Page 32 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 32
การเข้าเมืองหรือการปรากฏตัวอย่างผิดกฎหมายในรัฐ ประกอบด้วย
u พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒
u แนวทางปฏิบัติ ตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนมาก ที่ มท ๐๒๐๕.๓/๗๘๐๔
เรื่อง หารือแนวทางปฏิบัติต่อผู้หนีภัยจากการสู้รบชาวพม่า
u แนวทางแก้ไขปัญหาผู้หนีภัยจากการสู้รบจากพม่า (พ.ศ.๒๕๔๓-๒๕๔๕) ของสภา
ความมั่นคงแห่งชาติ
กระทรวงมหาดไทยได้กำาหนดว่าผู้หนีภัยจากการสู้รบเป็นผู้เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ภายใต้
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ และไม่ใช่บุคคลที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในประเทศ
เป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ เพียงแต่มีมติสภา
ความมั่นคงแห่งชาติและแนวทางปฏิบัติที่ผ่อนปรนให้ผู้หนีภัยการสู้รบพักอาศัยอยู่ในพื้นที่พักพิงชั่วคราว
เพื่อรอการส่งกลับเมื่อเหตุการณ์การสู้รบยุติลง
ดังนั้น หากผู้ลี้ภัยจากการสู้รบลักลอบออกนอกพื้นที่ควบคุมจะถูกจับดำาเนินคดีเป็นบุคคลต่างด้าว
เข้าเมืองผิดกฎหมายทันที
รัฐบาลไทยยินยอมให้ผู้หนีภัยจากการสู้รบพักอาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยมีเงื่อนไข ๓ ประการ
๑) ยอมให้อยู่ในราชอาณาเขตประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราว เมื่อผู้หนีภัยจากการสู้รบข้าม
ชายแดนเข้ามาเขตประเทศไทยจะอำานวยความสะดวกและช่วยเหลือให้ที่พักพิงชั่วคราวในพื้นที่ปลอดภัย
บนพื้นฐานของหลักมนุษยธรรม
๒) ผู้หนีภัยจากการสู้รบต้องอยู่ในพื้นที่ที่ทางราชการจัดให้เท่านั้น และสถานที่นั้นเป็นพื้นที่
พักพิงชั่วคราว ไม่ใช่ค่ายผู้ลี้ภัย
๓) เมื่อการสู้รบในประเทศพม่าสิ้นสุดลง หรือเมื่อสภาวะความไม่สงบ ความไม่ปลอดภัยผ่าน
พ้นไป ผู้หนีภัยจากการสู้รบต้องเดินทางกลับประเทศของตนทันที โดยฝ่ายไทยจะเป็นผู้อำานวยความ
สะดวกและให้ความช่วยเหลือให้เดินทางกลับประเทศด้วยความปลอดภัยและสมศักดิ์ศรี
สิทธิในการทำางาน
ตามหลักความเสมอภาคทางกฎหมาย ลูกจ้างทุกคนจะได้รับการคุ้มครองแรงงานตามพระราช
่
บัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ บัญญัติให้ลูกจ้างทุกคนมีสิทธิได้รับค่าค่าแรงขั้นตำา ชั่วโมงการ
ทำางาน ค่าล่วงเวลา และสวัสดิการต่างๆ ในอัตราที่เท่าเทียมกันสำาหรับงานที่มีลักษณะ คุณภาพ และ
ปริมาณอย่างเดียวกัน
ดังนั้น ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้มีปัญหาสถานะบุคคลที่ได้รับการจ้างงานในฐานะแรงงาน ก็ย่อมได้รับการ
คุ้มครองภายใต้กฎหมายคุ้มครองแรงงานและมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับค่าจ้างที่เท่าเทียมกัน
แต่ผู้แสวงหาที่ลี้ภัยมีข้อจำากัดในการทำางาน หากต้องการทำางาน ต้องมีการยื่นเอกสารขออนุญาต
และได้รับการอนุมัติจากนายทะเบียน ซึ่งระบุไว้ในพระราชบัญญัติการทำางานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๗ มาตรา ๙ และมาตรา ๑๓ ซึ่งเท่ากับต้องเลือกที่จะจดทะเบียนในฐานะแรงงานข้ามชาติ
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒