Page 40 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 40
เราก็ต้องให้ ขัดไม่ได้ ตอนนี้ลูกหลานก็หนีมาอยู่ที่ประเทศไทยหมดแล้ว ไม่กลับไปแล้ว อยู่เมืองไทยดีกว่า
อยู่ที่พม่านอนในบ้านไม่ได้เลย”
๔) อ.แม่สาย จ.เชียงราย
การสู้รบครั้งใหญ่ในพม่าเมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ส่งผลกระทบมาถึง อ.แม่สาย ด้วย
จากการสัมภาษณ์ผู้อำานวยการศูนย์พัฒนาการศึกษาเพื่อลูกหญิงและชุมชน จ.เชียงราย พบว่า
ผู้หนีภัยที่เข้ามาทางด่านที่ อ.แม่สาย ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็ก เข้ามาอาศัยอยู่กับญาติ เนื่องจาก
เป็นพื้นที่ปลอดภัย (Safe zone) ชายแดนฝั่งพม่าที่ติดกับเชียงรายเป็นเขตรัฐฉาน มีทหารเป็น
้
กองกำาลังรักษาสันติภาพ คอยรักษาไว้ให้เป็นอู่ข้าวอู่นำา เป็นเขตที่ค่อนข้างปลอดภัยสำาหรับพลเมือง
และเป็นแหล่งผลิต บริเวณชายแดนที่มีการอพยพไป - มา จะเป็นป่าเขาบริเวณตะเข็บในเขต อ.แม่ฟ้าหลวง
๕) อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่
เป็นพื้นที่ติดชายแดนที่เคยมีการสู้รบครั้งใหญ่ระหว่างรัฐบาลทหารพม่ากับกองกำาลังรัฐฉาน
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕ นานกว่าหนึ่งเดือน ฝ่ายทหารพม่าได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิตเป็นจำานวนมาก ในระหว่าง
การสู้รบมีชาวบ้านจาก ๔ หมู่บ้านตามบริเวณชายแดนไทย-พม่าอพยพเข้ามาในฝั่งไทยประมาณ ๙๐๐ คน /
๒๕๐ ครัวเรือน อาศัยอยู่ฝั่งไทยในบริเวณวัดฟ้าเวียงอินทร์ หลังเหตุการณ์สู้รบสงบ ทหารพม่าได้ปิดช่องทาง
ผ่านแดนหลักแต่งและได้ฝังทุ่นระเบิดตามบริเวณชายแดนเป็นจำานวนมาก
สำาหรับผู้ที่อพยพเข้ามาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ปัจจุบันมีอยู่ ๑๓๒ ครัวเรือน ประชากร
๕๑๐ คน ถูกจัดให้อยู่ติดกับชายแดน บนสันดอย “เมืองจ่อ” ถูกจำากัดพื้นที่ในการเดินทาง แต่สามารถ
ออกไปทำางานรับจ้างในภาคเกษตรบริเวณใกล้เคียงได้ เหตุผลที่ต้องการอยู่ในประเทศไทย คือ โอกาสใน
การศึกษาของเด็กๆ
ผู้หนีภัยกลุ่มนี้ไม่ต้องการกลับพม่า เนื่องจากไม่มั่นใจสถานการณ์ความปลอดภัยในฝั่งพม่า
ไม่ทราบว่ามีกับระเบิดอยู่ที่ใดบ้าง และไม่มั่นใจในสถานการณ์ยุติการสู้รบอาจเป็นสถานการณ์ชั่วคราว
ช่องทางผ่านแดนหลักแต่งได้ถูกทหารพม่าปิดตายมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๕
บทบาทของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ดังกล่าว ทำาให้หน่วยงานรัฐด้านความมั่นคงต้องเข้าไปมีบทบาท
ในการแก้ไขปัญหาของผู้หนีภัยสงคราม ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจว่า แต่ละหน่วยงานมีนโยบายต่อผู้หนีภัย
จากการสู้รบอย่างไร และบทบาทของแต่ละหน่วยงานในพื้นที่เป็นอย่างไร เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชน
สากลที่พึงปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยหรือผู้หนีภัยสงครามหรือไม่ คณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิ
ทางการเมืองจึงได้จัดเวทีสัมมนานโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพ
จากภัยสงคราม เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๔ ณ ห้อง ๗๐๙ สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติ ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้กล่าวถึงนโยบายและบทบาทของหน่วยงาน ดังนี้
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒