Page 44 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 44

ขณะนี้ สหรัฐอเมริกามีนโยบายที่จะรับผู้หนีภัยทั้งหมดประมาณ ๕๐,๐๐๐ คน  ทั้งที่รับไปแล้ว
                  ก็จะสังเกตได้ว่า  ยังมีผู้หนีภัยที่อยู่ในพื้นที่พักพิงจำานวนเท่าเดิม ไม่มีลด เพราะเมื่อถึงเวลาจริงๆ ผู้ที่

                  หลบหนีมาอยู่ใหม่ ก็จะมาร้องขอให้คณะกรรมการช่วยพิจารณาให้มีทะเบียน  และสามารถเดินทางไป

                  ประเทศที่สามได้อีก
                         อุปสรรคในการประสานงานกับหน่วยงาน น่าจะเป็นองค์การระหว่างประเทศ เช่น UNHCR IOM
                  หรือ NGOs จะเริ่มหมดความสนใจในการที่จะดูแลผู้หนีภัยเหล่านี้  ประเทศที่เคยสนับสนุนก็ลดการ

                  สนับสนุนลง เพราะฉะนั้นการช่วยเหลือด้านอุปโภคบริโภคลดลง  ทำาให้เป็นปัญหาสำาหรับการดูแลผู้หนีภัย

                  ซึ่งเริ่มที่จะบอกได้ว่า “ไม่พอกิน”  ทำาให้ต้องเล็ดลอดหนีออกไปนอกพื้นที่ และก็ไปรับจ้าง หรือไปหาเงิน
                  เพื่อมาซื้อของยังชีพเพิ่มเติม  ส่วนเรื่องการส่งกลับ ก็มีการเตรียมพร้อมอยู่เสมอ โดยให้ NGOs เข้าไปให้
                  การดูแลเรื่องการฝึกอาชีพที่สามารถจะกลับไปทำางานได้ เช่น การซ่อมจักรยาน ฯลฯ



                         ผู้แทนกระทรวงกลาโหม (กองกำาลังผาเมือง) กล่าวว่า

                         ปฏิบัติการทางด้านทหารไม่มีปัญหาเรื่องผู้หนีภัย  สามารถดำาเนินการตามระเบียบ และนโยบาย
                  ของกองทัพบกได้  ช่องทางชายแดนก็มีการผ่อนผันตามหลักมนุษยธรรมอยู่แล้ว คือ เด็กทางฝั่งพม่าให้

                  ข้ามมาเรียนได้เฉพาะช่องทางที่ควบคุมได้  จะมีการลงทะเบียนใครข้ามเข้ามากี่โมง และกลับออกไปกี่โมง
                  เก็บข้อมูลส่วนนี้และตรวจสอบได้อยู่แล้วในช่องทางที่กองทัพบกมีกำาลังไปดูแล  ส่วนช่องอื่นที่ไม่มีก็จะ

                  พยายามใช้มาตรการทางทหารไม่ให้มีการข้ามชายแดนเข้ามา  ปัญหาหลักจะเป็นเรื่องของแรงงานต่างด้าว
                  ที่ผิดกฎหมายมากกว่าผู้หนีภัย เพราะว่าแรงงานต่างด้าวจะไม่เข้าช่องทางที่กำาหนดไว้ตามนโยบายที่มีข้อ

                  ตกลงระหว่างรัฐบาลพม่ากับชนกลุ่มน้อย  ถ้าในทางปกติก็จะดูดีสำาหรับผู้ลี้ภัย คือ ไม่มีการสู้รบตามพื้นที่
                  แนวชายแดน แต่ก็จะทำาให้ผู้หนีภัยไม่ข้ามฝั่งมาทางนี้มากนัก


                         ผู้แทนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  กล่าวว่า

                         เรื่องผู้หนีภัยไม่มีนโยบายและภารกิจโดยตรง  แต่อาจจะเข้าไปเกี่ยวข้องบ้าง ถ้าเข้ามาเป็นเหยื่อ

                  การค้ามนุษย์ หรือผู้ด้อยโอกาสมีข้อผ่อนผันพอสมควร เมื่อได้รับการร้องขอจากหน่วยงานราชการให้ดูแล
                  ไม่ว่าจะเป็นเด็ก สตรี คนชรา หรือว่ากลุ่มผู้ด้อยโอกาสจะมาจากหนีภัยหรือไม่หนีภัยก็ตาม  ก็มีข้อ

                  ยืดหยุ่นพอสมควร คือ ให้การดูแลตามหลักมนุษยธรรม และโดยตามหลักการของ พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก
                  พ.ศ. ๒๕๔๖ ต้องให้การคุ้มครองเด็กทุกคนบนพื้นแผ่นดินไทยอยู่แล้ว



















        


        ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49