Page 53 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 53

ผู้แทนกองบัญชาการตำารวจตระเวนชายแดน (ประจำาภาคเหนือ)  กล่าวว่า
                            การปฏิบัติเราจะปฏิบัติตามนโยบาย เช่น ในพื้นที่ทางฝั่งลาวก็ปฏิบัติตามกองกำาลังผาเมือง

                     ถ้าเป็นฝั่งพม่า ก็ปฏิบัติตามนโยบายของกองกำาลังนเรศวร  บทบาทเราทำาอยู่ ๒ ด้าน คือ ถ้าพิสูจน์ได้

                     หรือไม่มีเหตุการณ์สู้รบ หรือหลบหนีมาในลักษณะเข้าข่ายของการค้า หรือมาทำามาหากิน หรือสมัครงาน
                     เราก็ดำาเนินการตามอำานาจทางกฎหมาย  แต่ถ้าหนีภัยจากการสู้รบ เราก็จะนำาเข้าสู่กระบวนการของ
                     ความมั่นคง  ส่วนมากจะปฏิบัติตามนโยบายเป็นเรื่องๆ ไป ซึ่งก็มีความหลากหลาย



                            ผู้แทนกองกำาลังผาเมือง  กล่าวว่า
                            ในมุมมองของกองกำาลังผาเมือง คือ “ระหว่างรัฐบาลทหารพม่ากับชนกลุ่มน้อยจะปรองดองจริง

                     หรือไม่”  ซึ่งก็ต้องถามตัวแทนชนกลุ่มน้อยด้วยว่า “ความประสงค์ไปปรองดองของชนกลุ่มน้อยต้องการ
                     อะไร  ต้องการร่วมเป็นประเทศพม่า  และปกครองระบอบประชาธิปไตย หรือว่าต้องการไปปรองดองกัน

                     แบ่งเป็นรัฐ/ประเทศต่างๆ เหมือนติมอร์ตะวันออกไหม”
                             แต่ของพม่าเข้าใจว่าแนวทาง คือ “ต้องการรวมหลายๆ กลุ่มกองกำาลังมาเป็นประเทศเดียวกัน

                     และปกครองโดยรัฐบาล  แต่ให้ประชาธิปไตย สิทธิ และเสรีภาพเพิ่มมากขึ้น คือ ชนกลุ่มน้อยไม่ต้องการ
                     แบ่งแยกออกไป ก็สามารถที่จะปรองดองกันได้ในอนาคต ซึ่งต้องมองจุดประสงค์ของชนกลุ่มน้อยที่เขาต่อสู้

                     กันมา และของรัฐบาลทหารพม่าด้วย
                             สำาหรับท่าทีของแต่ละประเทศที่เข้าไปในพม่า หรือการปฏิสัมพันธ์กับทางยุโรป สหรัฐอเมริกา

                     มองว่า ทุกอย่างเป็นผลประโยชน์ของชาติเกือบทั้งสิ้น  บางครั้งสิทธิเสรีภาพ หรือสิทธิมนุษยชนต่างๆ
                     ที่เข้าไปสุดท้าย คือ เรื่องของผลประโยชน์ชาติทั้งสิ้น  ช่วงนี้พม่าเนื้อหอม เพราะจีนกำาลังรุกเข้าไปในพม่า

                     มากขึ้น  จากการที่ได้สัมปทานต่างๆ ในพม่า  สำาหรับเรื่องผู้หนีภัยจากการสู้รบ กองกำาลังป้องกันชายแดน
                     จะทำาตามนโยบายของ สมช. ที่กำาหนดบทบาทให้เราทำาอะไรบ้าง  ขั้นแรก (เตรียมการ) วิเคราะห์ว่า ในพื้นที่

                     มีการสู้รบตรงไหน  เมื่อวิเคราะห์แล้วว่ามีพื้นที่การสู้รบก็จะมีประชุม วางแผนร่วมกับจังหวัดต่างๆ ในการ
                     ที่จะกำาหนดพื้นที่พักพิงชั่วคราวว่า  เมื่อมีการสู้รบเกิดขึ้นแล้ว เราจะพาเขาไปพื้นที่พักพิงที่ไหน อย่างไร

                     หรือมีการดำาเนินการอย่างไร
                            เมื่อมีผู้หลบหนีภัยจากการสู้รบหลบหนีเข้ามา ก็จะมีการแบ่งแยกระหว่างผู้หลบหนีกับกองกำาลัง

                     ที่ติดอาวุธ หรือว่ากองกำาลังที่แฝงตัวเข้ามา และเข้ามาที่ศูนย์พักพิง  แนวทาง/นโยบาย คือ ถ้าเหตุการณ์
                     ในประเทศเพื่อนบ้านมีความสงบสุขก็จะประสานงานให้เขาเดินทางกลับ โดยจะแจ้งให้องค์กรต่างๆ

                     เข้าไปตรวจสอบด้วย และมีการบันทึกไว้เพื่อป้องกันการถูกโจมตี  แต่ละพื้นที่ก็พยายามทำาให้ดีที่สุดใน
                     ขอบเขตที่สามารถทำาได้  บางครั้งยอดที่เข้ามา เช่น กรณีที่ จ.ตาก ๒๐,๐๐๐ กว่าคน ช่วงระยะเวลาสั้นๆ

                     การดูแลก็เลยไม่ดีเท่าที่ควร ภาพต่างๆ ที่ออกมาในลักษณะเหมือนรวมกันอยู่ อันนี้คือปัญหาที่ประสบอยู่
                            เรื่องที่จะเข้าไปเป็นภาคีหรือไม่  ในความคิดเห็นส่วนตัวของผู้แทนกองกำาลังผาเมือง คือ ต้อง

                     ชั่งดูระหว่างผลประโยชน์ของชาติกับความน่าเชื่อถือ การยอมรับจากต่างประเทศ หรือประชาคมโลก
                     เพิ่มมากขึ้นว่า อะไรที่ได้ และอะไรที่เสียไปในระยะยาว  ตอบคำาถามว่า จะพิจารณาอย่างไรว่าบุคคลที่




                                                                                                            


                                      ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58