Page 56 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 56

แนวทางปฏิบัติเราทำางานภายใต้หลักสิทธิมนุษยชน  ในศูนย์อพยพแต่ละแห่งมีผู้หนีภัยอยู่ และ
                  เราไม่เคยผลักดันออกไป ก็เข้ามาเรื่อยๆ  ใน พ.ศ. ๒๕๔๘ UNHCR ร่วมกับกระทรวงมหาดไทยได้สำารวจ

                  ผู้หนีภัยจากการสู้รบในศูนย์ทั้งหมด ๙ แห่ง และได้เพิ่มเงื่อนไขอื่นๆ คือ หนีภัยจากการเมือง  หนีภัยจาก

                  เศรษฐกิจ  ถ้าเกี่ยวโยงกับเรื่องการสู้รบ เช่น ถูกยึดที่ทำากิน เราก็ให้  ณ ปัจจุบันจากการสำารวจและที่ได้
                  รับการดูแล มีเกือบ ๒๐๐,๐๐๐ คน แต่ไม่สามารถเปิดเผยตัวเลขนี้ได้ เพราะว่าเกี่ยวเนื่องกับเรื่องของ
                  สิทธิมนุษยชน ไม่เคยมีการผลักดันกลับประเทศ

                         ปัจจุบันกองกำาลังชายแดนทางตะวันตกมีความหลากหลาย ทั้งกลุ่มที่ทำาสัญญาหยุดยิงกับทหาร

                  พม่าแล้ว และกลุ่มที่ยังไม่หยุดยิง  ล่าสุดทราบมาว่าที่ อ.ท่าสองยาง มีการยิงกันอยู่  ก็แสดงให้เห็นว่า
                  สถานการณ์ชายแดนทางฝั่งตะวันตกยังความอึมครึมและไม่มีความชัดเจนต่อไป
                         ทางอำาเภอแม่สอดได้วิเคราะห์สภาพปัญหาผู้อพยพหนีภัย ๒๕,๐๐๐ คน ร่วมกับกลุ่มองค์กร

                  นักพัฒนาชาวพม่าเพื่อจัดทำาแผนเผชิญเหตุด้านการอพยพผู้หนีภัย  โดยแบ่งซอยย่อยพื้นที่พักพิงใน

                  อ.แม่สอด แห่งละไม่เกิน ๕,๐๐๐ คน เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการ
                          สรุป คือ ผู้ลี้ภัยมี ๒ ประเภท คือ
                         ๑)  ผู้ลี้ภัยที่อยู่ในศูนย์พักพิงชั่วคราว ๙ แห่ง (ถาวรและอยู่นาน)

                         ๒)  ผู้หนีภัยตามสถานการณ์/ชั่วคราว (เมื่อมีการสู้รบก็อพยพมา และเมื่อสิ้นสุดการสู้รบก็

                             เดินทางกลับ)
                          ซึ่งขั้นตอนการดูแลจะยึดหลักเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นหลัก  แต่ปัญหาที่ผ่านมาที่หน่วยราชการ
                  ถูกโจมตี คือ เรื่องการส่งกลับ  มีการโจมตีว่าทางราชการไทยผลักดันกลับ ขณะที่สถานการณ์ฝั่งพม่ายังมี

                  การสู้รบกันอยู่  ตอนนี้ เราได้หารือกับ UNHCR และ NGOs ที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยมีรูปแบบคณะกรรมการ
                  ที่ดูแลเรื่องนี้ กล่าวคือ

                          เมื่อมีสถานการณ์สู้รบเกิดขึ้น จะมีการจัดเตรียมที่พักรอ จะมีทหารเป็นผู้ดูแล คัดกรอง ปลดอาวุธ
                  แยกกลุ่มไหนเป็นผู้ได้รับผลกระทบจริง หรือกลุ่มไหนเป็นกองกำาลังไม่ทราบฝ่าย  แล้วส่งต่อให้ฝ่ายปกครอง

                  ทางอำาเภอก็จะจัดตั้งพื้นที่พักพิงร่วมกับ UNHCR  รวมทั้งวิเคราะห์ปัญหาว่าสถานการณ์จะสิ้นสุดเมื่อไร
                  โดยการประสานงานกับฝ่ายความมั่นคงว่า เมื่อสถานการณ์ฝั่งโน้นสงบก็จะมีการส่งกลับในแนวทางที่

                  ปลอดภัย โดยมี UNHCR และ NGOs ที่เกี่ยวข้องร่วมวางแผนการส่งกลับ



                         ผู้แทนนายอำาเภอเวียงแหง  จ.เชียงใหม่  ให้ข้อมูลว่า
                         ที่ อ.เวียงแหง มีศูนย์พักรอเหมือนกัน แต่ว่าไม่ได้เป็นผู้ลี้ภัย  ตอนนี้มีสถานะถือว่าเป็นผู้หลบหนี

                  เข้าเมืองผิดกฎหมาย  กลุ่มนี้หลบหนีเข้ามาในลักษณะกระจัดกระจาย อยู่ตามบ้านญาติต่างๆ ไม่ได้มาอยู่
                  ร่วมกันตั้งแต่แรก  ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๔๖ ฝ่ายปกครองได้ไปรวบรวมให้มาอยู่ที่ศูนย์พักพิงแห่งนี้  โดยมี

                  NGOs หลายๆ หน่วยเข้ามาให้ความช่วยเหลือในการสร้างศูนย์  และ UNHCR สนับสนุนในเรื่องอาหาร
                  เป็นเวลา ๑ ปี และก็งดไป  ปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ ๔๙๐ คน สถานะก็ยังคงเป็นผู้หลบหนีเข้าเมือง

                  ผิดกฎหมาย ไม่ใช่ผู้ลี้ภัย เพราะว่าเราไม่มีงบประมาณก็เลยไม่รับรองให้เป็นผู้ลี้ภัย มีแต่การให้อาหาร ข้าว



        


        ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61