Page 20 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 20

ในพื้นที่จัดให้ เพราะเกรงว่าจะถูกกดดันให้กลับอีก จึงกระจายไปหลบซ่อนอยู่ตามหุบเขาในหลายพื้นที่
                  บางกลุ่มหลบซ่อนอยู่ในเขตป่าเขานานนับเดือน  ทำาให้มีปัญหาสุขภาพอนามัย เด็กๆ ไม่ได้รับการศึกษา

                         ๓.  กรณีForum of Burma’s Community Based Organization (FCOB) โดยแพทย์หญิง
                  ซินเธีย หม่อง ได้มีหนังสือเลขคำาร้อง ที่ ๖๕๓/๒๕๕๓ ขอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเข้าไป

                  ช่วยเหลือผู้ที่อพยพหนีภัยสู้รบเข้ามาในประเทศไทย  โดยเรียกร้องให้มีการประเมินสถานการณ์อย่าง
                  รอบด้านก่อนส่งตัวกลับ และควรประสานกับองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ลี้ภัย

                  โดยเร่งด่วน
                         ภายใต้เงื่อนไขที่ประเทศไทยเป็นภาคีของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. ๑๙๔๘

                  ข้อ ๑๔  ทุกคนมีสิทธิที่จะแสวงหาและจะได้ลี้ภัยในประเทศอื่นจากการประหัตประหาร  และอนุสัญญา
                  ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR)  มาตรา ๗ “ไม่มีผู้ใดจะตกอยู่ภายใต้การทรมาน
                                                                  ่
                  การปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือยำายีซึ่งศักดิ์ศรี”  จึงมีความจำาเป็นที่รัฐบาล
                  และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีนโยบาย และแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
                  ของผู้ลี้ภัยจากพม่าให้เป็นไปตามอนุสัญญาดังกล่าว  รวมทั้งควรปฏิบัติตามหลักการไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปสู่

                  อันตราย (non-refoulement)  ซึ่งเป็นหลักการในอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ และ
                  พิธีสารเกี่ยวกับสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๖๗  ที่ห้ามรัฐภาคีไม่ส่งตัว หรือผลักดัน หรือขับไล่ผู้แสวงหา
                  ที่พักพิง หรือผู้ลี้ภัยในลักษณะใดๆ กลับประเทศ หรือดินแดน ซึ่งชีวิตและเสรีภาพของพวกเขาอาจถูกคุกคาม

                  โดยการผลักดันกลับ
                         คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงมอบหมายให้คณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและ

                  สิทธิทางการเมืองดำาเนินการตรวจสอบตามคำาร้องเรียนนี้ และได้ลงพื้นที่ไปตรวจสอบข้อเท็จจริง ๒ ครั้ง ดังนี้
                         ครั้งที่ ๑  เมื่อวันที่ ๑๗ – ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓  ได้เดินทางไปเยี่ยมศูนย์พักพิงชั่วคราวที่

                                 อ.ท่าสองยาง  จ.ตาก
                         ครั้งที่ ๒  เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓  ได้ไปเยี่ยมศูนย์พักพิงชั่วคราวที่ อ.อุ้มผาง จ.ตาก

                                 รวมทั้งจัดการประชุมร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องที่อำาเภอแม่สอด เพื่อรับฟัง
                                 ความเห็นในการจัดทำาข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และมาตรการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
                                 แก่ผู้ลี้ภัย  หลังจากนั้นจึงมีมติให้ทำาการศึกษาวิจัยนโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

                                 ชายแดนไทย–พม่า : กรณีอพยพจากภัยสงคราม เพื่อรวบรวมข้อมูล และจัดทำาข้อ
                                 เสนอแนะอย่างเป็นระบบเสนอต่อรัฐบาลต่อไป

                         เอกสารฉบับนี้ได้ปรับปรุงเพื่อพิมพ์เผยแพร่ จากงานวิจัยเรื่อง “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

                  ชายแดนไทย–พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”  ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้กำาหนด
                  เป็นหัวข้อการวิจัยนั้น ในระหว่างการศึกษาวิจัย หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการต่างประเทศ

                  สภาความมั่นคงแห่งชาติ และกระทรวงกลาโหม ได้ทักท้วงว่า ทางการไทยไม่ใช้คำาว่า “ผู้อพยพจากภัย
                  สงคราม” แต่ให้ใช้คำาว่า “ผู้หนีภัยจากการสู้รบ”  อย่างไรก็ตาม ในงานศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้ใช้คำาว่า “ผู้ลี้ภัย”

                  แทนคำาว่า “ผู้หนีภัยจากการสู้รบ” ตามที่ทางหน่วยงานราชการใช้กัน เนื่องจากคำาว่า “ผู้ลี้ภัย” เป็นคำาศัพท์
                  ที่ใช้ในประชาคมระหว่างประเทศและมีความหมายที่กว้างกว่าคำาว่า “ผู้หนีภัยจากการสู้รบ”


        


        ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25