คน แต่เกณฑ์ของกฎหมายระหว่างเทศ  ถ้ายิงกัน หนีออกมา ๑๐,๐๐๐ คน พิจารณาเป็นราย

                     บุคคลว่า มีใครบ้างที่กลับไปไม่ได้ เช่น กรณีนักศึกษาพม่าที่ต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า และอยู่ในกลุ่มที่
                     เข้ามาด้วย ๑๐,๐๐๐ คน ถ้ากลับไปถูกจับแน่นอน  คนๆ นี้ถึงจะได้เป็นผู้ลี้ภัยตามอนุสัญญาฯ  แต่ถ้าเป็น
                     ชาวบ้านโดยทั่วไปที่ไม่ได้ถูกเพ็งเล็งก็จะไม่เข้าตามเงื่อนไขของอนุสัญญาฯ  ถ้าสถานการณ์สงบก็สามารถ

                     กลับไปได้  แต่ถ้าใช้เกณฑ์ของไทยรับมา ๑๐,๐๐๐ คนก็อยู่อย่างนั้นไปเลย ๒๗ ปี  ซึ่งตรงนี้เป็นประเด็น

                     ที่น่าสนใจอยู่เหมือนกัน


                            รศ. สมชาย  ปรีชาศิลปกุล  อาจารย์ประจำาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า
                            ถ้าสถานการณ์เปลี่ยนเข้าสู่สังคมอาเซียน  อาจจะทำาให้ผู้ลี้ภัยน้อยลง  แต่เปลี่ยนไปเป็นแรงงาน

                     เพิ่มขึ้น  เราจะเผชิญและจัดการกับเรื่องนี้อย่างไร  สิ่งที่เราต้องคิดถึง คือ ต้องทำาให้ให้เกิดการยอมรับ
                     และมองเห็นปัญหาว่าตอนนี้เป็นยังไงอยู่

                            ปัญหาเรื่องนี้เกิดขึ้นจาก  (๑) มุมมองผู้ปฏิบัติ  (๒) มุมมองระดับสากล คือ ผู้ที่ไปตอบๆ ไม่ได้
                     เพราะว่าแนวทางปฏิบัติทำาอยู่ภายใต้แนวนโยบายสภาความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งไปตอบอะไรที่เป็นสากลไม่ได้

                            ถ้าหากว่าอยากจะผลักดันเรื่องอนุสัญญา  เราต้องความเข้าใจว่า อนุสัญญาฉบับนี้พยายามทำาให้
                     เกิดการปฏิบัติงานที่มีระบบเพิ่มมากขึ้น และทำาให้เห็นภาพว่า อนุสัญญาฉบับนี้ไม่ใช่เป็นการจับผิดแต่เป็น

                     ประโยชน์  เข้าใจว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องเป็นหน่วยงานที่ทำาหน้าที่ชี้แจงเรื่องนี้ต่อสหประชาชาติ
                     ให้ชัดเจน  จากงานวิจัยคิดว่าต้องทำาให้เห็นปัญหาที่ชัดเจนมากขึ้น และเป็นระบบ เพราะถ้าคนที่คลุกกับ

                     ปัญหาจะต้องเห็นเรื่องนี้ไม่ยาก  หมายความว่ามีความเห็นพ้องกันว่าจะผลักเรื่องนี้ให้เดินต่อไปได้


                            นางสาวพัชยานี  ศรีนวล  ผู้แทนโครงการคุ้มครองสิทธิเด็กไร้สัญชาติ  กล่าวว่า

                            เรื่องผู้ลี้ภัยเป็นประเด็นที่แลกเปลี่ยนกับพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ตามแนวชายแดนอยู่  โดยเฉพาะเรื่อง
                     สิทธิมนุษยชน  เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ถูกละเมิด ได้พยายามเข้าไปช่วยเหลือ และทำาให้เขามีความมั่นคง
                     ในชีวิตของเขา  หรือการพยายามให้เขามีตัวตนที่เราสามารถตรวจสอบ/ช่วยเหลือเขาได้  การทำางานก็ยังมี

                     ความเป็นห่วงพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น เรื่องการส่งกลับ การดำาเนินคดีตามกฎหมาย


                            นายแพทย์นิรันดร์  พิทักษ์วัชระ  กล่าวปิดการสัมมนารับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะของ

                     หน่วยงานรัฐในระดับปฏิบัติการในพื้นที่ว่า

                            การที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต้องมาดูแลปัญหาผู้ลี้ภัย การสู้รบบริเวณชายแดน
                     กันนั้น คงต้องย้อนรำาลึกไปถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีการกำาหนดเส้นเขตแดน
                                    ้
                     เพื่อป้องกันการรุกลำาของต่างชาติ ซึ่งเป็นความคิดเมื่อร้อยกว่าปีมาแล้ว  ปัจจุบันโลกได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว
                     มุมมองเรื่องเขตแดนควรจะเปลี่ยนแปลงไปในยุคโลกไร้พรมแดน

                            “เราจะใช้แนวคิดเรื่องความมั่นคงของรัฐมากำากับอย่างเดียวไม่ได้แล้ว พม่าเองก็ได้เปลี่ยนแปลงไป


                                                                                                            


                                      ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66