Page 30 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 30

Doc. CRC/GC/soo5/6  ว่า  รัฐภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กจะต้องไม่ส่งเด็กกลับสู่ประเทศที่มี
                  มูลเหตุอันเชื่อได้ว่ามีความเสี่ยงต่ออันตรายที่ไม่สามารถแก้ไขได้ต่อเด็ก โดยไม่มีข้อจำากัด  ภายใต้

                  การพิจารณาตามมาตรา ๖  สิทธิในชีวิต  และมาตรา ๓๗ สิทธิในเสรีภาพจากการทรมาน

                          นอกจากนี้ กฎหมายระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคได้กำาหนดหลักการนี้ไว้ใน อนุสัญญาระหว่าง

                  องค์การรัฐเอกภาพแห่งภาคพื้นทวีปแอฟริกาว่าด้วยการบังคับใช้ในลักษณะของปัญหาผู้ลี้ภัยในภาคพื้น

                  ทวีปแอฟริกา ค.ศ. ๑๙๖๙  และปฏิญญาคาร์เทฮีนาว่าด้วยผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๘๔

                         ๒)  กฎหมายระหว่างประเทศที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

                             นักกฎหมายระหว่างประเทศรวมทั้งองค์การระหว่างประเทศ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมัชชา

                  ใหญ่องค์การสหประชาชาติเห็นว่า  หลักการห้ามผลักดันกลับนี้ได้รับการยอมรับและปฏิบัติร่วมกันในสังคม
                  ระหว่างประเทศ  จนมีสถานะเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ  ซึ่งทำาให้มีหลักการห้ามผลักดัน

                  กลับนี้ผูกพันรัฐทุกรัฐให้ปฏิบัติตามไม่ใช่เฉพาะรัฐภาคีเท่านั้น


                  ประเทศไทยกับหลักการห้ามผลักดันกลับ

                         ประเทศไทยมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามหลักการห้ามผลักดันกลับด้วยสาเหตุสำาคัญสองประการ
                  คือ

                         ประการแรก  ประเทศไทยต้องปฏิบัติตามหลักการห้ามผลักดันกลับ เพราะพันธกรณีในกติกา
                  ระหว่างประเทศที่ประเทศไทย และอนุสัญญาที่ประเทศไทยเป็นภาคี ได้แก่

                             -  กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. ๑๙๖๖
                             -  กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ค.ศ. ๑๙๖๖

                             -  อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ ค.ศ. ๑๙๘๑
                             -  อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน การปฏิบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม
                                     ่
                                หรือยำายีศักดิ์ศรี ค.ศ. ๑๙๘๔
                             -  อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ. ๑๙๘๙

                         ประการที่สอง  ประเทศไทยต้องปฏิบัติตามพันธกรณีตามกฎหมายจารีตประเพณีระหว่าง
                  ประเทศ

                         เนื่องจากกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศนั้นมีผลผูกพันรัฐทุกรัฐ  โดยไม่คำานึงว่ารัฐนั้น
                  เป็นภาคีของตราสารระหว่างประเทศหรือไม่  เมื่อหลักการห้ามผลักดันกลับเป็นกฎหมายจารีตประเพณี

                  ประเทศไทยย่อมต้องปฏิบัติตามหลักการห้ามผลักดันกลับนี้  แม้ว่าประเทศไทยจะไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญา
                  ใดที่มีการรับรองหลักการห้ามผลักดันกลับไว้เลยก็ตาม

                         ในความเป็นจริงนั้น  แม้ประเทศไทยมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามหลักการห้ามผลักดันกลับ
                  แต่ประเทศไทยยังมีการฝ่าฝืนหลักการดังกล่าว อาทิ กรณีผู้ลี้ภัยการสู้รบระหว่างกระเหรี่ยงพุทธ และ

                  กะเหรี่ยงคริสต์ในพม่าได้หลบหนีเข้ามาในประเทศไทย ก็ถูกผลักดันกลับไป



        


        ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35