Page 50 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 50

ส่งทีมไปหาข้อเท็จจริง ผลปรากฏว่า “เขารู้สึกแย่มากเลยกับคนไทย เพราะตอนที่อยู่ในประเทศไทยคนไทย
                  จะกดขี่เขามาก และทำาให้เขารู้สึกว่าเขาด้อยค่า ถูกเอารัดเอาเปรียบ”

                         “ผมคิดว่า กลไกการบริหารจัดการในสมัยสงครามอินโดจีนต่างจากพม่าที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน

                  ฉะนั้น ความคาดหวังว่าคนเหล่านี้จะดีกับเรา ไม่แน่ใจว่าเราคิดถูกหรือเปล่า เพราะจากที่ไปสัมผัส
                  อย่างไม่เป็นทางการ  เขาไม่ได้รู้สึกเช่นนั้นกับคนไทยหรือรัฐบาลไทย  ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งที่เราต้องคิดอยู่
                  เหมือนกัน…..  สังเกตเห็นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นไม่มีเจ้าภาพหลัก เพื่อคิดกำาหนดทิศทางว่าจะทำาอย่างไร

                  ต่อไปอย่างจริงจัง และดึงภาคส่วนต่างๆ มาคิดดำาเนินการ คือ จะเป็นแบบแต่ละฝ่ายต่างคนก็ต่างทำาหน้าที่

                  ของตนเองไป เพราะไม่อย่างนั้นก็จะเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปเรื่อยๆ  แต่ถ้าเรามีการกำาหนดทิศทาง
                  ว่าจะทำาอะไรใหม่ปรับกลยุทธ์ใหม่ ควรจะมีเจ้าภาพ”


                         นายแพทย์นิรันดร์  พิทักษ์วัชระ

                         กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และประธานอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
                  กล่าวสรุปในช่วงท้ายของการสัมมนาไว้ ๓ ประเด็น กล่าวคือ
                                                                               ้
                         ประเด็นที่ ๑  ในพื้นที่พักพิงของผู้ลี้ภัย หรือการมีค่ายอพยพได้ตอกยำาวิธีคิดเก่าๆ ของเจ้าหน้าที่
                             และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของผู้ลี้ภัยว่า  อาจจะมีปัญหาเรื่องการละเมิดสิทธิ
                                                   ้
                             มนุษยชน  ตรงนี้ต้องการยำาว่า ไม่ใช่เป็นเรื่องความผิดของตัวบุคคล แต่เป็นเรื่องของวิธีคิด
                             และนำามาซึ่งนโยบายของการบริหารจัดการในแบบเก่าๆนั้น มีปัญหา เพราะวิธีคิดแต่เรื่อง

                             ของความมั่นคง
                                     ตอนที่ผมไปดูสถานการณ์ที่เกิดขึ้นที่ท่าสองยาง อุ้มผาง แม่สอด ต้องยอมรับว่า

                             “ทหารต้องรับหน้าเสื่อ” เป็นผู้ดูแลปัญหาทั้งหมด ผมคิดว่าคนที่มาคอยดูแลผู้ลี้ภัยไม่ควร
                             เป็นฝ่ายทหารแต่ผู้เดียว เพราะหน้าที่ของทหาร คือ การศึกสงคราม แต่เรื่องของผู้ลี้ภัยไม่ใช่

                             เรื่องศึกสงคราม เรามองแต่ประเด็นเรื่องความมั่นคงก็เลยยัดเยียดให้ทหารเป็นคนรับผิดชอบ

                         ประเด็นที่ ๒  เมื่อผมไปเห็นส่วนราชการต่างๆ ดูแลผู้ลี้ภัยแบบสงสารหรือเมตตาธรรม ซึ่งคำาว่า
                                                                                      ้
                             “สงสารเมตตาธรรม” ก็เลยทำางานแบบไม่ต้องมีนโยบาย เหมือนเรื่องนำาท่วม  สังคมไทย
                             ไม่คำานึงถึงเรื่องสิทธิ ได้แต่พอใจที่เห็นมีคนบริจาคกันมากมาย จนเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก
                             ว่า “ประเทศไทยให้ทานมากเป็นอันดับ ๙ ของโลก” ทำาให้บิดเบือนภาระของรัฐบาลที่ต้อง

                             รับผิดชอบแก้ไขปัญหา รวมทั้งละเลยเรื่องสิทธิของประชาชนที่ต้องสูญเสียไปมากมาย
                             เราต้องเข้าใจว่า ความคิดแบบหนึ่งอาจจะดีสำาหรับยุคสมัยหนึ่ง แต่สมัยนี้ความคิดแค่การ

                             ให้ทานอย่างเดียวได้ละลายความรับผิดชอบของรัฐบาลที่ต้องเข้าไปดูแลผู้ลี้ภัย ว่าเราต้อง
                             มีความคิดแบบ “สิทธิมนุษยชนที่เคารพหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แค่ไหน” เช่น รัฐบาล
                                        ้
                             ที่ดูแลวิกฤตนำาท่วมต้องมีหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร สิทธิการมีที่ดิน
                             ทำากิน และสิทธิแรงงาน ฯลฯ  แต่ภาพของการให้ทานเป็นอันดับ ๙ ของโลก ได้บิดเบือน

                             หน้าที่ของรัฐบาลทั้งหมด



        


        ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55