Page 52 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 52

ถ้าหากว่า ประชาคมอาเซียนทำาให้เกิดระบบเศรษฐกิจไร้พรมแดนในภูมิภาคอาเซียน วิธีการข้าม
                  พรมแดนที่ไม่มีพรมแดนอีกต่อไป จึงอาจจะต้องทำางานวิจัยเรื่องใหม่  และกระทรวงการต่างประเทศจะต้อง

                  มองให้ไกลกว่านี้  ไม่เช่นนั้นกระทรวงการต่างประเทศอาจเป็นแค่บุรุษไปรษณีย์เฉยๆ ซึ่งมันไม่สมศักดิ์ศรี

                  เท่าไรนัก


                  บทบาทของหน่วยงานของรัฐในพื้นที่


                         นอกจากการรับฟังนโยบายและบทบาทของหน่วยงานรัฐในส่วนกลางที่เกี่ยวข้องกับผู้หนีภัย
                  สงครามแล้ว ได้มีการจัดเวทีรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะของหน่วยงานรัฐในระดับปฏิบัติการในพื้นที่

                  เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕  ณ โรงแรมฮอลิเดย์ การ์เดน จังหวัดเชียงใหม่  ผู้แทนของหน่วยงานรัฐ
                  ที่เกี่ยวข้องกับผู้หนีภัยสงครามในพื้นที่ นักวิชาการ และองค์กรภาคประชาสังคมได้ให้ข้อมูล ดังนี้


                         ผู้แทนกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง (ประจำาภาคเหนือ)  กล่าวว่า

                         พื้นที่รับผิดชอบในภาคเหนือจะรับผิดชอบตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ขึ้นมา  ซึ่งการที่จะนำาผู้ลี้ภัย
                  ออกจากพื้นที่จะต้องให้รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้สั่งโดยจะใช้คำาว่า “ผลักดัน” เพื่อให้เขาออก

                  ถ้าบอกว่า ออกทางด่านสนามบินนานาชาติ (สุวรรณภูมิ) ก็จะส่งไปที่กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง ๒
                  แต่ถ้ามาที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองเชียงใหม่ ก็เป็นตรวจคนเข้าเมือง ๒ เหมือนกัน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตรวจคน

                  เข้าเมืองภาคเหนือเลย
                          ในส่วนการดูแลของกองบังคับการตรวจคนเข้าเมืองที่อยู่ที่ด่านอำาเภอแม่สอด และอำาเภอแม่สาย

                  ไม่ใช่ผู้ลี้ภัย แต่เป็นผู้หลบหนีเข้าเมือง ซึ่งสำานักงานตรวจคนเข้าเมืองจัดสรรงบประมาณในเรื่องของอาหาร
                       ้
                  และนำาดื่ม  ซึ่งอาหารได้รับดีกว่านักโทษคนไทยที่ได้รับโทษอาญา คือ นักโทษในเรือนจำา  ทางราชการ
                  จะเลี้ยงดูแค่ ๒ มื้อ แต่ผู้หลบหนีเข้าเมืองจะได้รับ ๓ มื้อครบ
                         เรื่องคนเข้าเมือง ไม่ว่าจะเป็นชายแดนไทย - พม่า หรือมาเลเซีย - ไทย ในระยะรัศมี ๑ กิโลเมตร

                  ต้องยอมรับว่า ประชาชนทั้งสองฝั่งเป็นเพื่อนกัน  ดังนั้นจึงต้องดูเรื่องเจตนา คือ เมื่อได้ตัวมาก็ต้องมีการ
                  ซักถามก่อน  ถ้าเข้าข่ายการค้ามนุษย์ก็จะส่งต่อไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กระทรวงการพัฒนาสังคม

                  และความมั่นคงของมนุษย์  แต่ถ้าเป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองจะเป็นหน้าที่ของสำานักงานตรวจคนเข้าเมือง
                          เมื่อเกิดเหตุในการสู้รบฝั่งพม่า จะเป็นเรื่องของทหาร  เพราะแนวบริเวณชายแดน  ทหารจะเป็นผู้

                  รับผิดชอบอยู่  สำานักงานตรวจคนเข้าเมืองจะรับผิดชอบอยู่ที่ช่องทางอนุญาตที่เป็นด่านถาวร หรือด่าน
                  ชั่วคราว  พวกนี้จะเข้าทางช่องทางธรรมชาติ  ทหาร ตชด. จะเป็นคนพิสูจน์ว่าเป็นผู้ลี้ภัยจากการสู้รบ

                  หรือไม่  จัดพื้นที่ให้อยู่เป็นการพักพิงชั่วคราว และถ้าไม่ยอมรับก็จะเป็นเรื่องของสภาความมั่นคงแห่งชาติ
                  ดังนั้น ผู้ลี้ภัยจะไม่เคยส่งมาให้สำานักงานตรวจคนเข้าเมืองเลย  จะส่งมาให้ดำาเนินการผลักดันก็ต่อเมื่อ

                  ในกรณีที่เขาพิสูจน์ว่าเป็นผู้หลบหนีเข้าเมือง เพราะเราใช้อำานาจตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง
                  พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๔ กับคน ๓ ชาติ คือ พม่า ลาว และกัมพูชาได้ ไม่ต้องฟ้องศาล  ถ้าฝ่ายความมั่นคง

                  พิสูจน์ว่า เป็นผู้ลี้ภัยจากการสู้รบ เข้าใจว่าก็น่าจะส่งไปที่ศูนย์ที่ตั้งขึ้น



        


        ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57