Page 35 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 35
สถานะบุคคลสัญชาติพม่าที่ UNHCR เสนอมาแล้วเห็นว่า สาระสำาคัญของบันทึกความเข้าใจดังกล่าว
เป็นไปตามบันทึกความเข้าใจ (MOU) เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๘ ที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่
๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ที่ UNHCR เสนอแล้ว เมื่อวันที่
๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕
มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ไม่มีสถานะเป็นกฎหมาย แต่มีสถานะเป็นนโยบายเพื่อรองรับและ
สนับสนุนกฎหมาย และในกรณีนี้ คือ นโยบายเกี่ยวกับความตกลงระหว่างประเทศ มีประเด็นที่น่าสนใจ
คือ การทำาทะเบียนประวัติคนในพื้นที่พักพิงชั่วคราวกรณีนี้เป็นเรื่องต่อเนื่อง เหมือนกับมาตรการ
ในมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ทุกประการ แสดงว่า การลงนามใน MOU ครั้งใหม่
เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด
สิทธิอื่นๆ นอกเหนือจากที่ปรากฏในอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑
สิทธิด้านสุขภาพ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
มาตรา ๕๑ บัญญัติว่า
“บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน
และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขจากรัฐซึ่งต้องเป็นไปอย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ
บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐอย่างเหมาะสม โดยไม่เสีย
ค่าใช้จ่ายและทันต่อเหตุการณ์
มาตรา ๘๐ (๒) บัญญัติว่า
“รัฐต้องส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาระบบสุขภาพที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพ อันนำาไป
สู่สุขภาวะที่ยั่งยืนของประชาชน รวมทั้งจัดและส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มี
มาตรฐานอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้เอกชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา
สุขภาพและการจัดบริการสาธารณสุขโดยผู้มีหน้าที่ให้บริการดังกล่าว ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ตาม
มาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรมย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย”
สิทธิในครอบครัว
สืบเนื่องจากสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) มีความเห็นว่า จากช่วง พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้มี
ชาวเวียดนามอพยพเข้ามาในประเทศไทยโดยไม่ถูกต้องเป็นจำานวนมาก แต่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่
ชั่วคราว ระหว่างนั้น มีข้าราชการฝ่ายปกครอง ตำารวจ ทหาร และอื่นๆ ได้สมรสกับชาวเวียดนามอพยพ
จำานวนมาก ซึ่ง สมช. เห็นว่า น่าจะเป็นภัยต่อความมั่นคง เพราะชาวเวียดนามอพยพในขณะนั้นมีพฤติการณ์
สนับสนุนแนวทางต่อต้านรัฐบาลเวียดนามด้วย รวมทั้งพยายามให้ได้มาซึ่งสถานะความเป็นพลเมืองไทย
ด้วยวิธีการต่างๆ รัฐบาลไทยในขณะนั้น จึงได้มีมติครม.ห้ามข้าราชการสมรสหรืออยู่กินฉันท์สามีภรรยากับ
ผู้อพยพและผู้ลี้ภัย โดยเหตุผลเพื่อป้องกันผลกระทบต่อตัวข้าราชการและการถูกคู่สมรสแสวงประโยชน์
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒