Page 41 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 41

ผู้แทนสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)  กล่าวว่า
                            เรื่องการสู้รบในพม่า  ประเทศไทยต้องแบกรับภาระในการช่วยเหลือดูแลผู้ลี้ภัย/หนีภัย การแก้ไข

                     ปัญหาที่ถูกต้องและยั่งยืน คือ การแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ  ในประเทศต้นทางต้องมีเสถียรภาพทั้งทาง

                     เศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้ผู้ลี้ภัย/หนีภัยเดินทางกลับประเทศของตัวเองได้อย่างมีศักดิ์ศรี  กล่าวคือ
                     ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นต้นมา รัฐบาลทหารพม่าได้ปฏิบัติการปราบปรามชนกลุ่มน้อยทำาให้บุคคลสัญชาติ
                     พม่าอพยพหลบหนีเข้ามาในบริเวณชายแดนไทย - พม่าทางทิศตะวันตก ซึ่งรัฐบาลไทยมีนโยบายผ่อนปรน

                     ให้บุคคลเหล่านี้มีสถานะเป็นผู้หนีภัยการสู้รบจากพม่า คือ ให้อาศัยอยู่ชั่วคราวตามหลักมนุษยธรรม

                     และให้กลับคืนสู่มาตุภูมิเมื่อสถานการณ์เอื้ออำานวย หรือภายในประเทศนั้นมีความสงบ โดยไทยได้ให้พักพิง
                     อยู่ในพื้นที่ชั่วคราวชายแดนไทย – พม่า ๙ พื้นที่  ๔ จังหวัด (แม่ฮ่องสอน ตาก ราชบุรี และกาญจนบุรี)
                     หน่วยงานปกครองและสำานักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ได้มีการสำารวจจัดทำา

                     ทะเบียนในพื้นที่พักพิง  ขณะเดียวกัน ทางการไทยก็ได้มีแนวทางแก้ไข ๒ ประการ คือ

                            ๑)  การควบคุมดูแลผู้ลี้ภัย/หนีภัยให้อยู่ในพื้นที่ที่ทางการไทยกำาหนด
                            ๒)  การให้ไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศที่ ๓

                            สำาหรับการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ คือ กลุ่มบุคคลสัญชาติพม่าที่หนีภัยจากการสู้รบถ้าจะเข้าพื้นที่
                     พักพิงได้จะต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองระดับจังหวัด และให้องค์กรพัฒนาเอกชนเข้าไปช่วยเหลือ

                     ปัจจัยขั้นพื้นฐานทางด้านการแพทย์ สาธารณสุข และการศึกษาฝึกอบรมวิชาชีพ


                            ผู้แทนกองกำากับการตำารวจตระเวนชายแดน (ตชด.)  กล่าวว่า
                            ตชด. มีบทบาทสนับสนุนการรักษาความสงบเรียบร้อยในศูนย์พักพิง และตรวจสอบในการเดินทาง
                     เข้า - ออกนอกพื้นที่  รวมทั้งการประสานงานกับหน่วยความมั่นคงในพื้นที่ต่างๆ ที่รับผิดชอบ เช่น เชียงราย

                     ตาก และกาญจนบุรี  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อย และการอำานวยความสะดวก

                     ในเรื่องต่างๆ  สำาหรับนโยบายในการให้ความช่วยเหลือก็เป็นไปตามหลักมนุษยธรรมตามแนวทางของ
                     UNHCR อยู่แล้ว


                            ผู้แทนสำานักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.)  กล่าวว่า
                            สำานักงานตรวจคนเข้าเมืองมีบทบาทเป็นฝ่ายสนับสนุน จะไม่ได้เข้าไปควบคุมโดยตรง  ในส่วน
                     ของนโยบายต่อผู้หนีภัยจากการสู้รบจะเป็นไปตามแนวทางที่ สมช. และกระทรวงมหาดไทยกำาหนดไว้

                     ผู้หนีภัยจากการสู้รบไม่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๗ แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ถือเป็น

                     คนเข้าเมืองผิดกฎหมาย  แต่ถ้าเข้ามาอยู่ในที่พักพิงจะจำากัดให้อยู่ได้ชั่วคราว และให้อยู่ในที่ๆ จำากัดไว้
                     แต่หากออกพื้นที่ก็ถือว่าผิดเงื่อนไข และถ้ากระทำาความผิดก็จะพิจารณาโทษไปตามความผิดที่เกี่ยวข้อง


                            ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ  กล่าวว่า
                            เรื่องผู้หนีภัยเป็นประเด็นที่ไทยได้รับการยอมรับ เพราะให้ทั้งที่พักและคนในการดูแล หน้าที่ของ

                     กระทรวงการต่างประเทศ คือ




                                                                                                           


                                      ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46