Page 18 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 18

(National League for Democracy - NLD) ส่งผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓  พรรค NLD
                  ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง  โดยได้รับคะแนนเสียงร้อยละ ๕๙ ของทั้งประเทศ  และได้ ๓๙๒ ที่นั่งจาก

                  ๔๘๕ ที่นั่ง หรือคิดเป็นร้อยละ ๘๑  แต่ SLORC ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งนี้  นางอองซาน ซูจี จึงถูก

                  ควบคุมตัวโดยกักบริเวณให้อยู่ภายในบ้าน และห้ามติดต่อสื่อสารกับบุคคลภายนอก
                         นางอองซาน ซูจี ยึดมั่นในสันติวิธี ไม่เคยเรียกร้องให้ผู้สนับสนุนทางการเมืองของเธอใช้ความรุนแรง
                  ในการเคลื่อนไหวโค่นล้มรัฐบาลทหารพม่าแต่อย่างใด  ระหว่างถูกควบคุมตัว เธอได้รับรางวัลโนเบลสาขา

                  สันติภาพ ในพ.ศ. ๒๕๓๔  และแคนาดาประกาศให้เธอเป็น ๑ ใน ๕ ของบุคคลที่ได้รับเกียรติเป็นพลเมือง

                  กิตติมศักดิ์ ในพ.ศ. ๒๕๕๐ อีกด้วย
                         รัฐบาลทหารพม่าเกรงกลัวในศักยภาพของนางอองซาน ซูจี ที่อาจเป็นผู้นำาในการเปลี่ยนแปลง
                  อำานาจการเมืองการปกครองในประเทศได้  จึงตั้งข้อหาเพื่อกักขังเธอไว้ในบ้านพักอีกหลายครั้ง  ส่งผลให้

                  นางอองซาน ซูจีได้รับความเห็นใจจากนานาชาติมากขึ้น  นับตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นต้นมา ประเทศ
                                      ่
                  ตะวันตกเริ่มใช้นโยบายควำาบาตรทางเศรษฐกิจกับรัฐบาลทหารพม่า  โดยเริ่มจากธนาคารโลกและกองทุน
                  การเงินระหว่างประเทศ (IMF)  เพื่อกดดันให้ปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี และนักโทษทางการเมือง รวมทั้ง
                  ยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชน

                         แต่ จีน-ญี่ปุ่น รวมทั้งกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านในฐานะประชาคมอาเซียนที่ยึดถือนโยบายการทูต

                  เชิงสร้างสรรค์ (constructive engagement policy) ที่ไม่แทรกกิจการภายในประเทศของพม่า ยังคงคบค้า
                  และแสวงหาผลประโยชน์จากพม่า
                         อย่างไรก็ตาม การปกครองโดยรัฐบาลทหารพม่าเป็นเวลายาวนานเป็นเวลากว่า ๕๐ ปี  การต่อสู้
                                                           ่
                  กับกองกำาลังชนกลุ่มน้อยอย่างต่อเนื่อง  และการควำาบาตรทางเศรษฐกิจของประเทศตะวันตก ทำาให้พม่า
                  ตกอยู่ภายใต้สภาวะความยากจน  ชาวพม่าและกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ต่างอพยพลี้ภัยความยากจนเข้ามา

                  ทางชายแดนประเทศไทยเป็นจำานวนมาก  โดยเข้ามาทางภาคเหนือที่อำาเภอแม่สอด จ.ตาก  แม่ฮ่องสอน
                  เชียงใหม่ เชียงราย  ภาคตะวันตกทางจ.กาญจนบุรี  และภาคใต้ทางจ.ระนอง  ผู้อพยพส่วนใหญ่เข้ามาเป็น

                  แรงงานรับจ้างรายวันในอุตสาหกรรมการประมง ก่อสร้าง กรีดยาง คนรับใช้ในบ้าน ซึ่งเป็นงานหนักที่
                  คนไทยไม่นิยมทำา

                         แรงงงานอพยพนี้ จำานวนไม่น้อยที่มีสถานภาพเข้าเมืองผิดกฎหมายโดยขบวนการค้ามนุษย์ที่มี
                  คนไทยร่วมมือกับชาวพม่าลักลอบนำาแรงงานอพยพเข้ามาประเทศไทยด้วยวิธีการแบบลับๆ  จนกระทั่ง

                  เกิดเหตุสูญเสียชีวิต  ดังเช่นกรณีที่มีผู้ร้องเรียนมายังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในช่วงปี ๒๕๕๓
                  จำานวน ๒ กรณี  คือ

                         ๑.  กรณีเจ้าหน้าที่ทหารหน่วย ฉก. ร.๒๕ ยิงแรงงานต่างด้าวชาวพม่าเสียชีวิต ๓ ศพ ที่จังหวัด
                  ระนอง  เหตุเกิดเมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓  เวลา ๐๔.๐๐ น. ทหารหน่วย ฉก. ร ๒๕ ได้ไล่ตามจับกุม
                                                                                  ้
                  แรงงานอพยพชาวพม่า จำานวน ๑๖ คน ที่ขึ้นฝั่งที่บ้านเขาใหญ่  หมู่ ๓  ตำาบลปากนำา  อำาเภอเมือง  จังหวัด
                  ระนอง  โดยทหารหน่วย ฉก. ร ๒๕ ใช้อาวุธปืน เอ็ม ๑๖ กราดยิงเข้าใส่รถที่บรรทุกแรงงานอพยพที่นอน

                  อยู่ในกระบะท้ายรถ  ทำาให้เด็ก ๒ คน ซึ่งเป็นผู้ติดตามแรงงานชาวพม่า และแรงงานชาวพม่าอีก ๑ คน



        


        ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23