Page 48 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 48

สิ่งที่มองเห็น คือ ข้อเท็จจริงกับแนวทางการปฏิบัติไม่ไปด้วยกัน  เพราะหลักการ/นโยบายด้าน
                  ความมั่นคงมันเป็นคำาตอบที่สั้น และชัดเจน อธิบายได้ แต่ไม่รับผิดชอบ คือ

                         ๑)  การไม่ยอมรับเป็นผู้ลี้ภัยเพราะเกรงจะไปเข้าเงื่อนไขที่จะต้องรับตามหลักสากล

                         ๒)  สถานการณ์ชายแดนโดยชนกลุ่มน้อยมันมีอยู่ตลอดเวลา  มันเป็นฤดู  สิ่งที่เป็นปัจจัยหนึ่ง
                             คือ พื้นที่ของเรามันมีแหล่งที่จะให้ทำากิน ให้อาศัยดีกว่าบ้านเขา
                          คนที่อยู่ในที่พักพิงถามว่า “ทำาไมเขาไม่กลับไป”  ก็เพราะว่า มันกลายเป็นแหล่งที่อยู่ที่อาศัย

                  กระบวนการจัดการตรงนั้นมันไม่ใช่กระบวนการจัดการโดยหน้าที่ หรือกฎหมาย แต่มันมีจุดบกพร่อง

                  มากมาย จะมองเห็นว่า มันมีกฎหมายหลายๆ อัน มติหลายๆ อันของชนกลุ่มน้อยที่มีอยู่ชัดเจน และยังได้รับ
                  การปฏิบัติไม่ครบถ้วน เราต้องยอมรับความจริงตรงนี้  สิ่งที่มองเห็นคือว่าถ้าเราจะช่วยกันแก้ปัญหาตรงนี้
                  คือ เราจะต้องสร้างกระบวนการความคิดให้ไปถึงผู้มีอำานาจตัดสินใจได้ก่อน หรือการตั้งสภาวะแวดล้อม

                  เพื่อไปกดดันให้ฝ่ายรัฐดำาเนินการ


                         นายวีรวิชญ์  เธียรชัยนันท์

                         ผู้อำานวยการบริหารมูลนิธิไทยเพื่อคนมีปัญหาสิทธิและสถานะ กล่าวว่า  ข้อมูลที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน
                  เชื่อว่า คนจะกลับปีหน้า (พ.ศ. ๒๕๕๖)  ด้วยเหตุผลว่า เขาจะกลับไปเอง  คนเหล่านี้ถ้าดูแยกออก

                  เป็น ๙ แคมป์  ใน ๗ แคมป์จะเป็นของ KNU  ส่วนอีก ๒ แคมป์ เป็นคนของ KNPP  ซึ่งคนเหล่านี้
                  ถ้า KNU สั่งให้กลับ เขาก็กลับ  แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้น คือว่า คนที่จะกลับไป หรือกลับเข้ามาอาจจะเป็นใน

                  รูปแบบใหม่  ซึ่งอย่างที่ ดร. เดชา อธิบายว่า “ธรรมชาติของคนชายแดนเข้าก็จะมีการเดินทางข้ามไปข้ามมา
                  การที่จะปะทะกันในช่วงต่อไปก็อาจมีในเรื่องของผลประโยชน์” ทั้งหมดก็จะนำามาสู่ว่า “แล้วประเทศไทย

                  ซึ่งเป็นประเทศพื้นที่ชายแดนติดกันนี่จะทำาอย่างไร”
                          ประเทศไทยตอนนี้กำาลังล้าหลังที่สุดในเรื่องการบริหารจัดการผู้ลี้ภัย  ส่วน มาเลเซีย อินโดนีเซีย

                  และฟิลิปปินส์ เขาก้าวไปไกลมากในเรื่องของการบริหารจัดการ  ผู้ลี้ภัยที่อยู่ในมาเลเซียนั้น มีสถานภาพ
                  ผู้ลี้ภัยของ UNHCR แต่การลงทะเบียนจะมี ๒ สถานะ คือ เป็นผู้ลี้ภัย และสามารถทำางานอย่างถูกกฎหมาย

                  ได้ด้วย เพราะว่ามาเลเซียมองแล้วว่า “พม่าดีขึ้นแน่นอน”  ปัญหาที่มาเลเซียและไทยจะเกิดขึ้นต่อไป คือ
                  แรงงานจะไหลจากประเทศเหล่านี้กลับไปพม่า  ถ้านึกถึงโครงการขนาดใหญ่ที่จะเกิดขึ้นที่ทวาย “มูลค่า

                  ขนาดนั้นต้องจ้างคนเยอะขนาดไหน” สถานการณ์จะนำาไปสู่การไหลกลับของคนนี่ มาเลเซียเขาคิดไปไกล
                  คือ พยายามที่จะดูว่า “จะทำาอย่างไรที่จะดึงให้คนอยู่กับเขา” ในส่วนของไทยยังคิดอยู่ว่า “เราจะไม่ให้คน

                  เข้ามา” เราก็ล้าหลังพอสมควร
                          อีกมิติหนึ่งก็คือ ผู้ลี้ภัยในอาเซียน ๑๐ ประเทศ ส่วนใหญ่เกินร้อยละ ๙๐ มาจากพม่า ทุกประเทศ

                  คิดเหมือนกันหมดว่า “ถ้าสถานการณ์ในพม่าดีขึ้น” ประกอบกับ “เราจะเป็นอาเซียนใน ค.ศ. ๒๐๑๕”
                  ก็หมายความว่า  เราเป็น “ชุมชนเดียวกัน”  ฉะนั้นคำาว่า “ผู้ลี้ภัย” อาจจะล้าสมัยไปแล้วสำาหรับชุมชน

                  อาเซียน เพราะสิ่งที่จะเกิดขึ้น ก็คือ เราจะมีประชากรที่อาจจะมาจากประเทศต้นทางหรือพม่าในประเทศ
                  สมาชิกของอาเซียน ซึ่งหมายความว่า “ประเทศอาเซียนนั้นจะดูแลคนที่มาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างไร”




        


        ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53