Page 57 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 57
้
นำามัน ตามอัตราที่เขาให้ประจำาทุกเดือน ก็ไม่ได้มีผลกระทบอะไรต่อคนในพื้นที่ หรือว่าคนในพื้นที่เรียกร้อง
ให้ทางราชการช่วยเหลืออะไรบ้างก็ยังไม่เคยมี คิดว่าเขาก็อยู่สุขสบาย ข้าวสารก็มีกิน บ้านก็มีอยู่ และเรา
ก็อนุญาตให้ออกไปทำางานนอกพื้นที่ได้ตลอด ไม่มีการห้าม แต่จะมีเจ้าหน้าที่ทหารไปตรวจดูว่า คนที่อยู่
ในศูนย์มีเพิ่มไหม ตอนหลังก็มีหนีกลับพม่า หรือหนีออกไปทำางานข้างนอกก็มี
สรุปแล้ว คือ ทุกวันนี้ก็ยังอยู่เหมือนเดิม เด็กๆ ที่ไปเรียนหนังสือ เขาก็ได้รับการจัดทำาทะเบียน
ประวัติ คิดว่า อนาคตเขาก็มาอยู่ในการควบคุมดูแลของกรมการปกครอง สามารถไปเรียนหนังสือ ทำางาน
ได้เหมือนอย่างบุคคลทั่วไป เพราะมีทะเบียนประวัติแล้ว และมีการพิมพ์นิ้วมือไว้แล้ว ซึ่งก็คงไปไหนไม่ได้
แต่คงจะได้รับสถานะตามที่มติคณะรัฐมนตรีจะให้ในโอกาสต่อไปว่าสถานะจะเป็นอะไรต่อ แต่สำาหรับผู้ใหญ่
มีสถานะเป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร์เลย
ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ (ประจำาจังหวัดเชียงใหม่) กล่าวว่า
ไม่ค่อยมีประเด็นผู้ลี้ภัยมากนัก จะพบแต่กรณีที่เป็นคนพม่า เพราะมีการรับรองเอกสารโดยนิติกร
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคนพม่าจะมาที่สำานักงานของกระทรวงการต่างประเทศที่ จ.เชียงใหม่ ขอให้รับรอง
เอกสารความเป็นโสดเพื่อที่จะสมรสกับพลเมืองชาวไทย ชาวพม่าหลายคนบอกว่า “เสียเงินไป ๑๐,๐๐๐ -
๒๐,๐๐๐ บาท” แต่สำานักงานของเราก็ไม่สามารถรับรองเอกสารนี้ได้ ชาวพม่ายังถูกหลอกเรื่องพวกนี้อยู่
เป็นจำานวนมาก และเราก็ไม่สามารถทำาอะไรให้ได้เลย
ความคิดเห็นของนักวิชาการและองค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่
รศ.ดร.ไชยันต์ รัชชกูล คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ตั้งข้อสังเกตว่า
ในช่วงหลังจีนเข้ามามีอิทธิพลต่อพม่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของพม่า
คงจะมีผลอย่างยิ่งต่อนโยบายทางทหาร จึงตั้งคำาถามว่า อีกแง่หนึ่งที่ต่างไปจากรายงานตามหนังสือพิมพ์
และข่าวที่มีอยู่เหมือนกับว่ามีความหวังกับการเปลี่ยนแปลงในช่วงนี้ของพม่ามาก “มันจริงหรือที่จะ
หยุดยิงกัน สงบศึก การเปลี่ยนแปลงเป็นประชาธิปไตย หรือค่อยๆ สมบูรณ์มากขึ้น”
ในเรื่องผู้หนีภัยสงคราม สถานะของผู้ลี้ภัยมีต่างๆ กัน มีข้อคิดเป็นการเปรียบเทียบว่า สถานะของ
ชาวเขมรก็เป็นลักษณะเดียวกับผู้ที่หนีภัยจากพม่า ซึ่ง UNHCR ดูแลอยู่ ข้อปัญหาทางกฎหมาย/ข้อวิจารณ์ /
ความช่วยเหลือต่างๆ ที่เราเคยให้และเคยทำามา เราสามารถที่จะเอามาประยุกต์ใช้กับกรณีประสบการณ์ทาง
ด้านตะวันตกได้อย่างไรบ้าง การช่วยเหลือผู้หนีภัยสงคราม อาจไม่ต้องถึงกับขนาดต้องทำาตามอนุสัญญาว่า
ด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ แต่ขอมีแนวทางว่าควรจะปฏิบัติอย่างไรในบริบทสังคมไทย ขณะเดียวกัน
ก็ไม่ได้ปล่อยให้เป็นเรื่องของดุลพินิจ หรือการปฏิบัติที่มนุษย์มีต่อมนุษย์ด้วยกัน
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒