Page 21 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 21
หลักการทางสากลที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัย ได้แก่
(๑) อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑
(๒) พิธีสารเกี่ยวกับสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๖๗
(๓) หลักการไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตราย (non-refoulement)
(๔) กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑
ในช่วงต้นของสงครามโลก ครั้งที่ ๒ ในทวีปยุโรปมีผู้ลี้ภัยเพิ่มขึ้นใหม่จำานวนมาก องค์การ
สหประชาชาติจึงได้ก่อตั้งสำานักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติขึ้นมา ในวันที่ ๑๔ ธันวาคม
พ.ศ. ๒๔๙๓ เพื่อทำาหน้าที่ให้ความคุ้มครองแก่ชาวยุโรปผลัดถิ่นผู้ลี้ภัย และได้กำาหนดกรอบการทำางาน
ในการให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย ซึ่งได้ผ่านมติและนำามาใช้ในวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๕๑ ในชื่อว่า
“อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑”
เนื้อหาของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑
อนุสัญญาฉบับนี้ เป็นความตกลงระหว่างประเทศเพียงฉบับเดียวที่ครอบคลุมสิทธิสำาคัญในชีวิต
้
ของผู้ลี้ภัยไว้ทั้งหมด และมีบทบัญญัติที่มุ่งส่งเสริมความเป็นนำาหนึ่งใจเดียวกันและความร่วมมือกันระหว่าง
รัฐในการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัย โดยเนื้อหาของอนุสัญญาฯ แบ่งเป็น ๖ ส่วน ได้แก่
๑) คำาจำากัดความ
อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ ได้ให้คำาจำากัดความของคำาว่า “ผู้ลี้ภัย” ไว้ใน
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒