Page 17 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 17
ชนกลุ่มน้อยทั้งหลายมีความปรารถนาที่จะให้พม่ามีรูปแบบการปกครองแบบสหพันธรัฐ แต่ถูก
ปฏิเสธจากรัฐบาลทหารพม่าที่ต้องการบริหารจัดการความหลากหลายทางเชื้อชาติ ในรูปแบบของการ
รวมศูนย์มากกว่าจะเป็นแบบสหพันธรัฐ ด้วยความต้องการที่แตกต่างกันเช่นนี้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ
การต่อสู้เพื่ออิสรภาพในการปกครองตนเองของชนกลุ่มน้อยต่างๆ
ในด้านหนึ่งกองกำาลังของชนกลุ่มน้อยก็โทษว่า รัฐบาลทหารพม่า คือ สาเหตุของความล้มเหลว
ในการพัฒนาทางการเมือง และการทำาลายอัตลักษณ์ทางชนชาติ แต่อีกด้านหนึ่งฝ่ายรัฐบาลทหารพม่า
ได้กล่าวโทษว่า ฝ่ายกบฏ คือ สาเหตุของความแตกแยกของประเทศ รัฐบาลทหารพม่าจึงต้องปราบปราม
ชนกลุ่มน้อย และปกครองประเทศแบบรวมศูนย์เพื่อความสงบมั่นคง
ปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นจึงก่อให้เกิดปัญหากระทบกระทั่งจนถึงขั้นเกิดการสู้รบเป็นระยะๆ
ตลอดเวลา ๕๐ กว่าปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน
นายพลเนวิน ซึ่งเป็นผู้มีอำานาจแท้จริงได้สร้างระบบสังคมนิยมแบบพม่า ใน พ.ศ. ๒๕๐๕ โดยมี
สภาปฏิวัติแห่งชาติ (National Revolutionary Council) เป็นองค์กรบริหารประเทศ และได้เปลี่ยนชื่อ
ประเทศเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า (Social Republic of the Union of Burma)
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗
ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๓๐ - ๒๕๓๑ ดร.หม่อง หม่อง ผู้นำาพลเรือนได้ลุกขึ้นต่อต้านรัฐบาลของนายพล
เนวิน ทำาให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ ๓,๐๐๐ คน ในเวลา ๖ สัปดาห์ ท่ามกลางความวุ่นวายทางการเมือง
ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น กลุ่มทหารได้ฉวยโอกาสทำารัฐประหารโดยสภาฟื้นฟูกฎระเบียบแห่งรัฐ (State Law
and order Restoration Council - SLORC) อำานาจจึงถูกเปลี่ยนมือจากนายพลเนวินสู่นายพลซอหม่อง
ซึ่งให้สัญญาว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป
ในระหว่างการต่อต้านรัฐบาลของนายพลเนวิน นางอองซาน ซูจี บุตรสาวของนายพลอองซาน
ได้เดินทางกลับมาจากอังกฤษ เพื่อพยาบาลมารดา และเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาล
ทหารพม่า จนกลายเป็นผู้นำาและสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อเสรีภาพ ประชาธิปไตย และได้รับแรง
สนับสนุนจากประชาชนที่ร่วมต่อสู้ให้จัดตั้งพรรคการเมือง “สันนิบาติแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย”
ข้อเสนอแนะเ
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒