Page 27 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 27
ประการที่สอง ที่ตั้งด้านภูมิศาสตร์ของประเทศไทยมีชายแดนติดกับประเทศต่างๆ ซึ่งเพื่อนบ้าน
่
เหล่านั้นยังมีการพัฒนาที่ตำากว่าประเทศไทย จึงมีการอพยพเข้ามาในประเทศไทยโดยอ้างสาเหตุต่างๆ
นานา
การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ นั้น อาจเป็นปัจจัยดึงดูดให้มี
ผู้ลี้ภัยหลั่งไหลเข้าในประเทศไทยเป็นจำานวนมาก
ทั้งนี้ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องและฝ่ายความมั่นคงได้มีพิจารณาข้อดีข้อเสียหลายครั้งและ
ยังเห็นว่า ประเทศไทยไม่ควรเข้าเป็นรัฐภาคีสมาชิกของอนุสัญญานี้ แต่กระทรวงการต่างประเทศมีความ
พยายามจะได้รื้อฟื้นกระบวนการคณะทำางานเพื่อพิจารณาความเหมาะสมสำาหรับการที่ประเทศไทยจะ
เข้าเป็นภาคีสมาชิกของอนุสัญญาฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำาเนินการตามข้อเสนอต่อประเทศไทย
จากการประชุมรายงานสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
พิธีสารเกี่ยวกับสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๖๗
อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ เป็นตราสารระหว่างประเทศที่ได้ถูกร่างขึ้น
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมีการกำาหนดคำานิยามของคำาว่า “ผู้ลี้ภัย” ไว้ในอนุสัญญา แต่การ
บังคับใช้อนุสัญญาว่าดังกล่าว กลับพบว่ามีข้อจำากัดสำาคัญสองประการ ได้แก่
ข้อจำากัดด้านภูมิศาสตร์ ผู้ลี้ภัยตามอนุสัญญาฯ ฉบับนี้จะต้องเป็นผู้ลี้ภัยจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ในทวีปยุโรป
ข้อจำากัดด้านเวลา เหตุการณ์ที่จะทำาให้บุคคลนั้นเป็นผู้ลี้ภัยตามอนุสัญญาฯ นี้ได้ ต้องเป็น
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน วันที่ ๑ มกราคม ค.ศ. ๑๙๕๑
จากข้อจำากัดทั้งสองประการดังกล่าว ทำาให้อนุสัญญาฯ นี้ไม่สามารถใช้กับผู้ลี้ภัยในสถานการณ์
ใหม่ๆ ได้ และปัญหาผู้ลี้ภัยก็ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา พิธีสารเกี่ยวกับสถานภาพผู้ลี้ภัย
ค.ศ. ๑๙๖๗ จึงได้ถูกจัดทำาขึ้น เพื่อแก้ไขข้อจำากัดดังกล่าวของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑
แต่ทั้งนี้ พิธีสารเกี่ยวกับสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๖๗ เป็นตราสารที่เป็นอิสระ รัฐภาคีของพิธีสาร
ไม่จำาเป็นต้องเข้าเป็นภาคีสมาชิกของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ ซึ่งปัจจุบันประเทศ
ที่เข้าเป็นภาคีของพิธีสารเกี่ยวกับสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๖๗ ทั้งสิ้น ๑๔๕ ประเทศ
หลักการห้ามผลักดันกลับ (Non–Refoulement Principle)
ตามหลักเรื่องอำานาจอธิปไตยของรัฐ รัฐย่อมมีอำานาจในการพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้าสู่
ดินแดน และออกจากดินแดนของตน อย่างไรก็ตาม อำานาจของรัฐในการส่งตัวคนต่างด้าวออกจาก
ดินแดนนั้น มีข้อจำากัดตามกฎหมายระหว่างประเทศ ตามหลักการห้ามผลักดันกลับ หรือหลักการไม่ส่ง
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒