Page 31 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 31
กฎหมาย กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัย
ประเทศไทยได้รับการยกย่องจากนานาชาติที่ได้รองรับผู้ลี้ภัยจำานวนมากจากกัมพูชา ลาว และ
เวียดนามในช่วง พ.ศ. ๒๕๑๘ ที่หลั่งไหลเข้ามายังประเทศไทย หนีภัยจากเหตุการณ์ที่เรียกว่า “วิกฤติผู้ลี้ภัย
ชาวอินโดจีน” มีผู้ลี้ภัยจำานวนมากกว่า ๑,๓๐๐,๐๐๐ คนได้รับการช่วยเหลือให้พักพิงอยู่ในประเทศไทย
เป็นระยะเวลาหลายปี
ปัจจุบันนี้มีผู้ลี้ภัยในประเทศไทยที่ได้รับการลงทะเบียนจาก UNHCR แล้ว ประมาณ ๙๕,๐๐๐ คน
และมีผู้ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาขอลี้ภัยอีกราว ๙,๐๐๐ คน ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยเผ่ากะเหรี่ยง
และเผ่ากะเหรี่ยงแดงจากพม่า ซึ่งพักอาศัยอยู่ในศูนย์พักพิงชั่วคราว จำานวน ๙ แห่ง ใน ๔ จังหวัดชายแดน
ไทย-พม่า
รัฐบาลไทยเป็นผู้บริหารจัดการศูนย์พักพิง โดยได้รับความช่วยเหลือเกือบทั้งหมดจากองค์กรพัฒนา
เอกชน (NGOs) มีผู้ลี้ภัยจำานวนมากกว่า ๕๕,๐๐๐ คนจากพม่า และจำานวนอีกเล็กน้อยจากประเทศอื่นๆ
ได้เดินทางออกจากประเทศไทยเพื่อเข้าไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศที่สาม เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา
และออสเตรเลีย ที่จะรองรับผู้ลี้ภัยจำานวนมากจากประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาตามสิทธิต่างๆ ตามอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ๑๙๕๑ แล้ว
ประเทศไทยได้ออกกฎหมายและระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัย ซึ่งสามารถจำาแนกได้
ตามสิทธิในอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ.๑๙๕๑ ได้ดังนี้
สิทธิในการไม่ถูกขับไล่ สิทธิในการไม่ถูกผลักดันกลับ (non - refoulement)
กฎหมายที่เป็นอุปสรรคในการเข้าถึงสิทธิในการไม่ถูกขับไล่ และสิทธิในการไม่ถูกผลักดันกลับ คือ
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ มี ๒ มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ
มาตรา ๒๒ “ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจ พบว่า คนต่างด้าวซึ่งมีลักษณะต้องห้าม
มิให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามมาตรา ๑๒ เข้ามาในราชอาณาจักร ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำานาจ
สั่งให้คนต่างด้าวผู้นั้นกลับออกไปนอกราชอาณาจักรได้ โดยมีคำาสั่งเป็นหนังสือ…”
และ มาตรา ๕๔ “คนต่างด้าวผู้ใดเข้ามาหรืออยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือ
การอนุญาตนั้นสิ้นสุด หรือถูกเพิกถอนแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะส่งตัวคนต่างด้าวผู้นั้นกลับออกไป
นอกราชอาณาจักร ก็ได้”
พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีอำานาจในการส่งคนต่างด้าวออกไปนอกราชอาณาจักร ตามมาตรา ๒๒
วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติตรวจคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ โดยไม่คำานึงถึงการมีอยู่ของหลักการสิทธิ
ในการไม่ถูกขับไล่ สิทธิในการไม่ถูกผลักดันกลับ
สิทธิในการไม่ถูกลงโทษทางอาญา เพราะการเข้าเมืองหรือการปรากฏตัว
อย่างผิดกฎหมายในรัฐ
กฎหมายและแนวปฏิบัติที่เป็นอุปสรรคต่อการคุ้มครองสิทธิในการไม่ถูกลงโทษทางอาญาเพราะ
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒