Page 24 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 24
่
อนุสัญญาฯ เป็นเพียงสิทธิขั้นตำา รัฐภาคีสมาชิกจึงสามารถให้สิทธิที่นอกเหนือจากที่กำาหนดไว้จากผู้ลี้ภัย
ได้ สิทธิสำาคัญที่บัญญัติไว้ในอนุสัญญาได้
ทั้งนี้ สิทธิมนุษยชนที่สำาคัญที่ได้รับการคุ้มครองตามอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย
ค.ศ. ๑๙๕๑ ได้แก่
สิทธิในการไม่ถูกขับไล่หรือส่งกลับ (ผลักดัน) มาตรา ๓๓ (๑)
“รัฐภาคีผู้ทำาสัญญาจะไม่ขับไล่หรือส่งกลับ(ผลักดัน)ไม่ว่าจะโดยลักษณะใดๆ ไปยัง
ชายแห่งดินแดน ซึ่ง ณ ที่นั้นชีวิตหรืออิสรภาพของผู้ลี้ภัยอาจได้รับการคุกคามด้วยสาเหตุทาง
เชื้อชาติ ศาสนา สมาชิกภาพของกลุ่มทางสังคมเฉพาะ หรือความคิดเห็นทางการเมือง”
บทบัญญัติมาตรานี้เป็นการรับรองหลักกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศหนึ่งที่มี
ความสำาคัญและเป็นที่ยอมรับในสังคมระหว่างประเทศ คือ หลักห้ามผลักดันกลับ (non-refoulement)
ซึ่งเป็นหลักการสำาคัญ อันจะได้กล่าวถึงต่อไป
อย่างไรก็ตามอนุสัญญาฯ นี้ได้วางข้อจำากัดเรื่องการอ้างประโยชน์ของหลักการห้ามผลักดัน
กลับ โดยระบุว่า ผู้ลี้ภัยไม่อาจกล่าวอ้างสิทธินี้ได้ หากมีเหตุอันสมควรถือได้ว่าผู้ลี้ภัยเป็นภัยต่อความ
มั่นคงของประเทศที่เข้าไปพำานัก หรือโดยคำาพิพากษาถึงที่สุดตัดสินว่ากระทำาความผิดร้ายแรงอันเป็นภัย
ต่อประชาคมของประเทศนั้น (มาตรา ๓๓ (๒) )
สิทธิในการไม่ถูกขับไล่จากอาณาเขตของรัฐ มาตรา ๓๒
“รัฐภาคีผู้ทำาสัญญาจะไม่ขับไล่ผู้ลี้ภัยซึ่งชอบด้วยกฎหมายจากอาณาเขตของตน
เว้นเสียแต่เพื่อความมั่นคงของชาติ หรือเพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน”
สิทธิในการไม่ถูกขับไล่จากอาณาเขตของรัฐนี้ ข้อพิจารณาสำาคัญอยู่ที่การขับไล่ผู้ลี้ภัย
ออกจากอาณาเขตของตนเสีย ไม่ได้คำานึงว่าเมื่อขับไล่ไปแล้ว ผู้ลี้ภัยจะถูกคุกคามชีวิตหรืออิสรภาพ
หรือไม่ จึงทำาให้ต่างกับกรณีการขับไล่หรือส่งกลับ ตามหลัก non-refoulement ที่ได้กล่าวถึงก่อนหน้านี้
สิทธิในการไม่ถูกลงโทษทางอาญาในความผิดฐานเข้าเมืองหรือปรากฏตัวโดยผิดกฎหมาย
มาตรา ๓๑
รัฐภาคีผู้ทำาสัญญาจะไม่ลงโทษทางอาญา ด้วยเหตุแห่งการเข้าเมืองหรือการปรากฏตัวโดย
ผิดกฎหมายแก่ผู้ลี้ภัย อย่างไรก็ตามอนุสัญญาฯ ได้กำาหนดไว้ว่า ผู้ลี้ภัยจะอ้างสิทธิตามมาตรานี้ได้ก็ต่อเมื่อ
“หากผู้ลี้ภัยได้เดินทางโดยตรงมาจากดินแดนซึ่งชีวิตหรือเสรีภาพถูกคุกคามตาม
ความหมายของมาตรา ๑ เข้ามาหรือปรากฏตัวในอาณาเขตโดยไม่ได้รับอนุญาต และผู้ลี้ภัยต้องมา
รายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ และแสดงเหตุอันควรเชื่อได้ในการเข้าเมืองผิดกฎหมายหรือการปรากฏตัว
โดยผิดกฎหมาย”
นอกจากนี้ สิทธิมนุษยชนที่สำาคัญยังรวมถึงสิทธิในการไม่ถูกเลือกปฏิบัติ สิทธิเสรีภาพ
ในการเลือกนับถือศาสนา สิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม เสรีภาพในการเดินทาง สิทธิในการมี
เอกสารแสดงตัวบุคคล สิทธิในการศึกษา ที่พักอาศัย ทางสาธารณสุข และสิทธิในการทำางาน
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒