Page 59 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 59
อนุสัญญาฉบับนี้ว่า “ท่านเคยอ่านตัวอนุสัญญาฯ ๑๙๕๑ แล้วหรือยัง” โดยส่วนใหญ่ก็ยังไม่ได้อ่าน
แต่มีจุดยืนว่าจะไม่เข้าไปเป็นภาคี ถูกสร้างความเข้าใจที่ให้เกิดขึ้นว่า “การเข้าไปเป็นภาคีจะทำาให้
ประเทศไทยประสบปัญหาต่างๆ” ขอเสนอประเด็นที่ประเทศไทยควรพิจารณาว่า “ถ้าหากว่าเราจะมี
การบริหารจัดการที่เป็นระบบ ซึ่งจำาเป็นหรือไม่กับประเทศไทย ในฐานะที่ประเทศไทยเราเป็นนิติรัฐ”
หมายความว่า ประเทศไทยเราใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ/บรรทัดฐานของการบริหารจัดการประเทศ
แต่ว่าเรื่องของผู้ลี้ภัย เราเลือกที่จะไม่ใช่กฎหมายในการบริหารจัดการเรื่องนี้เลยตลอดระยะเวลา ๔๐
กว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งหลายๆ ท่านก็อาจเกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหาผู้ลี้ภัย และตระหนักดีว่า การดูแล
เรื่องผู้ลี้ภัยมีความยากลำาบากอย่างมากสำาหรับเจ้าหน้าที่ว่า “จะใช้กฎหมายฉบับไหนในการที่จะจัดการกับ
ผู้ลี้ภัยสำาหรับผู้ที่ลี้ภัยเข้ามาในประเทศไทยเราจะพิจารณาเขาอย่างไร เกณฑ์เป็นอย่างไร ขั้นตอนเป็นอย่างไร
การดูแลเราใช้กฎหมายฉบับไหนดูแล”
คำาถามเหล่านี้เราก็ถามกันมาเป็น ๑๐ ปีแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข จนถึงปัจจุบันเราก็ยังมี
ผู้ลี้ภัยอยู่ เป็นผู้หนีภัยจากการสู้รบประมาณ ๑๔๐,๐๐๐ กว่าคน ใน ๙ ค่าย ๔ จังหวัด
คณะดูงานที่ลงพื้นที่ มักสอบถามว่า “พื้นที่พักพิงทั้ง ๙ แห่ง ถูกตั้งขึ้นโดยใช้อำานาจกฎหมายอะไร”
การที่อนุญาตให้คน ๑๔๐,๐๐๐ อยู่ในประเทศไทยนั้น อนุญาตให้อยู่โดยใช้กฎหมายอะไร
นอกเหนือจากนั้น ยังมีผู้ลี้ภัยที่ไม่ได้อยู่ในค่ายด้วยเหมือนกัน เป็นผู้ลี้ภัยที่มาจากประเทศอื่น
ที่ไม่ใช่พม่าประมาณ ๑,๐๐๐ คน ตรงนี้ก็เป็นช่องว่างของกฎหมายที่เกิดขึ้น ซึ่งไม่ได้มีแต่เฉพาะใน
ประเทศไทยด้วยกันเองที่เราเห็นช่องว่าง ประชาคมระหว่างประเทศเขาก็เห็นช่องว่างนี้ด้วยเหมือนกัน
ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกของกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศอีกหลายฉบับ เช่น กติกา
ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางพลเมือง และสิทธิทางการเมือง ที่กำาหนดสิทธิการลี้ภัยไว้ อนุสัญญา
ว่าด้วยสิทธิเด็ก อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน ก็ได้กำาหนด “สิทธิไม่ถูกผลักดันกลับ” และยังมีอนุสัญญา
ฉบับอื่นๆ อีก ผู้แทนประเทศไทยถูกถามในทุกเวทีว่า “เราจัดการผู้ลี้ภัยอย่างไรโดยที่ไม่มีกฎหมาย และ
การที่ประเทศไทยไม่ได้เข้าไปเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัยนั้น ก็ได้รับข้อเสนออย่างต่อเนื่อง
มาโดยตลอด” ล่าสุดประเทศไทยเราไปรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ที่กรุงเจนิวา
ซึ่งก็มีกว่า ๓๐ ประเทศ ที่มีข้อเสนอให้ประเทศไทยนั้นเข้าไปเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย
ซึ่งล่าสุดก็ทราบจากทางตัวแทนกระทรวงต่างประเทศยอมรับว่า “มีแนวโน้มว่าประเทศไทยจะไปตอบใน
เดือนมีนาคม (๒๕๕๕) ที่กรุงเจนิวาว่า เรายังคงไม่เข้าไปเป็นภาคี แต่เราอยากที่จะพิจารณา”
ตรงนี้เป็นประเด็นสำาคัญที่ผู้เกี่ยวข้องกับในเรื่องสถานการณ์ผู้หนีภัยจากการสู้รบควรจะต้องมา
พิจารณากันว่า “บทบาทท่าทีดังกล่าวนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการผู้ลี้ภัยหรือไม่ อย่างไร” นอกเหนือ
จากสิทธิในการลี้ภัยที่ปรากฏอยู่ในกฎหมายระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเข้าไปเป็นภาคีแล้ว หลักในการ
ไม่ผลักดันกลับซึ่งตรงนี้จะเกี่ยวข้องกับงานวิจัยฉบับที่ ดร. จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร ได้ทำามาสืบเนื่องจาก
สถานการณ์ที่มีผู้หนีภัยจากการสู้รบเข้ามาในประเทศไทย และประเทศไทยถูกตำาหนิว่าเราผลักดันคนที่
หนีภัยความตายจากการสู้รบเข้ามาออกนอกประเทศไทย ซึ่งประชาคมโลกและองค์การสหประชาชาติ
บอกว่า “ประเทศไทยละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง”
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒