Page 28 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 28

ผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตรายนี้  เป็นหลักการที่ให้ความคุ้มครองผู้ลี้ภัย ซึ่งเป็นผู้ที่เดินทางเข้าสู่ดินแดนของรัฐอื่น
                  เนื่องจากความหวาดกลัวต่อการถูกประหัตประหาร  รัฐแต่ละรัฐมีหน้าที่ที่จะไม่ผลักดันผู้ลี้ภัยนั้นออกจาก

                  อาณาเขตรัฐตนกลับไปเผชิญกับภัยการถูกประหัตประหารที่บุคคลนั้นเดินทางออกมา

                         หลักการนี้ มีที่มาอันยาวนานทั้งในทางกฎหมายระหว่างประเทศ โดยบัญญัติไว้ในตราสารระหว่าง
                  ประเทศหลายฉบับ เช่น อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ๑๙๕๑  อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก  อนุสัญญา
                                                                                ่
                  ต่อต้านการทรมาน  การปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือยำายีศักดิ์ศรี ค.ศ. ๑๙๘๔
                         หลักการนี้  ได้รับการยอมรับจากรัฐต่างๆ และองค์กรระหว่างประเทศ ถือว่ามีสถานะเป็นกฎหมาย

                  จารีตประเพณีระหว่างประเทศแล้ว


                  การปรากฏของหลัก Non - Refoulement ในกฎหมายระหว่างประเทศ

                         กฎหมายระหว่างประเทศนั้น สามารถจำาแนกได้เป็น ๒ ประเภท คือ กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์

                  อักษร  และกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร หรือกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ หลักการ
                  ห้ามผลักดันกลับนี้ ปรากฏอยู่ทั้งในกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและในรูปกฎหมายจารีตประเพณี

                  กล่าวคือ
                         ๑)  กฎหมายระหว่างประเทศที่เป็นลายลักษณ์อักษร

                             ลักษณะสำาคัญของกฎหมายระหว่างประเทศที่เป็นลายลักษณ์อักษร คือ มีผลผูกพันเฉพาะ
                  กับรัฐที่เข้าเป็นภาคีในกฎหมายฉบับนั้น  ดังนั้น หากกฎหมายฉบับใดมีการบัญญัติหลักการห้ามผลักดัน

                  กลับไว้  รัฐที่เข้าเป็นภาคีก็มีหน้าที่ต้องเคารพและปฏิบัติตามหลักการดังกล่าว
                             กฎหมายระหว่างประเทศที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในสังคม

                  ระหว่างประเทศและได้บัญญัติหลักการห้ามผลักดันกลับไว้  ได้แก่

                             อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑

                             อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ เป็นตราสารระหว่างประเทศว่าด้วยผู้ลี้ภัยที่
                  ก่อให้เกิดความผูกพันทางกฎหมายเป็นฉบับแรก และเป็นตราสารฉบับแรกที่กล่าวถึงหลักการห้ามผลักดัน
                  กลับ โดยบัญญัติในมาตรา ๓๓ ว่า

                                “รัฐภาคีผู้ทำาสัญญาจะไม่ขับไล่หรือส่งกลับ (ผลักดัน) ผู้ลี้ภัยไม่ว่าจะโดยลักษณะ

                     ใดๆ ไปยังชายเขตแห่งดินแดน ซึ่ง ณ ที่นั้น ชีวิตหรืออิสรภาพของผู้ลี้ภัยอาจได้รับการคุกคาม
                     ด้วยสาเหตุทางเชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ สมาชิกภาพของกลุ่มทางสังคมใดๆ หรือเพราะความเห็น
                     ทางการเมือง”

                             โดยหลักการห้ามผลักดันกลับนี้  ใช้เฉพาะผู้ลี้ภัย และใช้เฉพาะสถานการณ์ที่คุกคามต่อชีวิต

                  และเสรีภาพต่อการประหัตประหารเนื่องจากมูลเหตุที่กำาหนดไว้ในมาตรานี้เท่านั้น  อีกทั้ง อนุสัญญาฉบับนี้
                  ห้ามมิให้ผู้ลี้ภัยที่มีเหตุอันสมควรเชื่อได้ว่า เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศที่ได้เข้าไปพำานักอยู่หรือโดย
                  คำาพิพากษาสูงสุดถูกตัดสินว่ากระทำาความผิดร้ายแรงอันเป็นภัยต่อประชาคมของประเทศ นั้น





        


        ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33