Page 55 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 55
และทำาตรงนี้ให้ถูกตามกฎหมายกลายเป็นจุดผ่อนปรนต่างๆ การค้าขายก็จะถูกต้อง ตรวจสอบได้ ดีกับ
เศรษฐกิจทั้งฝั่งเขาและฝั่งเรา ในภาพรวมจะดีกว่าในลักษณะนี้
ที่สำาคัญคือ ต้องพยายามทำาอย่างไรก็ได้ให้พม่าไม่มองเราเป็นศัตรูในอนาคต เพราะปัญหาเขตแดน
ไทย - พม่ามีค่อนข้างมาก สิ่งที่มอง คือ ในอนาคตปัญหาเรื่องเส้นเขตแดนจะถูกหยิบยกขึ้นมา แต่ที่พม่า
ไม่หยิบยกขึ้นมาตอนนี้ เพราะเขามีปัญหาการเมืองภายใน ถ้าเกิดพวกเขาปรองดองกันหรืออยู่ร่วมกันได้
ก็จะเป็นผลดีต่อแนวชายแดนของเราเรื่องของสังคม และเศรษฐกิจ
ผู้แทนนายอำาเภอแม่สาย กล่าวว่า
ในพื้นที่ อ.แม่สาย ไม่ได้มีผลกระทบอะไรมากนักเกี่ยวกับการสู้รบ อ.แม่สายติดกับพม่าทั้งทางบก
้
และทางนำาระยะทาง ๕๘.๕ กิโลเมตร มีด่านถาวร ๒ แห่ง จุดผ่อนปรน ๓ จุด และช่องทางธรรมชาติ
๓๐ กว่าช่องที่สามารถข้ามไปได้ โดยลักษณะของพื้นที่อำาเภอชายแดนในระยะทาง ๑ กิโลเมตร ของเรา
และของเขาก็จะมีการเคลื่อนไหว แต่ในขณะเดียวกันการข้ามแดนที่ อ.แม่สาย เราใช้ข้อตกลงระหว่าง
ประเทศที่ลงนามไว้ระหว่าง ๒ เมือง คือ ท่าขี้เหล็ก และ อ.แม่สาย แต่ในการปฏิบัติจริงๆ แล้วเพื่อให้
เกิดความคล่องตัวก็ยืดหยุ่นกัน เฉลี่ยการข้ามไปข้ามมา ส่วนใหญ่จะเป็นคนไทยปีละ ๑,๒๐๐,๐๐๐ คน
ต่อวันมากที่สุด ๒๐,๐๐๐ กว่าคน โดยเฉพาะวันสงกรานต์ หรือวันปีใหม่
ส่วนการปฏิบัติในพื้นที่จะมีหน่วยทหาร/หน่วยป้องกันชายแดนรับผิดชอบ เรามีการจัดเตรียม
แผนในการอพยพราษฎรกรณีที่เกิดภัยจากการสู้รบ พ.ศ. ๒๕๔๕ - ๒๕๔๖ ความตึงเครียดมีมากในพื้นที่
อ.แม่ฟ้าหลวง ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรง คือ เป็นการสู้รบระหว่างไทยกับพม่า และมีผลกระทบกับราษฎร
ซึ่งเป็นคนไทยในบริเวณชายแดน ในเรื่องการอพยพเราก็ตั้งจุดรวบรวมพลโดยห่างจากแนวชายแดนเพื่อ
ป้องกันอาวุธหรือกระสุนต่างๆ ดังนั้น ในการปฏิบัติหน่วยป้องกันชายแดนจึงกำาหนดเลยว่า พื้นที่ไหน
ปลอดภัย ห่างจากชายแดนเท่าใด
ความจริงแล้วเรื่องการปฏิบัติจะเน้นเรื่องหลักมนุษยธรรม เช่น การให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
ในสองประเทศ ยกตัวอย่าง พ.ศ. ๒๕๔๖ ที่กระทบกระทั่งกันมากจนด่านปิด ตอนนั้นเดือดร้อนทั้งสอง
ประเทศ โดยเฉพาะพ่อค้า แม่ค้าคนไทยที่ต้องไปขายของฝั่งพม่าก็ออกไปขายไม่ได้
การกระทบกระทั่งไม่ค่อยมีในพื้นที่ คือ จะใช้ความสัมพันธ์กันเป็นส่วนใหญ่ ยกตัวอย่างเมื่อเกิด
ความเสียหายจากแผ่นดินไหวในพม่า เมื่อพ.ศ. ๒๕๕๑ คนไทยได้รวบรวมทั้งเงินและสิ่งของไปบริจาคให้
ผู้ประสบภัยของพม่า
สรุปว่า เรื่องการปฏิบัติงานในพื้นที่ไม่มีปัญหาเรื่องการกระทบกระทั่งกัน เพราะจะใช้ความสัมพันธ์
ส่วนตัวเป็นหลัก
ผู้แทนฝ่ายความมั่นคง อ.แม่สอด จ.ตาก ให้ข้อมูลว่า
การปฏิบัติงานเกี่ยวกับผู้หนีภัยจากการสู้รบอาศัยอำานาจหน้าที่ตามมติคณะกรรมการสภาความ
มั่นคงแห่งชาติ รุ่นที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๓) มีคู่มือการปฏิบัติงานซึ่งเก่าแล้ว แต่ว่าใช้มาโดยตลอด
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒