Page 22 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 22

มาตรา ๑  แต่เนื่องจากคำาจำากัดความดังกล่าวมีกรอบทางด้านเวลาและภูมิศาสตร์  ทำาให้ไม่สามารถปรับใช้
                  กับผู้ลี้ภัยที่ในสถานการณ์ใหม่ได้ จึงมีการจัดทำาพิธีสารเกี่ยวกับสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๖๗ ขึ้น เพื่อกำาจัด

                  กรอบทางด้านเวลาและภูมิศาสตร์ โดยคำานิยามของผู้ลี้ภัยในอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑

                  ประกอบกับมาตรา ๑ พิธีสารเกี่ยวกับสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๖๗ คือ
                                “ผู้ลี้ภัย หมายถึง บุคคลที่อยู่นอกประเทศแห่งสัญชาติของตน เนื่องด้วยความ
                     หวาดกลัวที่มีมูลเหตุอันจะกล่าวอ้างได้ว่าจะถูกประหัตประหารด้วยสาเหตุทางเชื้อชาติ ศาสนา

                     สัญชาติ สมาชิกภาพในกลุ่มสังคมเฉพาะ หรือความคิดเห็นทางการเมือง และไม่สามารถหรือด้วย

                     ความหวาดกลัวนั้น ไม่เต็มใจที่จะได้รับความคุ้มครองจากประเทศนั้น  ในกรณีของบุคคลไร้สัญชาติ
                     และอยู่นอกประเทศที่ตนมีถิ่นที่อยู่  ด้วยความหวาดกลัวที่กล่าวมาจึงไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะ
                     กลับไปอยู่อาศัยในประเทศนั้น”

                         เมื่อพิจารณาคำาจำากัดความดังกล่าวเห็นได้ว่า บุคคลที่จะได้รับสถานะว่าเป็นผู้ลี้ภัย ต้องมีคุณสมบัติ

                  ๔ ประการ ดังต่อไปนี้
                         ก.  เป็นผู้ที่อยู่นอกประเทศแห่งสัญชาติของตน หรือประเทศที่ตนมีถิ่นที่อยู่

                             คุณสมบัติประการแรกเป็นองค์ประกอบทางกายภาพ คือ ลักษณะของการอยู่นอกประเทศนี้
                  จะต้องมีการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศไปสู่อีกประเทศหนึ่ง  โดยคำาจำากัดความนี้ ได้จำาแนกผู้ที่อยู่นอก

                  ประเทศเป็น ๒ กลุ่ม คือ ผู้อยู่นอกประเทศแห่งสัญชาติตน หรือผู้อยู่นอกประเทศที่ตนมีถิ่นที่อยู่ กล่าวคือ
                             นอกประเทศแห่งสัญชาติตน : เกณฑ์การพิจารณานี้ใช้กรณีที่บุคคลนั้นเป็นบุคคลที่มีสัญชาติ

                  จะต้องปรากฏว่า บุคคลผู้นั้นได้ออกจากเขตแดนของรัฐเจ้าของสัญชาติตนแล้วเท่านั้น  จึงจะได้รับการ
                  พิจารณาสถานภาพผู้ลี้ภัยตามความหมายของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ ได้

                             นอกประเทศตามที่ตนมีถิ่นที่อยู่ : เกณฑ์การพิจารณานี้ใช้สำาหรับคนไร้รัฐ (Stateless
                  Person) ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่มีรัฐใดเป็นเจ้าของสัญชาติของตัวบุคคลผู้นั้นเลย ในการพิจารณาองค์ประกอบ

                  ว่าบุคคลนั้นเป็นผู้ลี้ภัยตามความหมายของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ หรือไม่  จึงไม่ใช้
                  หลักเกณฑ์เรื่องประเทศแห่งสัญชาติ แต่ใช้การพิจารณาว่าบุคคลผู้นั้นได้อยู่นอกประเทศที่ตนมีถิ่นที่อยู่

                  หรือไม่
                             หากปรากฏว่าบุคคลผู้นั้นเป็นผู้อยู่นอกประเทศแห่งสัญชาติตน หรือประเทศที่ตนมีที่อาศัย

                  อยู่ประจำาแล้ว ก็ต้องพิจารณาคุณสมบัติข้อต่อไปที่ต้องพิจารณา คือ
                         ข.  ต้องออกจากประเทศนั้นเนื่องจากความหวาดกลัวที่มีมูลอันจะกล่าวอ้างได้ว่าจะถูก

                  ประหัตประหาร
                             การพิจารณาในลำาดับนี้มีลักษณะเป็นเชิงอัตวิสัย เพราะความกลัวเป็นภาวะทางจิตใจ ขึ้นอยู่

                  กับภูมิหลังและประสบการณ์ส่วนตัวของแต่ละบุคคล
                             อย่างไรก็ตาม ความกลัวที่บุคคลกล่าวอ้างนั้นจะต้องความหวาดกลัวที่มีมูลเหตุสมเหตุสมผล

                  (well-founded) โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงต่างๆ ที่แสดงให้เห็นความเป็นไปได้ที่บุคคลนั้นจะหวาดกลัว
                  การว่าจะถูกประหัตประหาร เช่น เหตุการณ์ในอดีตที่บุคคลที่อยู่ในสถานการณ์เดียวกันนี้ถูกประหัต



        


        ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27