Page 54 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 54
หลบหนีเข้ามาเป็นผู้ลี้ภัย หรือว่าผู้หลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งตรงนี้ก็มีการกระทำาที่เกิดขึ้นก่อน
เราก็ต้องดูจากฝั่งตรงข้ามว่ามีการสู้รบหรือไม่ การสู้รบจริงๆ ในพื้นที่ไม่ใช่ว่าพม่าเข้าตีชนกลุ่มน้อยก่อน
เพราะบางครั้งชนกลุ่มน้อยเข้าตีเขาก่อน เราก็ต้องดูว่าเหตุการณ์ต่างๆ มีการรบกันที่ไหน และมีชาวบ้าน
ฝั่งพม่าที่ได้รับผลกระทบมาเท่าไร ก็สามารถที่จะพอรู้ได้
ส่วนปัญหาที่จะตามมาในทางปฏิบัติ คือ เมื่อผู้หนีภัยจากการสู้รบเข้ามาอยู่ในพื้นที่ และกำาหนด
เป็นพื้นที่พักพิง บางทีไม่สามารถที่จะกำาหนดได้ว่าจะให้อยู่ได้นานเท่าไร จึงทำาให้ต้องพิจารณาพอสมควร
ว่าในอนาคตจะทำาอย่างไร อย่างพื้นที่พักพิง ๙ ศูนย์ มีมาเป็น ๑๐ ปีแล้ว ก็ยังแก้ไขปัญหาไม่ได้เลย
และต่อไปถ้ามีเพิ่มขึ้นมาอีกเรื่อยๆ สมมติว่าเข้ามาแล้วไม่ออกไปเลย เราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร และ
ประชาชนในพื้นที่หรือชาวบ้านแถวนั้นก็ได้รับผลกระทบเหมือนกัน ซึ่งก็มีทั้งได้และเสีย ก็กลายเป็นภาระ
ที่เราต้องดูแล คือ จะทำาอย่างไรให้สมดุลกันในลักษณะนี้
ในการแก้ไขปัญหาชายแดน จะมีคณะกรรมการร่วมกันระหว่างไทยกับพม่า ในส่วนของทหารจะมี
อยู่ ๒ ส่วน คือ
u คณะกรรมการส่วนท้องถิ่น (Township Border Committee - TBC) ก็จะมีหน่วยทหาร
และส่วนราชการในพื้นที่เป็นคณะกรรมการ จะมีการประชุม ๔ ครั้ง/ปี ผลัดกันเป็นเจ้าภาพ
๓ เดือนต่อครั้ง TBC จะมีการประชุมตลอดแนวชายแดน ที่ต่อเนื่อง ก็คือ แม่สาย ท่าขี้เหล็ก
u คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (Regional Border Committee - RBC) ระดับของ
กองทัพจะมีประชุมปีละ ๑ ครั้ง ผลัดกันเป็นเจ้าภาพเหมือนกัน การประชุมล่าสุดเมื่อ
พ.ศ. ๒๕๕๑ พอ พ.ศ. ๒๕๕๒ ทางพม่ายังไม่พร้อม เนื่องจากการที่เราไปวิจารณ์เขามากด้วย
เมื่อครั้งที่เป็นประธานอาเซียนเกี่ยวกับเรื่องสิทธิต่างๆ เขาจึงระงับการประชุม RBC ไป
ปีนี้ก็มีความพยายามที่จะจัดประชุมอีกครั้ง
ส่วนเรื่องชนกลุ่มน้อยมันเป็นการปฏิบัติในสมัยอดีต และก็มีอยู่ในลักษณะนี้ แต่เมื่อแต่ละ
ประเทศได้เปิดให้มีการพูดกันมากขึ้น ก็เลยกลายเป็นว่า เราจะต้องพัฒนาสัมพันธ์กับประเทศที่รัฐบาล
เขายอมรับ แต่ไม่ใช่ว่าเราเป็นศัตรูกับใคร ความขัดแย้งของเขาก็เป็นเรื่องของเขาไป แต่เราจะเป็นมิตรกับ
ทุกชนชาติ ปัญหาตามชายแดนต่างๆ เดิมก่อนที่จะมีการปรองดองก็จะเป็นการสู้รบหรือว่าเป็นการเจรจา
ของพม่ากับชนกลุ่มน้อย ตามแนวชายแดนก็กระทบกับเราบ้างเพราะว่ามีการเข้าไป เข้ามา เราก็ให้การ
สนับสนุน/ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเป็นหลัก แต่ก็ต้องระมัดระวังท่าทีของพม่าเหมือนกันว่า มองเรา
ให้การสนับสนุนชนกลุ่มน้อยหรือเปล่า ซึ่งเราก็ต้องยืนยันว่าเราไม่ได้ให้การสนับสนุน แต่ที่เราให้การ
สนับสนุนหมายถึงเรื่องของมนุษยธรรม คนเจ็บ คนป่วย อาหาร หรือสิทธิจำาเป็นต่างๆ สำาหรับชาวบ้าน
ตามแนวชายแดน
ส่วนสถานการณ์ตามแนวชายแดนในภาพรวมไม่มีผลกระทบ เพราะว่าพม่าเขามองเราไม่ใช่ศัตรู
ที่จะไปต่อสู้กับเขา ส่วนของเรา ถ้าถามว่ามีชนกลุ่มน้อยอยู่หรือไม่มี อย่างไหนดีกว่ากัน คำาตอบคือ
ถ้าเขาปรองดองกันได้ดีก็จะเป็นประโยชน์กับเราตามแนวชายแดน เพราะบางพื้นที่มีชนกลุ่มน้อยอยู่ และ
ประชาชนก็ข้ามไปข้ามมาลักษณะเครือญาติ แต่ว่าไม่ได้ถูกต้องตามกฎหมาย ถ้าเกิดปรองดองกันแล้ว
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒