Page 58 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 58

นายวีรวิชญ์  เธียรชัยนันท์  ผู้อำานวยการบริหารมูลนิธิไทยเพื่อคนมีปัญหาสิทธิและสถานะ
                  บุคคล เห็นว่า

                         ฝ่ายกำากับนโยบายควรเรียนรู้ประสบการณ์ทางด้านการจัดการผู้ลี้ภัยอินโดจีน  และนำามากำาหนด

                  นโยบายผู้ลี้ภัยจากการสู้รบทางฝั่งพม่า  ควรประยุกต์องค์ความรู้มาใช้อย่างเต็มที่  โดยหลักการ คือ สิ่ง
                  ที่รัฐบาลเรียนรู้จากช่วงที่มีผู้ลี้ภัยจากสงครามอินโดจีนว่า เราทำาทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมาย จึงทำาให้
                  เป็นการยากในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะเรื่องของการส่งกลับ  และการเรียนรู้อีกอย่าง คือ การให้ UNHCR

                  เข้าไปมีบทบาทหลักในการบริหารจัดการค่ายผู้ลี้ภัย ทำาให้การบริหารจัดการโดยรัฐบาลไทยยากลำาบากขึ้น

                         ฉะนั้น สิ่งที่เรียนรู้ควรนำามาใช้ในกรณีของการอพยพทางตะวันตกของประเทศไทย คือ ไม่เอา
                                                       ้
                  UNHCR เข้ามา ให้ NGOs แจกอาหาร แจกนำาอย่างเดียว และไม่ให้สถานภาพที่ถูกต้องตามกฎหมาย
                  เพราะว่ากลุ่มของผู้ลี้ภัยอินโดจีน หรือกลุ่มนักศึกษาพม่า เราใช้มาตรา ๑๗ ของพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง

                  อนุญาตให้อยู่ชั่วคราวโดยถูกกฎหมาย  การที่จะให้ออกไปจึงยากเพราะมีบทกฎหมายรองรับ เราก็พยายาม

                  ที่จะเก็บให้อยู่ในสถานะเป็นผู้หลบหนีเข้าเมือง ถึงแม้ว่าผู้ลี้ภัยที่อยู่ในค่ายจะมีทะเบียน ก็ยังคงสถานะทาง
                  กฎหมายว่าเป็นผู้หลบหนีเข้าเมือง
                         ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่ได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ และเรา

                  พบว่า ประเทศทางยุโรปมีผู้ที่ประสบภัยจากสงครามโลก ครั้งที่ ๒ เป็นจำานวนมาก  จึงได้มีแนวทางของ

                  สหประชาชาติที่จะบริหารจัดการคนกลุ่มนี้โดยการใช้กฎหมายระหว่างประเทศ  และกฎหมายภายใน
                  ประเทศที่เกี่ยวข้องในช่วงสงคราม ครั้งที่ ๒ จึงได้ออกกฎหมายฉบับนี้ออกมา  และกฎหมายฉบับนี้ก็ได้ถูก
                  นำาไปใช้ในอีกหลายภูมิภาคทั่วโลกที่มีความขัดแย้งกัน

                          ปัจจุบันมี ๑๙๐ กว่าประเทศสมาชิกที่เข้าเป็นภาคีอนุสัญญานี้  แต่ก็มีประเทศที่ยังไม่ได้เป็น

                  สมาชิกอยู่อีกประมาณ ๖๐ กว่าประเทศ (รวมประเทศไทยด้วย)  ในประเทศต่างๆ ที่เข้าไปเป็นภาคี
                  อนุสัญญาฉบับนี้ก็ได้กำาหนดกฎหมายภายในออกมา หรือไม่ก็กำาหนดนโยบายออกมาในการบริหารจัดการ
                  ผู้ลี้ภัยอย่างเป็นระบบ  สิ่งที่เกิดขึ้น คือ อนุสัญญานี้ให้คำาจำากัดความไว้ว่า “ผู้ลี้ภัย คือ บุคคลที่ออกนอก

                  ประเทศของตนเองด้วยความหวาดกลัวจากการถูกประหารด้วยเหตุผล ๕ อย่าง ได้แก่ เชื้อชาติ สัญชาติ

                  ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง และสมาชิกกลุ่ม/กลุ่มสังคมเฉพาะ ทำาให้ไม่สามารถที่จะกลับไปได้”
                  ตรงนี้ก็เป็นคำานิยามที่กฎหมายระหว่างประเทศใช้ และประเทศที่เป็นภาคีก็ใช้นิยามเดียวกัน  ทั้งได้กำาหนด
                  อำานาจหน้าที่ของรัฐในการบริหารจัดการคนที่เข้าไปขอลี้ภัย  รวมถึงการกำาหนดมาตรการต่างๆ ในการที่จะ

                  ควบคุมดูแลผู้ลี้ภัย และสิทธิต่างๆ ที่ผู้ลี้ภัยพึงจะได้รับ  รวมถึงสิทธิในการที่จะไม่ถูกจับกุมดำาเนินคดีในการ

                  ที่เข้าไปขอลี้ภัย  สิทธิในการที่จะเป็นบุคคลในกระบวนการทางกฎหมาย  สิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือ
                  ตามหลักพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน เป็นต้น
                          นอกจากนี้ ยังกำาหนดขั้นตอนของการเข้าไปขอลี้ภัยเพื่อการบริหารจัดการที่เป็นระบบ จะมีขั้นตอน

                  เป็นอย่างไรบ้าง กลุ่มบุคคลใดที่จะใช้ช่องทางไหนที่จะเข้าไปขอลี้ภัย

                          อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศไทยเราจะมีผู้ลี้ภัยเข้ามาอยู่นานกว่า ๔๐ ปี แต่ยังไม่เข้าไปเป็นภาคี
                  ตัวอนุสัญญาฉบับนี้  ซึ่งผมก็ถามคำาถามเดียวกันกับหลายๆ ฝ่ายที่ปฏิเสธไม่อยากที่จะเข้าไปเป็นภาคี



        


        ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63