Page 19 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 19

เสียชีวิตทันที  ยังมีผู้บาดเจ็บสาหัส ๑ คน และบาดเจ็บเล็กน้อยรวมทั้งสิ้น ๑๐ คน  ส่วนแรงงานชาวพม่า
                     ที่รอดชีวิตถูกส่งฟ้องศาลจังหวัดระนองในฐานความผิดเป็นบุคคลต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร

                     โดยมิได้รับอนุญาต ถูกจำาขังแทนค่าปรับ

                            ๒.  กรณีสังหารหมู่แรงงานข้ามชาติชาวกะเหรี่ยงสัญชาติพม่า จำานวน ๙ ศพ  ในช่วงเดือน
                     กุมภาพันธ์  พ.ศ. ๒๕๕๓  ศพถูกนำาไปทิ้งแต่ละจุดเป็นคู่ๆ  ห่างกันประมาณ ๑๐-๓๐ กิโลเมตรบริเวณ
                     ม่อนหินเหล็กไฟ  อ.แม่สอด  และริมถนนสายแม่สอด-อุ้มผาง  ในพื้นที่ อ.พบพระ

                            ข้อเท็จจริงจากปากคำาผู้รอดชีวิต พบว่า แรงงานอพยพกลุ่มนี้มาจากหมู่บ้านไจโปง จังหวัดลายบอย

                     รัฐกะเหรี่ยง มาทำางานที่ จ.สมุทรสาคร  ก่อนเกิดเหตุ ได้ขออนุญาตนายจ้างกลับไปเยี่ยมบ้านและเมื่อ
                     เสร็จธุระจึงหาทางกลับประเทศไทย เพื่อให้นายจ้างนำาไปพิสูจน์สัญชาติและต่ออายุใบอนุญาตทำางาน
                     ที่จะสิ้นสุดในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓  โดยได้รับการติดต่อจากนายหน้าชาวพม่าเรียกค่าใช้จ่ายในการ

                     เดินทางกลับประเทศไทย คนละ ๑๐,๐๐๐ บาท  ประกอบด้วยหญิง ๕ คน ชาย ๘ คน จึงเดินทางไปที่
                                                 ้
                     บ้านผะลู เมืองเมียวดี เดินข้ามแม่นำาเมยเข้าประเทศไทยในเขตตำาบลช่องแคบ อ.พบพระ  จ.ตาก  โดยมี
                     รถกระบะมารอรับและสลับกับเดินป่าเพื่อหลบด่านทหาร  ขณะกำาลังเดินทาง ได้ยินเสียงปืนดังขึ้นและมี
                     เสียงร้องของผู้หญิง  ด้วยความตกใจ จึงวิ่งหลบเข้าไปในป่าและเดินทางในป่าอีก ๓ วัน ไปถึง จ.กำาแพงเพชร

                     จึงได้แยกย้ายไปทำางานที่ จ.กำาแพงเพชร และ จ.สระบุรี

                            เหตุการณ์ทั้ง ๒ กรณีนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการอพยพหนีความยากจนจากประเทศพม่าเข้ามา
                     ยังประเทศไทย  ซึ่งสถานการณ์ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ นั้น ยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหารพม่า
                     ที่มีความขัดแย้งและการสู้รบกับกองกำาลังของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ

                            สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (SPDC)  ได้ประกาศให้ วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓
                     เป็นวันเลือกตั้งทั่วไปเพื่อให้สอดคล้องกับกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่  ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคสหภาพ

                     เอกภาพและการพัฒนา (USDP) ได้รับชัยชนะ  หลังการเลือกตั้งเพียง ๑ วัน คือ ระหว่างวันที่ ๘ – ๑๒
                     พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ก็เกิดการสู้รบที่รุนแรงที่สุดในรอบ ๒๐ ปี  ระหว่างรัฐบาลทหารพม่ากับกองกำาลัง

                     ชนกลุ่มน้อยในบริเวณรัฐกะเหรี่ยง ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับ อ.แม่สอด จ.ตาก  และรัฐมอญซึ่งอยู่ตรงข้ามกับ
                     อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

                            ไทย-พม่า มีชายแดนทางบก และทะเลติดต่อกันยาวรวม ๒,๔๐๑ กิโลเมตร  ผลกระทบจากการ
                     สู้รบทำาให้ประชาชนที่อยู่บริเวณชายแดนฝั่งพม่ากว่า ๒๕,๐๐๐ คน  อพยพหนีภัยการสู้รบเข้ามาใน

                     ประเทศไทย  กระจายตัวกันอยู่ในหลายพื้นที่  หน่วยงานด้านความมั่นคง ฝ่ายปกครอง และสาธารณสุข
                     ใน อ.แม่สอด จ.ตาก  และ อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี  รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศด้านมนุษยธรรม

                     ได้จัดที่พักพิงชั่วคราว อาหาร และดูแลสุขภาพอนามัยให้แก่ผู้หนีภัยการสู้รบ  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็ก สตรี
                     และคนชรา  เมื่ออยู่ในที่พักพิงชั่วคราวได้เพียง ๒-๓ วัน  หน่วยงานทหารได้ผลักดันให้ผู้หนีภัยการสู้รบ

                     เดินทางกลับไปยังฝั่งพม่าโดยแจ้งว่าการสู้รบได้ยุติลงแล้ว  แต่เมื่อผู้อพยพเดินทางกลับไปถึงหมู่บ้านของตน
                     ปรากฏว่ายังคงมีการสู้รบอยู่ ทำาให้ต้องเดินทางกลับเข้ามายังฝั่งประเทศไทยอีก  บางรายต้องกลับไป

                     กลับมาถึง ๔ ครั้ง ผู้ที่กลับไปกลับมาหลายครั้งจึงไม่ต้องการเข้าไปอยู่ในที่พักพิงชั่วคราวที่หน่วยงานรัฐ



                                                                                                            


                                      ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24