Page 60 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 60

อีกทั้งหลักการไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตรายนั้น ยังเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ
                  ที่ทุกประเทศให้การยอมรับ แม้ว่าจะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร  ดังนั้น การที่เราจะผลักดันใครกลับไปนั้น

                  ก็เป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างแน่นอน  ซึ่งตรงนี้จะมีผลตามต่อมาในภาพลักษณ์ของไทย

                  ในประชาคมโลก  ยกตัวอย่างล่าสุด  จากผลกระทบที่ประเทศไทยเรามีปัญหาในเรื่องของการค้ามนุษย์
                  หรือการฟอกเงิน  ประเทศไทยเราก็ประสบปัญหาเพราะว่า ถูกจัดอยู่ในอันดับที่มีความเสี่ยงที่จะต้องถูก
                  จับตามองในเรื่องของการฟอกเงิน

                         ปัญหาของการค้ามนุษย์นั้น  ในส่วนของผู้แทนสหประชาชาติก็ได้บอกว่า “ในกลุ่มที่เป็นปัญหา

                  คือ ผู้ลี้ภัยจากการสู้รบ และผู้ลี้ภัยที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะถูกค้ามนุษย์ด้วยเหมือนกัน”
                         ฉะนั้นในการบริหารจัดการดังกล่าวซึ่งเราใช้อำานาจบริหารในการจัดการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
                  ทำาให้เราประสบปัญหาในเรื่องของการจัดการอย่างเป็นระบบ  นอกเหนือไปจากการที่ไทยเราเข้ามาดูแล

                  ในเรื่องการลี้ภัยจากการสู้รบก็มีข้อท้วงติงจากประเทศต้นทางอยู่เนื่องๆ ว่า เราได้ให้ความช่วยเหลือกับ

                  กลุ่มการเมือง
                         ด้วยเหตุนี้เอง กฎหมายระหว่างประเทศจึงกำาหนดไว้ว่า “การที่ประเทศรัฐสมาชิกจะเข้าไปให้การ
                  ช่วยเหลือกับคนที่เข้าไปขอลี้ภัยในประเทศของตนเองนั้น เป็นการให้ความช่วยเหลือตามหลักสิทธิมนุษยชน

                  และหลักมนุษยธรรม จึงไม่เป็นการให้ความช่วยเหลือในเชิงที่จะมองว่าเป็นศัตรู”

                         ดังนั้น หากประเทศไทยเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพของผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑  เมื่อมี
                  คนที่หนีตายเข้ามาในประเทศไทย เราให้ความช่วยเหลือ เราก็สามารถที่จะอธิบายกับประเทศต้นทางได้ว่า
                  “เราไม่ได้เลือกข้างที่จะไปช่วยคนอีกข้างหนึ่งที่ไม่ใช่รัฐบาล  แต่เราทำาด้วยหน้าที่ของเราในฐานะที่เป็นรัฐ

                  สมาชิกของสหประชาชาติ  และเป็นภาคีสมาชิกของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพของผู้ลี้ภัย”  การที่เราจะ
                  พิจารณาตัวอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพของผู้ลี้ภัยอย่างที่เป็น ไม่มีอคติกับตัวอนุสัญญา แต่ดูว่ากฎหมาย

                  ฉบับนี้จะเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการประเด็นปัญหาที่ประเทศไทยประสบมากว่า ๔๐ ปี และเป็น
                  ประเด็นที่ประเทศไทยถูกท้วงติงโดยสหประชาชาติ และประชาคมโลกมาโดยตลอด  หากว่าเราสามารถ

                  ที่จะใช้กฎหมายฉบับเดียวกันกับที่ประชาคมโลกใช้ในการบริหารจัดการประเด็นปัญหาซึ่งเรามีอยู่ และถ้ามี
                  ปัญหาที่จะเกิดขึ้นอีกในพม่า ก็คงต้องมีคนเข้ามาอีก และเราก็คงต้องถูกท้วงติงในประเด็นปัญหานี้อีก

                         ฉะนั้น เราคงต้องตัดสินใจเชิงท่าทีในการที่จะเข้าไปเป็นภาคีสมาชิกนี้ แทนที่จะปล่อยให้ผู้กำาหนด
                  นโยบายเพียงไม่กี่ท่านกำาหนดท่าทีตรงนี้  คิดว่าการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม หน่วยงานต่างๆ ที่

                  เกี่ยวข้อง และหน่วยงานที่เป็นฝ่ายปฏิบัติเอง จะช่วยสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาและช่องว่างที่มีอยู่ และโอกาส
                  ที่จะใช้กลไกทางกฎหมายดังกล่าว ช่วยให้เราทำางานอย่างเป็นระบบ และสามารถที่จะมีคำาอธิบายกับ

                  ประชาคมโลกได้ในมาตรฐานเดียวกัน
                         จากที่เคยแลกเปลี่ยนมาหลายเวที  มักจะเข้าใจว่า ถ้าเราเข้าไปเป็นภาคีอนุสัญญาด้วยสถานภาพ

                  ของผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ เราจะต้องปฏิบัติกับผู้ลี้ภัยกลุ่มนี้ดีกว่าปัจจุบัน  และจะต้องมีผู้ลี้ภัยเข้ามาใน
                  ประเทศไทยมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนั้น

                         การพิจารณาสถานภาพผู้ลี้ภัยตามอนุสัญญาฯ  ซึ่ง ณ ช่วงนั้น UNHCR ยังเป็นผู้พิจารณาผู้ลี้ภัย



        


        ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65