Page 34 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 34

สิทธิในการมีหนังสือแสดงตน และหนังสือเดินทาง

                         มติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๔๘ เรื่องสถานะบุคคล กล่าวว่า “คณะรัฐมนตรี
                  มีมติอนุมัติในหลักการการดำาเนินการตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะ  และสิทธิของบุคคล

                  ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ โดยให้คำานึงถึงความรอบครอบ และความมั่นคงของประเทศ
                         ทั้งนี้ การดำาเนินการตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ให้จัดทำา

                  โครงการสำารวจจัดทำาทะเบียนประวัติและเอกสารแสดงตน สำาหรับบุคคลที่ไม่มีชื่ออยู่ในระบบทะเบียน
                  ราษฎร และโครงการเร่งรัดให้สถานะตามกฎหมายแก่บุคคลที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย

                  ติดต่อกันเป็นเวลานาน ตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล”
                         ใน พ.ศ. ๒๕๕๓  ประเทศไทยได้ประกาศถอนข้อสงวนของไทยต่อข้อ ๗ ของอนุสัญญาว่าด้วย

                  สิทธิเด็ก ซึ่งประกันสิทธิของเด็กที่จะได้รับการจดทะเบียนเกิดทันทีภายหลังจากการเกิด และสิทธิที่จะ
                  ได้รับสัญชาติใดสัญชาติหนึ่ง  ในปัจจุบันเด็กทุกคนที่เกิดในไทยมีสิทธิได้รับการจดทะเบียนเกิดตาม

                  พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๑  และภายใต้พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑ นั้น
                  บุตรของบุคคลต่างด้าวหรือกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นระยะเวลานาน  หากเกิดใน

                  ประเทศไทยมีสิทธิที่จะขอสัญชาติไทยได้  แต่หากมิได้เกิดในประเทศไทย  แต่จบสถาบันอุดมศึกษา
                  ในประเทศไทยก็มีสิทธิขอสัญชาติไทยได้

                         กรณีเด็กไร้รากเหง้า หากอยู่ในประเทศไทยอย่างน้อย ๑๐ ปี  และมีหลักฐานการเกิด สามารถขอ
                  สัญชาติไทยได้เช่นกัน

                         นอกจากนี้ กรณีบุตรของแรงงานอพยพข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้าน มีการดำาเนินการที่จะ
                  ให้เด็กเหล่านี้ได้รับสัญชาติตามบิดาและมารดาของประเทศต้นทาง โดยได้รับการสนับสนุนจากหลักฐาน

                  การจดทะเบียนการเกิดและการพิสูจน์สัญชาติของบิดามารดาที่เป็นแรงงานอพยพข้ามชาติ
                         อนึ่ง เมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๕  คณะรัฐมนตรีได้มีมติเรื่อง  การจัดทำาทะเบียนผู้หนีภัย

                  การสู้รบและการพิจารณาสถานะบุคคลสัญชาติพม่า เรื่อง การลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU)
                  ระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับสำานักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ  ประจำาภูมิภาคไทย

                  คณะรัฐมนตรีรับทราบบันทึกความเข้าใจ (MEMORANDUM OF UNDERSTANDING : MOU) ในการ
                  ให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาผู้หนีภัยการสู้รบในพื้นที่พักพิงชั่วคราวบริเวณชายแดนไทย – พม่า

                  ของสำานักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ  (THE  OFFICE  OF  THE  UNITED  NATION
                  HIGH COMMISSIONER FOR REFUGEES : UNSCR) ในโครงการจัดทำาทะเบียนผู้หนีภัยการสู้รบ

                  และการพิจารณาสถานะบุคคลสัญชาติพม่า พ.ศ. ๒๕๕๕  สาระสำาคัญของเรื่อง กระทรวงมหาดไทย
                  รายงานว่า UNHCR ได้เสนอบันทึกความเข้าใจ  (MOU)  ในการให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา

                  ผู้หนีภัยการสู้รบในพื้นที่พักพิงชั่วคราวบริเวณชายแดนไทย-พม่า  ของ  UNHCR  ในโครงการจัดทำา
                  ระเบียนผู้หนีภัยการสู้รบและการพิจารณาสถานะบุคคลสัญชาติพม่า พ.ศ. ๒๕๕๕ [MOU 2012/52281/

                  1900/1 THAA/PF (1257000)] พ.ศ. ๒๕๕๕ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาลงนาม ซึ่งกระทรวง
                  มหาดไทยได้ดำาเนินการตรวจสอบบันทึกความเข้าใจในการแก้ไขปัญหาผู้หนีภัยการสู้รบ และการพิจารณา



        


        ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39