Page 46 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 46

ปกป้อง และคุ้มครองผู้คนที่ข้ามมา”
                          ถ้าเรากลับไปดูเรื่องหลักการไม่ผลักดัน  จริงอยู่เราอาจไม่ผลักดันเขาตามกฎหมายจารีตประเพณี

                  หรือกฎหมายอื่นๆ  แต่คำาถามตามมา ก็คือว่า “แล้วเวลาเขาเข้ามาอยู่ เราใส่ใจและดูแลเขาอย่างไร”

                  หลักการไม่เลือกปฏิบัติ ความปลอดภัยทางร่างกาย หลักเอกภาพของครอบครัว เสรีภาพในการเคลื่อนย้าย
                  เสรีภาพทางศาสนา  หลักเหล่านี้พึงได้รับการใส่ใจควบคู่ไปกับหลักการไม่ผลักดันด้วย
                          ต่อมา คือ หลักรัฐศาสตร์  เวลาที่เราเป็นภาคีอนุสัญญาหมายความว่า

                         ๑)  พันธะที่เรามี

                         ๒)  เป็นการเพิ่มโอกาสของผู้ลี้ภัย
                         ๓)  เป็นการกำาจัดปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐในปัญหาผู้ลี้ภัย

                          เมื่อรัฐอันเป็นภาคีของอนุสัญญาให้ลี้ภัยแก่คนจากรัฐอื่น รัฐที่เป็นเจ้าของผู้ลี้ภัยก็สามารถเข้าใจ

                  ได้ว่าเป็นการกระทำาที่สันติ ตามหลักมนุษยธรรม และตามหลักกฎหมาย  แทนที่จะเป็นการกระทำาที่
                  แสดงออกถึงความเป็นศัตรู”

                          ผู้คนที่ติดตามปัญหาชายแดนไทย – พม่าที่เรื้อรังทราบดีว่า หลายครั้งที่รัฐบาลทหารพม่าใช้

                  ตรงนี้เป็นข้ออ้างในการแสดงความไม่พอใจ หรือประท้วงรัฐบาลไทยว่า “พื้นที่พักพิงชั่วคราวของเราใน
                  หลายๆ จุด เป็นที่ซ่องสุมของกองกำาลังฝ่ายตรงข้าม หรือกองกำาลังที่ต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า”

                          ดังนั้นแล้วจึงเกิดความไม่พอใจ ข้ออ้างข้อหนึ่งในการพยายามที่จะยุบพื้นที่พักพิงชั่วคราว

                  แล้วส่งคนกลับไป ก็คือ ข้ออ้างข้อนี้เหมือนกัน  ในแง่นี้แล้วว่า รัฐไทยควรเป็นภาคีหรือไม่  สำาหรับผมนี้คือ
                  เหตุผลที่ดีในทางรัฐศาสตร์ ที่เราพึงจะเป็นภาคี เพราะจะทำาให้เกิดความสบายใจทั้ง ๒ ฝ่าย

                          เหตุผลว่า ทำาไมไทยต้องเป็นภาคี เพราะว่า “เราทำาได้ดี และมีประวัติศาสตร์ที่งดงามในการ
                  ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยนับจากสงครามอินโดจีน  และในหลายๆ ลักษณะเราทำาได้ดีกว่ารัฐที่เป็นภาคีอีกหลายๆ รัฐ”

                  จริงอยู่ว่า สถานการณ์ตอนนี้กำาลังดีขึ้น คนน่าจะไม่ข้ามมาด้วยเหตุผลนั้นอีก  แต่ในแง่นี้ เราพึงเพื่อที่ว่า
                  เราจะได้ทำางานอย่างสบายใจ และการเป็นภาคีอนุสัญญาจะสอดคล้องกับหลักรัฐศาสตร์  เรื่องการสัมพันธ์

                  ทางการทูตที่ดีของสองประเทศ และจะไปสนับสนุนกับหลักสิทธิมนุษยชน และหลักกฎหมายระหว่าง
                  ประเทศ เหตุผลที่เราจะทำาก็เพื่อรัฐไทยเอง และในนามของสิทธิมนุษยชน ผมเห็นว่าเรื่องนี้สำาคัญมาก


                          ตอนท้ายหน้า ๑๕ ของเอกสารประกอบการสัมมนาระบุว่า “สถานการณ์ในประเทศไทยยังคงมี
                  ความขัดแย้งทางชายแดน ปัญหาการลี้ภัยทางการสู้รบยังเป็นปัญหาที่ประเทศไทยต้องเผชิญ...”  ดังนั้นแล้ว

                  การเป็นภาคีของอนุสัญญาฯ จึงเป็นผลดีต่อเรา  ตรงนี้ผมจะใช้โยงเข้าสู่ประเด็นสุดท้ายว่า “ประวัติศาสตร์
                  ได้สอนอะไรเราบ้าง”

                          การเลือกตั้งในพม่าเมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓  เราเห็นการอพยพเข้ามา  ประชากร

                  อพยพเข้ามามากที่สุดในเวลาอันสั้นในรอบ ๒๐ ปี ประมาณ ๒๕,๐๐๐ กว่าคน  สิ่งที่เกิดขึ้นคือ นับจาก
                  วันที่ ๗ พฤศจิกายนนี้ มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมาย  และเป็นไปในทางลบ แต่ไม่เป็นข่าวในการเมือง

                  ระหว่างประเทศ พร้อมๆ กับที่พม่าใช้กองกำาลังทหารบดขยี้กองกำาลังคะฉิ่น ณ บริเวณชายแดนจีนและพม่า


        


        ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51