Page 25 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 25

๓)  หน้าที่ของผู้ลี้ภัย
                                นอกจาก อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑  จะกำาหนดให้รัฐคุ้มครองสิทธิของ

                     ผู้ลี้ภัยแล้ว  ผู้ลี้ภัยก็มีหน้าที่ต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายภายในของรัฐที่ตนเข้าไปลี้ภัย และจะต้องไม่

                     กระทำาการใดที่อาจเป็นอันตรายต่อความปลอดภัย ความมั่นคง หรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนในรัฐ
                     ที่ลี้ภัย  ตามอนุสัญญาฯ นี้ หน้าที่ของผู้ลี้ภัยปรากฏอยู่ในมาตรา ๒
                                   “ผู้ลี้ภัยทุกคนมีหน้าที่ต่อรัฐที่ตนเข้ามาอยู่ในอาณาเขต ซึ่งหน้าที่หมายถึงโดยเฉพาะ

                        อย่างยิ่งการปฏิบัติตามกฎหมายข้อบังคับ และมาตรการในการรักษาความสงบเรียบร้อยของ

                        ประชาชน”

                            ๔)  วิธีการเข้าเป็นภาคี

                                อนุสัญญาฯได้กำาหนดวิธีการเข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาไว้ในมาตรา ๓๙ เรื่องการลงนาม
                     การให้สัตยาบัน และการภาคยานุวัติ ดังนี้

                                ๔.๑  อนุสัญญานี้เปิดให้ลงนาม  ณ  นครเจนีวา ในวันที่  ๒๘  กรกฎาคม  ค.ศ. ๑๙๕๑  และ

                     หลังจากนั้นจะเก็บรักษาไว้กับเลขาธิการสหประชาชาติ
                                      อนุสัญญาเปิดให้ลงนาม ณ สำานักงานสหประชาชาติในยุโรป ตั้งแต่วันที่ ๒๘
                     กรกฎาคม ถึง ๓๑ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๕๑  และเปิดให้ลงนามได้อีกครั้ง ณ สำานักงานใหญ่ของสหประชาชาติ

                     ตั้งแต่วันที่ ๑๗ กันยายน ค.ศ. ๑๙๕๑ ถึง ๓๑ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๕๒

                                ๔.๒  อนุสัญญานี้จะเปิดให้ลงชื่อได้ในนามของรัฐสมาชิกองค์การสหประชาชาติทั้งหลาย
                     และในนามของรัฐอื่นๆ ที่ได้รับคำาเชิญให้ร่วมในการประชุมผู้มีอำานาจเต็ม เรื่อง สถานภาพของผู้ลี้ภัย
                     และบุคคลผู้ไร้สัญชาติ หรือต่อผู้เป็นฝ่ายซึ่งสมัชชาใหญ่จะมีคำาเชิญขอให้ลงนามอนุสัญญานี้จะต้องได้รับ

                     สัตยาบันและสัตยาบันสารจะต้องเก็บรักษาไว้ที่เลขาธิการสหประชาชาติ

                                ๔.๓  อนุสัญญานี้จะเปิดเพื่อการภาคยานุวัติ ตั้งแต่วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๕๑ โดย
                     รัฐซึ่งอ้างถึงในวรรค ๒ ของมาตรานี้  “การภาคยานุวัติจะมีผลเมื่อมีการส่งมอบภาคยานุวัติสารไว้กับ
                     เลขาธิการสหประชาชาติ”

                                      ในปัจจุบันมีประเทศที่เข้าเป็นสมาชิกของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย

                     ค.ศ. ๑๙๕๑ แล้วทั้งสิ้น ๑๔๔ ประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔)

                            ๕)  การตั้งข้อสงวน

                                อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ ได้อนุญาตให้รัฐภาคีตั้งขอสงวนได้  เว้นแต่
                     เป็นเรื่องที่มีความสำาคัญอย่างยิ่ง  ซึ่งมาตรา ๔๒ ได้ห้ามการตั้งข้อสงวน เช่น เรื่องคำาจำากัดความของคำาว่า

                     ผู้ลี้ภัย การห้ามการเลือกปฏิบัติ สิทธิทางการนับถือศาสนา สิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม
                     การห้ามผลักดันกลับ








                                                                                                            


                                      ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30