Page 23 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 23
ประหาร หรือมีเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นกับตนเองหรือบุคคลใกล้ชิดของตน
นอกจากนั้น คุณสมบัติข้อนี้จะต้องพิจารณาสถานการณ์ในประเทศที่บุคคลนั้นหนีออกมา
ด้วย ซึ่งเป็นการพิจารณาในเชิงวัตถุวิสัยสะท้อนให้เห็นว่า บุคคลนั้นมุ่งแสวงหาที่ปลอดภัยในชีวิตเพราะ
สถานการณ์บังคับจริงเหมือนที่กล่าวอ้างหรือไม่
ดังนั้น ในการพิจารณาคุณสมบัติในข้อสอง ผู้ขอลี้ภัยจะต้องแสดงให้เห็นทั้ง ๒ ประการ คือ
สถานการณ์ประหัตประหารที่ตนหวาดกลัว และความสมเหตุสมผลว่าเพราะเหตุใดตนจึงมีความหวาดกลัว
ต่อการประหัตประหารนั้น
ค. การประหัตประหารนั้น ต้องมีสาเหตุมาจาก เชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ สมาชิกภาพในกลุ่ม
สังคมเฉพาะ หรือความคิดเห็นทางการเมือง
โดยทั่วไปการประหัตประหารนั้นอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่ผู้ที่จะมีสถานะเป็น
ผู้ลี้ภัยตามความหมายของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ ได้นั้น จะต้องเป็นผู้ที่หนีจาก
การประหัตประหารที่มีสาเหตุอย่างน้อยหนึ่งสาเหตุจากทั้ง ๕ สาเหตุที่ระบุไว้ในมาตรา ๑ เท่านั้น
บุคคลที่หลบหนีการประหัตประหารด้วยสาเหตุอื่น ไม่อาจเป็นผู้ลี้ภัยตามอนุสัญญาฉบับนี้ได้ เช่น
ผู้ที่ออกจากประเทศเพราะภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปัญหาทางเศรษฐกิจภายในประเทศ หรือผู้ที่หลบหนีการ
ลงโทษในคดีอาญา
ง. ไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะได้รับความคุ้มครองจากประเทศแห่งสัญชาติของตน หรือ
ไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะกลับไปอยู่อาศัยในประเทศที่ตนมีถิ่นที่อยู่เดิมเนื่องจากความหวาดกลัวที่
กล่าวมาข้างต้น
การพิจารณาว่าบุคคลมีคุณสมบัตินี้หรือไม่ สามารถพิจารณาได้ตามลำาดับ ดังนี้
ประการแรก บุคคลนั้นจะต้องไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะได้ความคุ้มครองจากประเทศ
แห่งสัญชาติของตนหรือประเทศที่เดิมมีที่อาศัยประจำา การไม่ได้รับความคุ้มครองจากประเทศใดๆ เป็น
เหตุผลสำาคัญที่สังคมระหว่างประเทศเข้ามาให้ความคุ้มครองบุคคล เพราะโดยปกติแล้ว รัฐเป็นผู้มีหน้าที่
ให้ความคุ้มครองแก่พลเมืองของตน แต่เมื่อใดก็ตามที่รัฐไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะให้ความคุ้มครองแล้ว
บุคคลเหล่านั้นย่อมเสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน เพราะเหตุนี้เอง ประชาคมระหว่าง
ประเทศจึงต้องให้ความคุ้มครอง เพื่อรับรองว่าสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของบุคคลเหล่านั้นจะไม่ถูกละเมิด
ประการที่สอง เหตุที่บุคคลไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะได้รับความคุ้มครองนั้น เนื่อง
มาจากความหวาดกลัวอันมีมูลจะกล่าวได้ว่าจะถูกประหัตประหาร อันมีสาเหตุทางเชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ
สมาชิกภาพในกลุ่มสังคมเฉพาะ หรือความคิดเห็นทางการเมือง (ดังที่ได้กล่าวไว้ในองค์ประกอบข้อสอง)
เมื่อบุคคลมีคุณสมบัติครบทั้งสามประการตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว บุคคลย่อมมีสถานะ
เป็นผู้ลี้ภัยตามอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัยทันที มีสิทธิและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
๒) สิทธิของผู้ลี้ภัย
อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ ได้กำาหนดให้รัฐภาคีสมาชิกมีหน้าที่คุ้มครอง
สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของผู้ลี้ภัยตามที่บัญญัติไว้ในอนุสัญญาฯ อย่างไรก็ตาม สิทธิที่กำาหนดไว้ใน
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒