Page 33 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 33
สิทธิในการรับการศึกษา
ในทางกฎหมาย ผู้ลี้ภัยได้รับสิทธิทางการศึกษาเหมือนกับเด็กไทย ดังปรากฏในมติคณะรัฐมนตรี
วันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๘ เรื่องการศึกษา และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
มติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๘ เรื่องการศึกษา กล่าวว่า “คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ
ให้ขยายโอกาสทางการศึกษาของบุคคลในกลุ่มดังกล่าว ซึ่งทำาให้เด็กทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย
ซึ่งรวมถึงเด็กชาติพันธุ์ เด็กไร้รัฐ บุตรของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐาน รวมทั้งเด็กที่เป็นผู้หลบหนีเข้าเมือง
ทุกคน มีสิทธิเรียนฟรี ๑๕ ปี รัฐบาลได้จัดสรรค่าใช้จ่ายรายหัวของเด็กกลุ่มนี้ในอัตราเดียวกับค่าใช้จ่าย
รายหัวที่จัดสรรให้กับเด็กไทย และเมื่อจบการศึกษาแล้ว เด็กกลุ่มนี้มีสิทธิที่จะได้รับวุฒิบัตรเช่นเดียวกัน
กับเด็กไทย”
ทั้งนี้ในมติครม.นี้ ได้ยกเว้นผู้หนีภัยการสู้รบจากพม่ายังคงให้เรียนอยู่ในที่พักพิงชั่วคราว โดยใน
ขณะนี้องค์กรเอกชนระหว่างประเทศได้มีการจัดการศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๑ - มัธยมศึกษา
ปีที่ ๔ ในพื้นที่พักพิงทั้ง ๙ แห่ง อย่างไรก็ตาม หลักสูตรการศึกษายังไม่ได้รับการรับรองจากระบบการ
ศึกษาภายนอก
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๔๙ ระบุว่า “บุคคลย่อมมี
สิทธิเสมอกันในการรับการศึกษา ไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่
เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำาบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่ง
และการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น การจัดการศึกษาอบรมขององค์กร
วิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ”
เสรีภาพในการเดินทางในราชอาณาจักร
ผู้หนีภัยการสู้รบเข้ามาในราชอาณาจักรและทางราชการอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยได้เป็นการ
ชั่วคราว มีความผิดฐานบุคคลต่างด้าวเข้าเมืองโดยไม่ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง ตามพระราชบัญญัติ
ตรวจคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ แต่เนื่องจากรัฐบาลไทยมีนโยบายผ่อนผันจึงยังไม่ได้มีการดำาเนินคดีตาม
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ แต่หากหลบหนีออกมาจากพื้นที่พักพิงชั่วคราวตามที่กระทรวง
มหาดไทยกำาหนดเขตไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตจะไม่เข้าลักษณะเงื่อนไขที่ทางรัฐบาลจะผ่อนปรน ให้ถือว่าเป็น
ผู้หนีภัยจากการสู้รบ มีความผิดตาม พ.ร.บ.ตรวจคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๑/๑๒/๑๘/๖๒/๘๑
และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๑ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๖)
พ.ศ. ๒๕๒๖ มาตรา ๔
การนำาตัวผู้ลี้ภัยออกนอกศูนย์พักพิงเพื่อการศึกษา การประกอบอาชีพ รวมทั้งการรักษาพยาบาล
นั้นอนุญาตเป็นการชั่วคราว เมื่อครบกำาหนดแล้วต้องเดินทางกลับพื้นที่พักพิง ทั้งนี้ ต้องปฏิบัติตามคู่มือ
การปฏิบัติงานของกองการต่างประเทศ สำานักปลัดกระทรวงมหาดไทย
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒