Page 38 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 38
ภาวะยากลำาบาก สถานการณ์การหนีภัยจากการสู้รบตามแนวตะเข็บชายแดนหลังจากการสู้รบเมื่อปลายปี
พ.ศ. ๒๕๕๓ จนถึงปัจจุบันของแต่ละพื้นที่มี ดังนี้
๑) อ.แม่สอด จ.ตาก เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๓
มีผู้หนีภัยเข้ามาที่อำาเภอแม่สอดประมาณ ๒๕,๐๐๐ คน ได้รับการดูแลจากอำาเภอและ
กองกำาลังผาเมืองโดยจัดที่พักพิงชั่วคราวให้ เมื่อฝ่ายทหารได้รับข่าวว่าการสู้รบในฝั่งพม่าสงบลงแล้ว
ได้จัดการส่งผู้หนีภัยกลับพม่า แต่การสู้รบมิได้ยุติลงจริง ทำาให้ผู้หนีภัยต้องกลับเข้ายังฝั่งประเทศไทย
อีก ๓ - ๔ รอบ ปัจจุบันไม่มีการสู้รบทางฝั่งพม่า ผู้หนีภัยส่วนใหญ่จึงกลับไปยังถิ่นที่อยู่ของตนแล้ว
เพราะมีที่ดินทำากินและเรือกสวนไร่นาที่ต้องดูแล แต่มีบางส่วนไม่อยากกลับเพราะไม่ต้องการอยู่ใน
พื้นที่ที่อาจเกิดการสู้รบอีกเมื่อใดก็ได้ จึงกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ ๓ อำาเภอ คือ อ.พบพระ อ.อุ้มฝาง และ
อ.ท่าสองยาง รวมทั้งสิ้นประมาณ ๔,๐๐๐ คน
ผู้หนีภัยที่เป็นเด็กประมาณ ๓,๐๐๐ คน ต้องพักพิงอยู่ในบ้านพักซึ่งเรียกว่า Boarding
House ซึ่งเกิดขึ้นจากผู้ที่หนีภัยเข้ามาก่อนเป็นเวลานาน ได้ประสานงานกับองค์กรที่ให้การสนับสนุน
ผู้ลี้ภัยให้เข้ามาสนับสนุนงบประมาณในการจัดชั้นเรียนเพื่อให้การศึกษาแก่เด็ก พร้อมทั้งสนับสนุน
ค่าอาหารด้วย เด็กที่อยู่ใน Boarding House ประมาณร้อยละ ๖๐ - ๗๐ มาจากภาวะสงคราม สภาพ
ความเป็นอยู่ของเด็กค่อนข้างลำาบาก สำาหรับผู้ที่อยู่ในวัยแรงงาน ก็จะมีอาชีพรับจ้างรายวันในภาคเกษตร
่
ได้ค่าแรงวันละ ๘๐ บาท ขณะที่ค่าแรงขั้นตำาใน จ.ตาก ขณะนั้นมีอัตราวันละ ๑๗๐ บาท
๒) อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน
จากการสู้รบครั้งใหญ่เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ทำาให้มีผู้หนีภัยทะลักเข้ามาในพื้นที่ของ
จ.แม่ฮ่องสอน จำานวนมาก พื้นที่พักพิงชั่วคราวหนีภัยการสู้รบใน จ.แม่ฮ่องสอน มี ๔ แห่ง คือ
• พื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านแม่สุริน ต.ขุนยวม อ.ขุนยวม
• พื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านแม่ลามาหลวง ต.สบเมย อ.สบเมย
• พื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านแม่ละอูน ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย
• พื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านใหม่ในสอย ต.ปางหมู อ.เมืองแม่ฮ่องสอน
พื้นที่พักพิงทุกแห่งอยู่ในความดูแลของคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยจากพม่า
ประกอบด้วยส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง คือ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย และสภาความมั่นคง
แห่งชาติ เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ในการควบคุมดูแลผู้หนีภัยสงคราม รวมถึงการแก้ไขปัญหาระยะยาว
้
สำาหรับผู้หนีภัยที่อยู่นอกค่าย ซึ่งเข้ามานานแล้ว ได้สร้างที่อยู่อาศัยแบบถาวรติดกับแม่นำาสาละวิน
ที่บ้านแม่สามแลบ อ.สบเมย
ผู้หนีภัยกลุ่มนี้ถูกจำากัดการเดินทางออกนอกพื้นที่ ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง รายได้เฉลี่ย
ต่อเดือนๆ ละ ๓,๐๐๐ บาท ทำาให้เด็กๆได้มีโอกาสเรียนหนังสือแค่ระดับประถมศึกษา แต่ไม่สามารถ
เรียนต่อในระดับที่สูงกว่านั้นได้
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒