Page 43 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 43

สำาหรับเด็กและเยาวชนที่เป็นลูกหลานของผู้หนีภัยสงคราม ต้องดูธรรมชาติของคนที่เรียนในนั้น
                     ด้วยว่ามีเฉพาะเด็ก พ่อกับแม่อยู่ที่ไหน แน่นอนว่าเด็กไม่ได้ไปเช้า-เย็นกลับ ถ้าหนีภัยจากการสู้รบเหตุใด

                     จึงเลือกไม่เข้าไปอยู่ในพื้นที่พักพิง ขณะที่พื้นที่พักพิงก็มีโอกาสในการศึกษา  ถ้าไม่สามารถที่จะกลับได้ก็มี

                     โอกาสที่จะได้ไปตั้งถิ่นฐานประเทศที่สาม คงต้องมานั่งหาเหตุผล คือ อะไรกันแน่
                             ประเด็นการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาสภาพว่าด้วยผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑  กระทรวงการต่างประเทศ
                     ไม่ได้ปฏิเสธว่าจะไม่เข้าเป็นภาคี  แต่เราต้องดูความพร้อม และไม่ได้เป็นข้ออ้างตลอดกาลของไทย เพราะ

                     สิ่งที่เราทำาอยู่ดีแล้ว และดีกว่าหลายชาติ  เป็นข้อเท็จจริงที่เราทำาอยู่ มีการคุยหารือกัน และมีคณะทำางาน

                     พิจารณาเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วย ซึ่งอธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศเป็นประธาน และจริงๆ ก็ประสงค์ที่จะ
                     ใช้ผลจากการหารือนี้


                            ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย  กล่าวว่า

                            ได้รับมอบหมายจาก สมช. ให้รับผิดชอบควบคุมดูแลค่ายพักพิง ๙ แห่งใน ๔ จังหวัด ณ เดือน

                     พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔  มีผู้หนีภัยอยู่ทั้งสิ้น ๑๐๑,๓๑๒ คน อยู่ใน จ.แม่ฮ่องสอน (๔ แคมป์ จำานวน
                     ๓๘,๐๓๕ คน)  จ.ตาก (๓ แคมป์  จำานวน ๕๖,๑๙๒ คน)  จ.ราชบุรี (๑ แคมป์  จำานวน ๔,๒๘๑ คน)

                     จ.กาญจนบุรี (๑ แคมป์  จำานวน ๒,๘๐๔ คน)  การควบคุมดูแลผู้ลี้ภัยจะดำาเนินการให้ความช่วยเหลือ
                     ตามหลักขั้นพื้นฐานด้านมนุษยธรรม คือ ให้ความช่วยเหลือเฉพาะเรื่องความจำาเป็นขั้นพื้นฐานโดย

                     ประสานงานกับ UNHCR ซึ่งช่วยเหลือเรื่องจัดทำาทะเบียน การย้ายพื้นที่พักพิง และเตรียมการส่งกลับ
                            นอกจากนี้ยังมีองค์การพัฒนาเอกชน (NGOs) ซึ่งเป็นองค์การการกุศล ๑๘ องค์การ เข้ามา

                     ช่วยเหลือด้านการแพทย์ การศึกษา ฯลฯ  และโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ดูแลรักษาโรคมาลาเรีย
                            ส่วนกระทรวงมหาดไทยดูแลในเรื่องการรับผู้หนีภัยเข้ามาในพื้นที่พักพิง  โดยมีคณะกรรมการ

                     พิจารณารับผู้ลี้ภัย ในระดับจังหวัดและภาค
                            กระทรวงมหาดไทยทำาหน้าที่คัดกรองเบื้องต้น  ซึ่งมีปัญหาเรื่องหลักเกณฑ์ไม่ตรงกันใน ๔ จังหวัด

                     คือ ภาคตะวันตก (กาญจนบุรี และราชบุรี)  มองปัญหาการสู้รบว่า “ณ เวลานั้น” เท่านั้นเอง  ส่วนภาค
                     เหนือ (ตาก และแม่ฮ่องสอน) มองเรื่อง “การสู้รบเป็นหลัก” คือ รบเมื่อไร เวลาไหน ก็จะพิจารณาเข้ามา

                     เป็นผู้ลี้ภัยทั้งหมด  สมช. ให้นำาเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการควบคุมผู้ลี้ภัย  เพื่อให้ออกมา
                     เป็นหลักเกณฑ์ที่ถูกต้องชัดเจน  กลุ่มที่จะคัดกรองเบื้องต้น คือ กลุ่มที่เป็นคนเถื่อน และหลบหนีเข้ามา

                     ขอพักพิงอยู่ในค่ายพักพิง
                            หลักเกณฑ์ของกระทรวงมหาดไทย คือ ถ้าคนอยู่นอกค่ายพักพิง จะต้องมาตามกระบวนการ

                     เข้ามาทางชายแดน  ทหารหรือ ตชด. ที่พบตัวจะสอบสวนเบื้องต้น จะพูดคุย และให้ส่งกลับไปเมื่อ
                     สถานการณ์ปลอดภัย  แต่การคัดกรองเบื้องต้นขณะนี้ทำาเฉพาะ ๔ พื้นที่พักพิงเท่านั้น เฉพาะคนที่
                     หลบหนีเข้ามาอยู่ในค่ายพักพิง  ส่วนด้านอื่นๆ ก็ให้ความช่วยเหลือตามนโยบาย คือ การเดินทาง

                     ไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สาม ได้แก่ แคนาดา นอร์เวย์ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น ฯลฯ จนถึงเดือน

                     พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ส่งไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สามแล้ว จำานวน ๑๖,๓๑๑ คน



                                                                                                            


                                      ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48