Page 37 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 37
การสู้รบระหว่างรัฐบาลทหารพม่ากับกองกำาลังของกลุ่มน้อยในบริเวณรัฐกะเหรี่ยง ซึ่งอยู่ตรงข้าม
กับ อ. แม่สอด จ. ตาก และรัฐมอญซึ่งอยู่ตรงข้ามกับ อ. สังขละบุรี จ. กาญจนบุรี ระหว่างวันที่ ๘ – ๑๒
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ทำาให้ชนกลุ่มน้อยบริเวณชายแดนอพยพหนีภัยเข้ามาในดินแดนของประเทศไทย
จำานวนมากนั้น ผู้วิจัยได้ลงพื้นที่เพื่อศึกษาสถานการณ์ของผู้ลี้ภัยในพื้นที่ติดกับชายแดนใน ๖ อำาเภอ ดังนี้
๑. อ.แม่สอด จ.ตาก เมื่อวันที่ ๑๓ – ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔
๒. อ.ท่าสองยาง จ.ตาก เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔
๓. อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔
๔. อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ ๒๗ – ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔
๕. อ.แม่สาย จ.เชียงราย เมื่อวันที่ ๖ – ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
๖. อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑๓ – ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ประเด็นที่ศึกษาประกอบด้วย สถานการณ์ของแต่ละพื้นที่เป็นอย่างไร หน่วยงานรัฐด้านความ
มั่นคงที่เข้าไปมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาของผู้หนีภัยสงครามมีนโยบายต่อผู้หนีภัยจากการสู้รบอย่างไร
บทบาทของแต่ละหน่วยงานในพื้นที่ในการปฏิบัติต่อผู้หนีภัยจากการสู้รบเป็นไปตามหลักสากลหรือไม่
และมีการส่งกลับผู้หนีภัยจากการสู้รบไปสู่อันตรายหรือไม่
สถานการณ์การอพยพหนีภัยการสู้รบตามแนวตะเข็บชายแดน
จากการลงพื้นที่เพื่อศึกษาสถานการณ์การอพยพหนีภัยจากการสู้รบพบว่า สถานการณ์ของการ
อพยพหนีภัยจากการสู้รบมีความแตกต่างกันตามบริบทของแต่ละพื้นที่ และคลี่คลายลงหลังจากการสู้รบ
ครั้งใหญ่เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ค่อนข้างมาก แต่ทุกพื้นที่ยังคงมีผู้ลี้ภัยที่ตกค้างอยู่จำานวนไม่น้อยที่อยู่ใน
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒