Page 49 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 49

ฉะนั้น ค.ศ. ๒๐๑๕ ไปแล้ว  คนที่จะเป็นผู้ลี้ภัยอาเซียน คือ คนที่มาจากนอกอาเซียนที่จะเข้ามา เช่น
                     ตะวันออกกลาง หรือที่อื่น ๆ

                             ในช่วงที่ผ่านมาได้มีการคุยหารือในประเด็นนี้ที่เมืองบาหลีถึงกระบวนการที่กระทรวงต่างประเทศ

                     อาจจะไปเกี่ยวข้องพอสมควร คือ “ทำาอย่างไรถึงจะเกิดกลไกเดียวกันในอาเซียนที่จะคัดกรองคนเข้ามา”
                     ต่อไปเราจะไม่มาคุยกันแล้วว่า “คนในประเทศพม่าจะดูแลเขาอย่างไร ให้อยู่ที่ไหน” เพราะสุดท้าย
                     พอเป็นประชาคมเดียวกัน เขาก็สามารถที่จะเดินทางไปไหนมาไหนได้ สิ่งที่เรากำาลังทำาอยู่ตอนนี้ มันล้าสมัย

                     ไปแล้ว แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือว่า “เราจะทำาอย่างไรในการเข้าไปสู่ตรงจุดนั้น และศักยภาพในการแข่งขัน

                     ของประเทศไทยต่อไป”
                             และอีกประเด็นในเรื่องของการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑
                     ถ้าไทยเข้าเป็นภาคี อำานาจจะอยู่ในมือเรา สหประชาชาติและต่างประเทศจะไม่สามารถที่จะมาตำาหนิ

                     วิพากษ์วิจารณ์สิ่งที่เราทำา เนื่องจากเราเป็นเจ้าของกฎหมาย  ถ้าเราพูดถึงคำานิยามของ “คนที่เป็นผู้ลี้ภัย

                     จากการสู้รบ” ในมาตรา ๑ ของอนุสัญญาว่าด้วยผู้ลี้ภัย จะพบว่า มีปัญหาคือ เข้ามาแล้วไม่ได้กลับไป
                     เพราะสถานการณ์ไม่ดีขึ้น จริงๆ แล้วเราติดกับตัวเอง เพราะบอกว่า “เขาเป็นผู้หนีภัยจากการสู้รบ” มันไม่มี
                     จุดสิ้นสุด และเราไม่ได้กำาหนดด้วยว่าจะสิ้นสุดเมื่อไร เขาก็อยู่ในค่าย ๒๐ กว่าปี

                            แต่ถ้าดูมาตรา ๑ ของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัยจะพบว่า “คนที่จะลี้ภัยจะต้องลี้ภัยจาก

                     การถูกประหารด้วยสาเหตุ ๕ ประการ”  อัตราการปฏิเสธผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติอยู่ที่ร้อยละ ๙๐
                     หมายความว่า  ถ้าเข้ามา ๑๐๐ คน  ถ้าใช้เกณฑ์ของเราก็จะรับ ๑๐๐ คน  แต่สหประชาชาติรับแค่ ๑๐ คน
                     เพราะเขาบอกว่าตามอนุสัญญา และอนุสัญญาก็กำาหนดไว้ด้วยว่า “ถ้าสถานการณ์ดีขึ้นก็สามารถที่จะถอน

                     สถานภาพได้”  ปัจจุบันสหประชาชาติเพิ่งถอนชาวศรีลังกาไปทั้งกลุ่มและส่งกลับ ซึ่งสามารถทำาได้อย่าง
                     ถูกต้องตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ  และถ้าประเทศไทยเข้าไปเป็นภาคี เราก็จะสามารถดำาเนินการ

                     ต่างๆ เหล่านี้ได้
                            ในมิติของการดูแลผู้หนีภัยสงครามเห็นว่า ควรจะเปลี่ยนจากการที่ให้ผู้ให้ทุนให้แก่องค์กรฝรั่ง

                     เป็นให้ผู้ให้ทุนมาให้กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุขในการดูแล  ทำาให้เราก็สามารถทำาได้
                     ตามมาตรฐานของเราเลย  โดยที่ไม่ต้องควักกระเป๋าของเราจ่าย  เราบอกเขาได้ว่า

                            “ถ้าอยากให้เด็กได้เรียนหนังสือก็จ่ายมา เราก็จัดให้”
                            “อยากจะให้ได้รับการดูแลสาธารณสุขที่มีมาตรฐานก็จ่ายมา เราดูแลให้”

                            ขณะที่แต่ละประเทศให้ตกปีละ ๖๐ ล้านเหรียญ ถ้าแยกออกมาเป็นประเภทเอามาให้กระทรวง
                     ศึกษาธิการ และสาธารณสุขมาบริหาร เด็กทุกคนน่าจะได้รับการบริการที่ดี

                            กลไกและรูปแบบในการบริหารจัดการคงจะต้องมาพิจารณากันใหม่ในบริบทปัจจุบัน  รวมถึง
                     การอ่านข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์อยู่เรื่อยว่า “ถ้าคนเหล่านี้กลับไป เขาจะรู้สึกดีกับประเทศไทย เป็นมิตร

                     กับประเทศไทย”  ยกตัวอย่าง  กัมพูชา  ก่อนที่สถานทูตไทยในพนมเปญจะถูกเผา  สมช. เข้าใจว่า กัมพูชา
                     เป็นประเทศที่เป็นมิตรกับประเทศไทยมากที่สุด ด้วยเหตุผลว่าคนกัมพูชาลี้ภัยอยู่ในประเทศเป็นเวลานาน

                     ฉะนั้นเขาจะต้องรู้สึกดีกับประเทศไทย ปรากฏว่าสัปดาห์ถัดไป สถานทูตไทยถูกเผา และทราบว่าทาง สมช.



                                                                                                            


                                      ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54