Page 39 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 39
๓) อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี
ในอดีตทหารพม่าเข้าโจมตีฐานที่ตั้งของรัฐกะเหรี่ยงได้ยาก เนื่องจากสภาพภูมิประเทศ
ที่เป็นภูเขา และการเดินทางขึ้นมาต้องผ่านหมู่บ้านกะเหรี่ยงเป็นระยะๆ กองกำาลังทหารของรัฐกะเหรี่ยง
ใช้วิธีรบแบบกองโจร กล่าวคือ การซุ่มโจมตีกองทัพพม่า ทำาให้กว่าจะมาถึงฐานที่ตั้งของรัฐกะเหรี่ยงได้
ก็เหลือทหารพม่าอยู่จำานวนไม่มากพอที่จะสู้รบต่อได้ จึงต้องยกทัพกลับ แต่สภาพภูมิประเทศดังกล่าว
ได้เปลี่ยนไป เมื่อรัฐบาลไทยให้สัมปทานแก่นายทุนตัดไม้ในฝั่งไทยจนถึงชายแดนไทยพม่า จากนั้น
นายทุนได้ขอสัมปทานการตัดไม้จากรัฐบาลทหารพม่า เมื่อนายทุนจะตัดไม้ต้องตัดถนนเข้าไปใน
รัฐกะเหรี่ยงก่อนเพื่อใช้เป็นเส้นทางลำาเลียงไม้ เมื่อมีถนน การเข้าโจมตีรัฐกะเหรี่ยงก็ทำาได้ง่ายขึ้น
ช่วงปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๓ เกิดการปะทะกันระหว่างกองกำาลังทหารพม่ากับกองกำาลัง
ทหารกะเหรี่ยงในพื้นที่ อ.พยาตองซู จ.ตันบูซายัด ตรงข้ามกับด่านเจดีย์สามองค์ อ.สังขละบุรี
จ.กาญจนบุรี ในวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ มีผู้หนีภัยที่มาจากหมู่บ้านเจดีย์ล่าง บ้านตองหวาย
บ้านกะเหย่งซุ ข้ามชายแดนมาทางบ้านแม่ติว ประมาณ ๘๐ คน มีพวกที่หลบอยู่ตามป่าตามเขา
ประมาณ ๑,๐๐๐ คน กระจายกันอยู่เป็นกลุ่ม กลุ่มละ ๑๐๐ คนบ้าง ๙๐ คนบ้าง บางคนได้ไปอาศัย
อยู่กับญาติในชุมชนมอญ กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ ต.หนองลู อ.สังขละบุรี ประมาณ
๓,๐๐๐ คน ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากคริสตจักรมูลนิธิลาซาล ตามหลักมนุษยธรรมให้เข้ามาพักพิงใน
้
อาณาบริเวณของคริสตจักร พร้อมทั้งจัดอาหาร นำาดื่ม และเครื่องนอนเท่าที่จะหาได้ให้กับผู้ที่อพยพเข้ามา
ในเวลานั้น
ในวันที่สามของการอพยพเข้ามา ทหารได้มาสั่งการให้ผู้หนีภัยไปรวมตัวกันที่วัดและให้เดินกลับ
พม่า หลังจากที่ได้รับแจ้งว่าการสู้รบสงบลงแล้ว แต่ในความเป็นจริงยังคงมีเสียงปืนยังดังไม่ขาดสาย
่
จากการบอกเล่าของแม่ชีที่ให้การช่วยเหลือผู้หนีภัย ทหารได้สั่งให้คนกลุ่มนี้กลับไปพม่าในตอนคำาของ
วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ แต่แม่ชีได้ร้องขอต่อทหารว่า ขอให้พวกเขานอนพักค้างคืนก่อน
เพราะการเดินทางในเวลากลางคืนนั้นไม่ปลอดภัย โดยเฉพาะเด็ก ผู้หญิง และคนแก่ จนเช้าของวันรุ่งขึ้น
ผู้หนีภัยยังไม่ทันได้รับประทานอาหารเช้า ทหารได้สั่งให้ไปรวมตัวกันที่วัด เพื่อผลักดันออกไปพร้อมกับ
ผู้หนีภัยอื่นๆ ที่อยู่กระจัดกระจายกัน รวมทั้งหมดประมาณ ๕๐๐ คน ปัจจุบันสถานการณ์สู้รบสงบลง
จึงมีแรงงานจากฝั่งพม่าเดินทางผ่านด่านเจดีย์สามองค์เข้ามาทำางานในโรงงานฝั่งไทยแบบมาเช้า เย็นกลับ
ทุกวัน มีเด็กจากหมู่บ้านที่ติดชายแดนไทยที่ อ.พยาตองซู จ.ตันบูซายัด เดินทางเข้ามาเรียนหนังสือที่
ศูนย์การเรียนรู้ที่จัดตั้งขึ้นโดยมูลนิธิลาซาล ขณะนี้ยังมีผู้หนีภัยการสู้รบที่อาศัยอยู่กับญาติพี่น้อง และ
รับจ้างถากหญ้า กรีดยาง อยู่ในสวนยาง อ.สังขละบุรี มีรายได้วันละ ๑๐๐ บาท และมีส่วนแบ่งจาก
้
นำายางที่กรีด ได้กิโลกรัมละ ๒ บาท พอหมดฤดูกรีดยางก็ไม่มีรายได้ใดๆ
ผู้หนีภัยที่เป็นแรงงานรับจ้างในสวนยางบอกเล่าสาเหตุที่ต้องอพยพเข้ามาในประเทศไทยว่า
“อพยพมาจาก อ.เก่อทะงุ้ง จ.ซะเองซะจี ห่างจากชายแดนไทยเป็นระยะทางเดินเท้า ๒ วัน (ประมาณ
๗๐ – ๘๐ กิโลเมตร) เพราะอยู่ที่พม่าไม่ปลอดภัย ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน เวลาที่สู้รบกัน เมื่ออยากได้สิ่งของ
ของเรา โดยเฉพาะข้าว ทั้งทหารพม่า ทหารกะเหรี่ยง ก็เข้ามาเอาเลย ถ้าทหารอยากได้ลูกเราเป็นลูกหาบ
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒