Page 45 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 45

ความคิดเห็นของนักวิชาการ


                            ดร. เดชา  ตั้งสีฟ้า

                            อาจารย์ประจำาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  กล่าวในเวทีสัมมนานโยบาย เมื่อวันที่
                     ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ว่า ข้อแรกต้องการทบทวนและตรวจสอบความเห็นร่วมกันก่อนว่า “ทำาไม

                     เรามานั่งอยู่ห้องนี้ร่วมกัน”  และข้อสอง คือ “ความสมดุลของหลักสิทธิมนุษยชนสากลกับความมั่นคงของ
                     รัฐไทยในระยะยาว”

                            ข้อแรกทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่า เป็นปัญหาเรื้อรังที่ยาวนาน และส่งผลต่อความมั่นคง  ข้อที่สอง
                     เรื่องการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน  ผมคิดว่าอันนี้ คือ ปมจากปัญหาข้อที่ ๑ ที่คณะกรรมการสิทธิ

                     มนุษยชนแห่งชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง และพวกเราต้องมานั่งพูดคุยกัน
                             หลังการเลือกตั้งในพม่า พ.ศ. ๒๕๕๓  คนที่หลบหนีเข้ามาในประเทศไทยมีมากกว่า ๑๐,๐๐๐ คน

                     ที่เราผลักคนประมาณ ๒๐,๐๐๐ คน กลับไป เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓  บางช่วงตัวเลขขึ้น
                     ไปถึงกว่า ๑๐,๐๐๐ คน ใน ๔๐ กว่าจุด ทั้งหมดไม่เป็นข่าว เพราะว่าเป็นข่าวไม่ได้  ปมทั้ง ๒ ปมนี้ คือ

                     “ความมั่นคง” กับ “หลักสิทธิมนุษยชนสากล”  คำาถาม คือ “จะทำาอย่างไรให้มันยั่งยืนและสมดุล”
                     ผมคิดว่า เราไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากสนใจเรื่องสิทธิมนุษยชน

                             ดังนั้น ผมจึงไม่คิดว่าจะไปทางใดทางหนึ่งมากเกินไป  จึงเลือกใช้คำาว่า “สมดุล” ผ่านหลัก
                     มนุษยธรรม กฎหมายระหว่างประเทศ หลักรัฐศาสตร์ และจะทิ้งท้ายด้วยการทบทวนดูว่าประวัติศาสตร์

                     ได้สอนอะไรกับเราเกี่ยวกับปัญหาเรื่องชายแดนไทย - พม่าที่เรื้อรังมานาน  ไม่ใช่เฉพาะที่มีการตั้งศูนย์พักพิง
                     ชั่วคราวขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗ เพราะมันเรื้อรังไปมากกว่านั้นอีก

                             หลักสิทธิมนุษยชนสากลถูกพัฒนามาอย่างกว้างขวางหลังจากปี ค.ศ. ๑๙๔๘  ในปฏิญญาสากล
                     อยู่ในเรื่องของ “คณะกรรมการข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัย”  ถ้าพูดถึงหลักสิทธิมนุษยชนสากลซึ่งมีฐานอยู่ที่

                     หลักมนุษยธรรม ไม่มีข้อถกเถียงที่คนเหล่านี้ที่ข้ามมาจากพม่าพึงได้รับการดูแล เพราะเป็นประเด็นทาง
                     ศีลธรรม และตามหลักการกฎหมายระหว่างประเทศ

                             อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและ
                     สิทธิทางการเมือง  อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ต่างๆ เหล่านี้ให้ความสำาคัญ

                     ไปที่ภาคีพึงจะต้องใส่ใจกับผู้ที่ข้ามแดนมา หมายความว่า บางอนุสัญญาที่รัฐไทยเป็นภาคีอยู่แล้ว ก็ไม่มี
                     เหตุผลที่จะไม่ปฏิบัติตามภาคี  เพียงแต่ว่าในงานวิจัยของ ดร. จตุรงค์  บุณยรัตนสุนทร และทีม ได้อธิบาย

                     ไว้ชัดว่า มีปมปัญหาอยู่บ้างในกรณีของรัฐไทย เนื่องจากไม่ทำาให้ชัดว่า “อนุสัญญาเหล่านั้นเข้ามาเป็น
                     ส่วนหนึ่งของกฎหมายรัฐไทย”

                             ดังนั้น จึงเป็นข้ออ้างที่รัฐไทยจะไม่กระทำาอะไรหลายๆ อย่างที่พึงกระทำา แต่ถ้ามองจากหลักสิทธิ
                     มนุษยชนสากล  เราไม่มีทางเลือก ซึ่งผมวางตรงนั้นไว้ในหลักกฎหมายระหว่างประเทศ

                             กฎหมายระหว่างประเทศไม่ได้มีเฉพาะกฎหมายลายลักษณ์อักษร แต่มีกฎหมายจารีตประเพณี
                     ด้วย ซึ่งเป็นบรรทัดฐานที่สำาคัญ หมายความว่า “แม้เราจะไม่เป็นภาคีสมาชิก แต่เราก็ถูกผูกพันในการที่จะ




                                                                                                            


                                      ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50