Page 51 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 51
ประเด็นที่ ๓ ส่วนราชการทำางานแบบแยกส่วน ที่มองเห็นเรื่องสิทธิมนุษยชนมากที่สุดน่าจะเป็น
กระทรวงการต่างประเทศ แต่การทำางานแบบแยกส่วน ทำาให้ในการดูแลปัญหาเรื่องผู้ลี้ภัย
ที่ต้องการดูแลแบบภาพรวมไม่เกิดขึ้น สุดท้ายเลยทำาตามความคิดของคนไทยที่คิดว่าไทยเรา
เป็นลูกพี่ คิดแบบชาตินิยม คือ คนไทยต้องเก่งกว่าพม่า ปัญหาอย่างนี้เลยทำาให้วิธีคิดในการ
ดูแลพลเมืองที่อยู่ในพรมแดน ไม่ได้คำานึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน วิธีคิด ๒-๓ อย่างนี้ จึงทำาให้
รัฐไทยการบริหารจัดการเรื่องผู้ลี้ภัยออกมาเป็นเรื่องของความผิด ไม่ถูกฎหมาย เช่น กลาย
เป็นแรงงานข้ามชาติผิดกฎหมาย หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย จนกลายเป็นช่องทางทำามา
หากินที่มิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ เช่น ตำารวจเรียกค่าต๋งจากนักธุรกิจ มีเรื่องการค้ามนุษย์
ประเด็นเหล่านี้จึงเป็นปัญหาที่สะสมในเรื่องผู้ลี้ภัยด้วย ดังนั้น ก่อนอื่นวิธีคิดเรื่อง
ผู้ลี้ภัยต้องมองเรื่องของคนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย
ค.ศ. ๑๙๕๑ ที่จะช่วยให้เรามองเห็นปัญหาและแก้ไขอย่างถูกต้องเป็นสิ่งที่รัฐไทยต้องยอมรับ
นอกจากนี้ ในพ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐไทยถูกบีบบังคับในเรื่องของกระแสโลกาภิวัตน์หลายด้าน ขณะที่
้
ภาคธุรกิจได้ข้ามชาติไปแล้ว มีบริษัทของคนไทยไปลงทุนที่เมืองทวาย การสร้างเขื่อนที่แม่นำาสาละวิน
แล้วยังข้ามไปลงทุนที่ลาวและกัมพูชา ขณะเดียวกันคนต่างชาติชาวฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ได้เดินทางมา
ลงทุนที่ประเทศไทย ดังนั้น กระแสโลกาภิวัตน์ไม่มีพรมแดนเรื่องการลงทุน ด้านหนึ่งอาจจะมองว่า
สงครามลดลง แต่ผมกลับมองว่าความขัดแย้งเรื่องพลเมืองจะสูงขึ้นโดยเฉพาะความขัดแย้งในเรื่องสิทธิ
ชุมชน พลเมืองแต่ละประเทศจะลุกขึ้นมาต่อต้านมากขึ้น กระแสการไหลเวียนของคนจะห้ามไม่ได้
เมื่อห้ามไม่ได้ความขัดแย้งเรื่องการลงทุนต่างๆ ก็จะเข้ามาเป็นตัวแปรในการเปลี่ยนแปลง การข้ามย้าย
ของคนในเรื่องของการทำามาหากินเพื่อความอยู่รอด อาจจะเป็นตัวช่วยลดคำาถามเรื่องสงคราม
พอมีเรื่องการลงทุนก็มีเรื่องผลประโยชน์ ก็จะมีการแย่งชิงผลประโยชน์ จึงมีประเด็นที่น่าคิดต่อไปว่า
การก้าวสู่ประชาคมอาเซียนใน พ.ศ. ๒๕๕๘ ประชาชนทั่วทั้งภูมิภาคจะได้รับผลประโยชน์จริงหรือ
แม้เมื่อถึง พ.ศ. ๒๕๕๘ จะไม่มีพรมแดนของคนในอาเซียน แต่ต้องคำานึงถึงเรื่องหลักสิทธิมนุษยชน
ให้มากขึ้น ต้องคิดไปให้ไกลกว่าอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ ต้องมองถึงเรื่องสิทธิ
การพัฒนา สิทธิในการที่จะเดินทางของประชาชนมากพอๆ กับกลุ่มนักธุรกิจ เราคงมองปัญหาแยกส่วน
ไม่ได้แล้ว เราต้องมองปัญหาเรื่องทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และการเปลี่ยนแปลงประชาคม
ในอาเซียนไปด้วย ซึ่งตรงกับที่เราพยายามให้ส่วนราชการต่างๆ ตอบรับประชาคมอาเซียนใน พ.ศ. ๒๕๕๘
แต่ไม่แน่ใจว่าทางส่วนราชการต่างๆ จะได้ตอบรับในแนวทางการมองภาพรวมตรงนี้หรือไม่ โดยคำานึงถึง
เรื่องประชาชนเป็นสำาคัญ
เพราะฉะนั้นอย่าคิดว่า งานวิจัยนี้อาจจะดูไม่ทันสมัยในอีก ๒ ปีข้างหน้า แต่งานวิจัยนี้จะมีความ
สำาคัญยิ่งต่อการทำาความเข้าใจกับสภาพปัญหาที่ดำารงอยู่ หรือหากรัฐบาลทหารพม่าหวนกลับมาใช้นโยบาย
แข็งกร้าวกับกลุ่มกองกำาลังของชาติพันธุ์ต่างๆ รวมทั้งรัฐบาลไทยได้แต่เพียงรับทราบผลการวิจัยจาก
ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติโดยไม่ปรับปรุงนโยบายและกฎหมายที่เป็นอุปสรรค
ต่อการบริหารจัดการต่อผู้ลี้ภัยให้เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒